อะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจมาทำบำบัดชีวิตคู่?

726 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจมาทำบำบัดชีวิตคู่?

อะไรที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจมาทำบำบัดชีวิตคู่?

 

 

 

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner

 


การมาพบผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดปัญหาชีวิตคู่นั้น ย่อมมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างจากการมารับเข้าบำบัดรายบุคคลหรือมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแบบเดี่ยวๆคนเดียวอย่างแน่นอน

เนื่องด้วยการทำบำบัดรายบุคคลหรือ การให้คำปรึกษารายบุคคลนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของคนหนึ่งคน เป็นการช่วยให้บุคคลบรรลุถึงเป้าหมายในชีวิต หรือสิ่งที่ต้องการเติมเต็มและเยียวยาปมในใจที่มีอยู่ให้ได้รับการแก้ไขที่ถูกทางของบุคคลนั้น

 


 

ในขณะที่การบำบัดชีวิตคู่ แต่ละคู่มีความซับซ้อน และมีพื้นฐานครอบครัวที่แตกต่างกัน ดังนั้นการทำบำบัดจึงต้องรักษาสมดุลย์ด้านความสัมพันธ์ของทั้งคู่และเป้าหมายในชีวิตคู่ที่ต้องการ รวมถึงเทคนิควิธีการดูแลรักษาสัมพันธภาพด้านจิตใจของกันและกันโดยไม่มีการโอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทุกอย่างต้องรักษาสมดุลย์

 



การบำบัดชีวิตคู่เป็นการช่วยรักษาสัมพันธภาพระหว่างคู่ชีวิตให้สามารถพัฒนาต่อยอดและสามารถกลับไปดูแลความสัมพันธ์ของคู่ตัวเองให้แข็งแรงมั่นคงและเติบโตไปด้วยกันได้อย่างยั่งยืน

การมาบำบัดชีวิตคู่เป็นการมาพบผู้เชี่ยวชาญแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้น ทั้งคู่ไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญไปตลอดชีวิต ดังนั้นก่อนมารับบำบัดชีวิตคู่ควรทำความเข้าใจก่อนว่า การบำบัดชีวิตคู่นั้น เป็นการมารับคำแนะนำสนับสนุนและได้รับเรียนรู้เทคนิควิธีการในการรักษาสมดุลย์ด้านสัมพันธภาพชีวิตคู่ โดยผู้เชี่ยวชาญจะยึดตามหลักพื้นฐานทางข้อมูลรายละเอียดที่ทั้งคู่ได้นำมาปรึกษาเพื่อช่วยปรับสมดุลย์ ให้ทั้งคู่ได้มองเห็นถึงปัญหาและหาวิธีการแก้ไขที่ถูกต้องเพื่อให้ทั้งคู่ได้รับประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาชีวิตคู่ของตัวเอง แต่หากว่าข้อมูลที่นำมาปรึกษานั้นไม่เป็นความจริง มีความบิดเบือน หรือไม่ชัดเจนทำให้เกิดความสับสนย่อมส่งผลเสียต่อการบำบัดชีวิตคู่ให้ประสบความสำเร็จได้

 



สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมาบำบัดชีวิตคู่นั้น ทั้งคู่ต้องมีความตั้งใจและปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้านความสัมพันธ์ในระยะยาวจึงมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แต่หากอีกฝ่ายต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือในการปรับเปลี่ยน หรือไม่ใส่ใจในกิจกรรม การให้เวลาร่วมกัน ไม่พยายาม ไม่อดทนทุ่มเทกับการพัฒนาความสัมพันธ์การบำบัดชีวิตคู่ก็อาจจะไม่สามารถช่วยให้ปัญหาชีวิตคู่ดีขึ้นได้


นอกจากการมารับการบำบัดชีวิตคู่แล้วนั้น ทั้งคู่ต้องนำความรู้ทักษะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญไปใช้ในชีวิตจริง โดยทั้งคู่ควรให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลง นำทักษะที่ได้เรียนรู้ไปใช้นอกชั่วโมงการบำบัดและถึงจะเห็นประสิทธิภาพที่แท้จริง

