Dissociative disorder and EMDR Therapy

132 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Dissociative  disorder and EMDR Therapy

โรคดิสโซสิเอทีฟ กับการรักษาด้วยจิตบำบัด EMDR

EMDR Therapy and Dissociative  disorder 

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 

โรคดิสโซสิเอทีฟ คืออะไร

โรคดิสโซสิเอทีฟ จัดเป็นความป่วยทางจิตเวชอย่างหนึ่ง บางครั้งรู้จักกันในชื่อโรคหลายอัตลักษณ์ หรือหลายบุคคิกภาพในคนเดียว

โรคนี้มักเกี่ยวข้องและมีสาเหตุมาจากประสบการณ์การสูญเสีย ความทรงจำอันเลวร้ายเกินกว่าจะรับได้ และสมองจึงปิดรับ และตัดการเชื่อมต่อกับความทรงจำเหล่านั้นเพื่อหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมความเป็นจริงที่เลวร้าย หลีกหนีจากความเครียดหรือความเจ็บปวด ที่ส่งผลกระทบกระเทือนจิตใจเกินกว่าจะรับได้ การที่สมองตัดการเชื่อมต่อส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นปกติ ทำให้เกิดการไม่เชื่อมต่อกับตัวตนของตัวเอง ตัดขาดจากความรู้สึกนึกคิด ทำให้ไม่รับรู้ถึงภาวะตัวตนของตัวเอง  

 



โรคดิสโซสิเอทีฟมักมีสาเหตุมาจากปมบาดแผลทางใจ(trauma) เป็นผลพวงมาจากประสบการณ์อันเลวร้ายที่ได้เกิดขึ้นและสมองพยายามตัดการเชื่อมต่อเพื่อลดความเจ็บปวดทางใจ เป็นวิธีการเอาตัวรอดของสมองแต่ไม่ส่งผลดีในระยะยาวและอาจทำให้เกิดความเครียดมากขึ้นและอาจสร้างปัญหาใหญ่ขึ้นตามมา

EMDR therapy เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาบาดแผลทางใจ (Trauma)

จิตบำบัด EMDR ช่วยให้ผลกระทบด้านความทรงจำที่เลวร้าย ที่ทำให้สมองเครียดนั้นบรรเทาลงด้วยการทำงานกับสมองสองด้าน ประสิทธิภาพของEMDR ได้ผลอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับการบำบัดแบบปรึกษาพูดคุยทั่วไป

จิตบำบัดEMDR เป็นการทำงานลงลึกกับการค้นหาต้นตอของปัญหารากเหง้าของปมบาดแผลทางใจ และทำการแก้ไขจัดการอย่างมีโฟกัสในประสบการณ์อันเลวร้ายนั้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัดEMDR ที่ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดีจะคอยไกด์ให้คำแนะนำเพื่อให้กระบวนการราบรื่นและให้สมองได้ทำงานอย่างเป็นระบบและจัดระเบียบเยียวยาตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติในการฟื้นฟู

การบำบัดด้วยจิตบำบัดEMDR สามารถช่วยให้คนส่วนใหญ่ที่มีอาการผิดปกติทางจิตใจ และที่พบทั่วไปคือโรคdissociative disorder แบบที่บุคคลแยกตัวเองออกจากความรู้สึกและการรับรู้ของโลกความเป็นจริง มีความทรงจำที่ขาดหายจำความหรือจำตัวเองไม่ได้ และมักมีบุคลิกภาพที่เป็นคนอื่นหรือสร้างตัวตนใหม่ขึ้นมามากกว่าหนึ่งบุคคลในร่างเดียวให้มีการตอบสนองได้ดีขึ้น กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้นและเป็นการรักษาที่ประสบผลสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ

อย่างไรก็ตามต้องให้ความสำคัญกับการตรวจเช็คและทดสอบความพร้อมในการรับมือของบุคคลที่เข้าบำบัดว่าพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการจิตบำบัดEMDR Therapy แล้วรึยัง และผู้เชี่ยวชาญควรให้เครื่องมือที่เพียงพอในการรับมือหากความทรงจำอันเลวร้ายพลั้งพลู ผู้รับบำบัดต้องฝึกเทคนิคที่ผู้เชี่ยวชาญสอนในการรับมือและเตรียมความพร้อมในการจัดการกับปมในใจของตัวเอง โดยผู้เชี่ยวชาญอาจจะประยุกต์เทคนิควิธีการบำบัดใจอื่นๆร่วมกับจิตบำบัดEMDR ด้วยเพื่อให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามในบางครั้งผู้ป่วยโรคdissociative disorder ก็อาจจำตัวตนของตัวเองไม่ได้ และมักมีปัญหาในการควบคุมจัดการกับความเครียด ส่งผลต่อสุขภาพจิต และมักเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายร่วมดัวยดังนั้นหากพบว่ามีพฤติกรรมหรือสภาวะด้านจิตใจดังต่อไปนี้ไม่ควรรอช้า

 



สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Psychiatric Association) ได้แบ่งอาการของโรคดิสโซสิเอทีฟ ไว้ 3 แบบดังนี้

