18883 จำนวนผู้เข้าชม |
Delusional Disorder
หรือ โรคจิตหลงผิด
เป็นภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม
ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด
Certified EMDR and Brainspotting Therapy
ทำไมโรคหลงผิดถึงยากต่อการรักษา?
โรคจิตหลงผิดเป็นภัยทางจิตที่ค่อนข้างรุนแรงแต่การรักษาทำได้ยากเนื่องจาก ผู้ที่มีอาการจิตที่หลงผิดส่วนใหญ่คิดว่าตนเองปกติ จึงไม่มองหาหรือต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้นการไม่ได้รับการรักษาจึงเป็นภัยเงียบ ที่มักก่อความวุ่นวายและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองและคนรอบข้าง
สาเหตุของโรคจิตหลงผิด
โรคจิตหลงผิด Delusional Disorder เกิดได้จากหลายสาเหตุและไม่มีการระบุแน่ชัดแต่การวิจัยมักพบว่าเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
โรคหลงผิดมีอาการอย่างไร
อาการอาจไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน แต่จะมีความหวาดระแวงผิดปกติ เหมือนอาการของโรค paranoia (พารานอยด์) มีความหวาดกลัวระแวงว่าจะถูกทำร้าย หรือถูกฆ่า ความคิดไม่เป็นความจริง ไม่สมเหตุสมผล แยกแยะจินตนาการกับความจริงออกจากกันไม่ได้ อาจมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ อารมณ์เสีย หรือภาพหลอน หูแว่ว ร่วมด้วย
โรคจิตหลงผิด หรือ Delusional Disorder ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในวัยกลางคน และแนวโน้มจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
แบ่งได้เป็น6 ประเภทดังนี้
1. Erotomanic: คือ ประเภทหมกมุ่น แอบรักข้างเดียว เป็นโรคหลงผิดชนิดหนึ่งที่คิดไปเองว่ามีคนหลงรักตน โดยเฉพาะ ดารา นักร้อง บุคคลสำคัญ หรือ คนมีชื่อเสียง เป็นความรักจากระยะไกลที่ตนคิดไปเองคนเดียวโดยบุคคลมีชื่อเสียงเหล่านั้นไม่ได้รู้เรื่อง หรือ หลงรักตนเองจริงๆ
2. Grandiose: คือ หลงคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่ เป็นโรคหลงผิดชนิดที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีอิทธิพล ทรงพลัง มีพรสวรรค มีพลังพิเศษ มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงโลก อาการนี้อาจมีผลมากจากโรคไบโพล่า และ โรคschizophrenia
3. Jealous: คือ หึงหวง เป็นอาการโรคหลงผิดที่คิดว่าคู่ชีวิตของตน นอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ โดยไม่มีหลักฐานหรือเหตุผล โดยพื้นฐานอาจเกิดจากความไม่มั่นคงเรื่องความรักของตัวเอง หรือเคยถูกทอดทิ้งมาก่อน
4. Persecutory: คือ หวาดระแวงผู้อื่น โดยเฉพาะคนใกล้ตัว คิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าตน กำลังจ้องจะทำร้ายตนเองอยู่ตลอดเวลา อาจไปไกลจนถึงขั้นไปแจ้งความดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้อื่นทั้งๆที่ตัวเองเข้าใจผิดไปเอง
5. Somatic: คือ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากจิตสั่ง เช่น รู้สึกว่าตัวเองมีกลิ่นเหม็นตลอดเวลาทั้งๆที่ตนเองปกติ อาการที่เชื่อว่าตนเองป่วยเป็นโรคอะไรบางอย่างแต่แพทย์ไม่พบความผิดปกติใด
6. Mixed: อาจชนิดของอาการข้างต้นมากกว่าหนึ่งชนิด
การวินิจฉัย และ การวิธีรักษา
โดยทั่วไปหากไปพบแพทย์และได้ตับการตรวจวินิจฉัย เอ็กซ์เรย์ และไม่พบความผิดปกติด้านร่างกายแต่อย่างใด แพทย์จะส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะนักจิตวิทยาเพื่อทำการบำบัดด้วยpsychotherapy อาจเป็นการสัมภาษณ์พูดคุยเกี่ยวกับทัศนะคติ พฤติกรรม มีการใช้เทคนิคด้านจิตบำบัดหรือเครื่องมือทางจิตวิทยาร่วมด้วย การทำcounseling ถือเป็นสิ่งสำคัญและเป็นขั้นตอนอันดับแรกก่อนที่จะได้รับการรักษาด้วยการใช้ยา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำpsychotherapy ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมสภาพแวดล้อมให้ผู้มารับบริการรู้สึกปลอดภัย และไว้ใจในการเล่าอาการและพฤติกรรม แก้ไขอาการและทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นมองเห็นความเป็นจริงที่เป็นไปตามความเป็นจริง มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ทำให้ความคิดและพฤติกรรมการใช้ชีวิตกลับมาดีดังเดิม วิธีหลักๆที่ใช้ในการรักษาจากทั้งจิตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญ หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับสมดุลของเคมีในสมอง มักจักใช้ อยู่ 2 วิธีคือ
หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวเสี่ยงที่จะมีแนวโน้มของโรคนี้ไม่ควรรอช้าควรรีบปรึกษานักจิตวิทยาในเบื้องต้นก่อนการใช้ยา เพราะยาที่มีผลต่อระบบประสาทและสมองย่อมส่งผลข้างเคียงด้านระบบประสาทและสมองในระยะยาว
อ้างอิง:
https://www.webmd.com/schizophrenia/guide/delusional-disorder
https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9599-delusional-disorder
https://www.bettermindthailand.com/
https://www.facebook.com/BettermindThailand