อย่างไรก็ตามการบำบัดซ่อมแซมทุกสิ่งย่อมต้องใช้เวลา การรักษาเยียวยาด้านจิตใจและความสัมพันธ์ต้องอาศัยระยะเวลาและความอดทน แต่ก็มีผลพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้ที่มีรับการบำบัดชีวิตคู่นั้น การทำบำบัดสามารถช่วยรักษาชีวิตคู่ไว้ได้มากกว่า70% เมื่อเปรียบเทียบกับคู่ที่ไม่มาพบผู้เชี่ยวชาญหรือปล่อยปัญหาชีวิตคู่ให้เรื้อรังปานปลายโดยไม่ได้รับการแก้ไข

สัญญาอะไรที่บอกว่าเราควรมาพบผู้เชี่ยวชาญ

1. ทะเลาะเบาะแวงกันในปัญหาเดิมๆ

บ่อยครั้งที่พ่อ-แม่ หรือลูกถกเถียงโต้แย้งกันในเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือทำร้ายจิตใจกันและกันในเรื่องเดิมๆ หากยังเป็นแบบนี้ต่อไปจะส่งผลด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นลบ ความโรแมนติกระหว่างคู่ชีวิตจะค่อยๆหายไป สมาชิกในครอบครัวได้รับผลกระทบ และต่างฝ่ายอาจมองหาความสัมพันธ์ใหม่ๆมาแทนที่ อย่างไรก็ตามการมาพบนักจิตวิทยาด้านความสัมพันธ์สามารถช่วยให้เราตระหนักรู้ และให้เทคนิควิธีในการแก้ไขปัญหาชีวิตคู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยหยุดวงโคจรความขัดแย้ง

2. คุยกันคนละเรื่อง

บ่อยครั้งที่ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัวมาจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายต้องการจะบอกอะไร หรือคาดหวังอะไรในความสัมพันธ์ทำให้เกิดการแตกหัก ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับแม่ พี่กับน้องแต่รวมถึงพ่อแม่กับลูกด้วย

หากปัญหาคือไม่สามารถทำความเข้าใจกันระหว่างสมาชิกในครอบครัวหรือสื่อสารเรื่องเดียวกันได้ก็ยากที่จะหาสาเหตุเพื่อทำการแก้ไขปัญหาได้

3. ลูกเริ่มทำพฤติกรรมที่สร้างปัญหา

ความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ไม่ดีส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่ดีของสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะลูกๆอาจมีพฤติกรรมเช่นนี้

การเรียนตก โดดเรียน ก้าวร้าวรุนแรง  ขโมยของ  ทำลายข้าวของ  ทำผิดกฎหมาย โมโหฉุนเฉียวง่าย ขัดแย้งกับเพื่อนๆ พฤติกรรมเหล่านี้เกิดจากสาเหตุเบื้องต้นที่เป็นปัญหามาจากด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเป็นการยากต่อการปรับตัวของลูกเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น

4. เมื่อฝ่ายหนึ่งนอกใจ

พฤติกรรมการนอกใจเป็นการทำลายความสัมพันธ์คู่ชีวิตในระยะยาวและยิ่งไปกว่านั้นมักส่งผลด้านลบต่อการใช้ชีวิตครอบครัว และการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของลูก การนอกใจมักส่งผลต่อการหย่าร้างในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นเสมอไปที่การนอกใจของทุกคู่จะต้องจบลงด้วยการหย่าร้าง เพราะผลสำรวจพบว่ากว่า 60% ของคู่ที่ประสบปัญหาการนอกใจหลังมาพบผู้เชี่ยวชาญหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการบำบัดคู่ชีวิตสามารถช่วยรักษาความสัมพันธ์ชีวิตคู่ให้กลับมาดีขึ้นและเกิดการตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดที่ได้กระทำต่ออีกฝ่าย

ถึงแม้การบำบัดชีวิตคู่จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็จากผลสำรวจพบว่ามันสามารถช่วยให้ทั้งคู่กลับมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้านความรักกันอีกครั้งหลังเกิดเหตุนอกใจกันได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทั้งคู่ต้องมีความจริงใจในการพัฒนาต้องการแก้ไขปรับปรุงซ่อมแซมความสัมพันธ์ที่ยังไม่สมบรูณ์นี้ให้ดีขึ้นโดยร่วมมือทำงานกับผู้เชี่ยวชาญและความรักต้องมีความซื่อสัตย์ เชื่อใจ ให้เกียรติและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน

 

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/couples-therapy



 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้