1. Depersonalization/ derealization disorder

อาการที่พบคือแยกออกจากตัวเอง ไม่รับรู้ความรู้สึกตัวเอง และคิดออกห่างตัวเองเหมือนร่างกายนี้ไม่ใช่ของตัวเองและเหมือนกำลังอยู่ในความฝัน และคิดว่าคนรอบข้างสังคมภายนอกที่รอบล้อมตัวเองอยู่นั้นเป็นโลกที่ไม่มีจริง อาการนี้อาจอยู่เป็นหลายชั่วโมงหรือหลายวัน หากไม่รักษาอาการอาจอยู่เป็นปีๆ หรือตลอดไป

2. Dissociative amnesia

เป็นอาการด้านความทรงจำที่ถูกลบเลือน ที่จะแตกต่างจากอาการหลงลืมทั่วไป ความทรงจำในเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้ช็อค เครียดจัด เจ็บปวดอย่างทุกข์ทรมาน ความทรงจำลบเลือนมักเกิดขึ้นกะทันหัน อาจกินเวลาหลายนาที หลายชั่วโมง หรือเป็นเดือนเป็นปี ความจำลบเลือนอาจเกี่ยวเนื่องกับความทรงจำอันเจ็บปวดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตและส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่นผ่านสงครามสนามรบ สูญเสียอะไรบางอย่างที่สำคัญกับชีวิต ซึ่งบางครั้งทำให้ความทรงจำเลื่อนลอย สับสน ไม่อยู่กับปัจจุบันกับตัวเอง จิตใจพเนจรล่องลอยไปเรื่อยโดยไม่เชื่อมต่อกับตัวเอง

3. Dissociative identity disorder

เป็นอาการผิดปกติที่มักจะมีบุคลิกเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เช่นมี2 คนในร่างเดียว มีการพูดและมีพฤติกรรมเป็นคนละคน มีชื่อคนละชื่อ มีเสียงพูดคนละแบบ มีเพศแตกต่างกัน หรือความต้องการด้านร่างกายที่แตกต่าง เช่นบางครั้งบุคคลิกหนึ่งต้องใส่แว่น แต่อีกบุคลิกหนึ่งไม่ต้องใส่ มีอาการเกี่ยวข้องกับอาการด้านความทรงจำร่วมด้วยเช่น ความทรงจำถูกลบเลือนหรือมีอาการเลื่อนลอย

เช็คอย่างไรว่าเรากำลังเผชิญกับภาวะ dissociative disorder หรือไม่

Dissociative disorders เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อปัญหาทั้งด้านร่างกายและจิตใจ บางคนอาจมีภาวะdissociative ระยะสั้นเป็นสัปดาห์เป็นเดือนหรือในบางคนอาจมีผลระยะยาวเป็นปี ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและความเลวร้ายของเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดปมบาดแผลทางใจ

อาการอาจมีหลากหลายแต่ที่เห็นชัดหลักๆมักมีดังนี้

1. รู้สึกไม่เชื่อมต่อกับตัวเองหรือรู้สึกตัดขาดกับโลกภายนอกที่อยู่รอบตัว

2. จำเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นข้อมูลส่วนตัวของตนเองไม่ได้

3. จำข้อมูลชัดเจนของตัวเองไม่ค่อยได้

4. มีหลายบุคลิกที่แตกต่าง

5. มีความรู้สึกด้านชาทางร่างกาย

ในบางคนอาจมีอาการชักร่วมด้วย หรือบางครั้งมีอาจกเป็นลมเมื่อเกิดความเครียด เนื่องจากเป็นการทำงานของสมองที่ต้องการหลีกหนีจากภาวะเครียดที่มากเกินไป หลายกรณีการเกิดโรค dissociative มีสาเหตุจากบาดแผลทางใจในที่เกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก และการตัดการเชื่อมต่อของสมองก็เป็นวิธีการที่จะทำให้มีชีวิตรอดและอยู่ต่อไปได้

 

EMDR (Eye movement desensitization and reprocessing) หรือจิตบำบัด EMDR ช่วยบำบัดอาการdissociative disorderได้อย่างไร?

EMDR (Eye movement desensitization and reprocessing) หรือจิตบำบัด EMDR เป็นจิตบำบัดที่ทำงานลงลึกเพื่อช่วยลดระดับความเครียดที่เกิดจากความทรงจำและประสบการณ์อันเลวร้ายที่ทำให้เกิดโรค PTSD จากภาวะTrauma ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบำบัดและรักษาโรค dissociative disorder

ในบางรายอาจมีการรักษาโดยการใช้ยาร่วมกับทำจิตบำบัด อาการที่ควรตระหนักรู้เมื่อเกิดภาวะไม่ปกติทางด้านสุขภาพจิตใจคือภาวะที่มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจเป็นเรื่องยากที่คนรอบข้างจะสังเหตุเห็นได้ ดังนั้นหากมีภาวะนี้ควรขอความช่วยเหลือโดยด่วน อาจคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเพื่อให้รับรู้ว่าเรากำลังเผชิญภาวะด้านจิตใจ หากไม่สามารถคุยกับใครได้ให้รีบมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจหรือนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ

หากเราวิตกกังวลในการช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะdissociative disorder หรือต้องการช่วยเหลือสนับสนุนผู้มีภาวะจะฆ่าตัวตาย ควรช่วยด้วยความเข้าใจอย่างถูกวิธี หรือมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับคำแนะนำที่ถูกทาง

 

 

 

 

 

อ้างอิง

https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/dissociative-disorders/

https://www.emdria.org/blog/emdr-therapy-and-dissociation/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้