10 เทคนิคฟื้นฟูเยียวยาใจจากภาวะปมบาดแผลทางใจ (Trauma)

387 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 เทคนิคฟื้นฟูเยียวยาใจจากภาวะปมบาดแผลทางใจ (Trauma)

10 เทคนิคฟื้นฟูเยียวยาใจจากภาวะปมบาดแผลทางใจ (Trauma)
 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 


TRAUMA ปมบาดแผลทางใจเป็นผลพวงจากประสบการณ์อันเลวร้ายที่ทำให้เราเกิดเจ็บปวดด้านร่างกายและจิตใจ และนำไปสู่ภาวะ Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) ได้   

หลายครั้งเราอาจมีความวิตกกังวลและมีความคิดลบ หรือปิดกั้นมุมมองในการทำสิ่งใหม่ๆ ให้กับชีวิต เพราะเรากลัวอดีตที่เคยเกิดขึ้น และประสบการณ์นั้นตามหลอกหลอน ทำให้มีความคิดกังวลว่าเราจะผ่านจุดเปลี่ยนที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจจากประสบการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นกับเรานี้ไปได้อย่างไร แน่นอนว่าการรักษาบาดแผลทางใจนั้นใช้เวลา

ซึ่งระยะเวลาในการฟื้นฟูของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ความซับซ้อนของสถานการณ์ปัญหา และความสามารถในการฟื้นคืนของสภาวะทางจิตใจของแต่ละคน เพื่อพาตัวเองให้ก้าวต่อไปข้างหน้าและกลับมามีชีวิตที่มีความสุข มีความแข็งแกร่งด้านจิตใจมากขึ้น

บางคนอาจต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาเพื่อสร้างพลังใจให้แข็งแรงจากข้างในเพื่อการฟื้นฟูและเยียวยาใจให้กลับมาปกติดังเดิม พลังใจและความแข็งแกร่งจากภายในจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

 

 

ในบทความนี้จะขอแบ่งปันเทคนิคในการต่อสู้กับภาวะปมบาดแผลทางใจ (trauma) จากอดีต รวมทั้งวิธีการสร้างแสริมทักษะในการรับมือ และเอาชนะภาวะด้านจิตใจที่อ่อนแอหลังเจอประสบการณ์อันเลวร้าย อย่างแรกต้องทำความเข้าใจและมีความชัดเจนก่อนว่าปมบาดแผลทางใจของเราคืออะไร เพื่อให้สามารถจัดการกับมันได้อย่างตรงจุดและฝึกฝนพลังใจดังต่อไปนี้

10 เทคนิคฟื้นฟูเยียวยาใจจากภาวะปมบาดแผลทางใจ (Trauma)

1. ยอมรับการช่วยเหลือ

สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาบาดแผลทางใจ คือการยอมรับความช่วยเหลือเพื่อให้จิตใจได้รับการเยียวยา เราอาจได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา จากครอบครัว จากกลุ่มผู้ประสบเหตุการณ์คล้ายกัน หรือจากเพื่อนฝูงแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือภายในใจของตัวเองต้องพร้อมที่จะยอมรับการช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

2.  หาวิธีการที่ถูกต้อง

การเยียวยาและรักษาบาดแผลทางด้านจิตใจมีหลายวิธี ทั้งการทำจิตบำบัด การมาปรึกษาแบบcounseling เป็นส่วนตัวหรือแบบกลุ่ม เพื่อได้รับการสนับสนุนด้านจิตใจ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาคอยให้การช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้พบกับทางออกได้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม

3.  พยายามเชื่อมโยงกับผู้อื่น

การได้ติดต่อเชื่อมโยงกับผู้อื่นเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้ชีวิตมนุษย์มีความสุขได้และไม่รู้สึกโดดเดี่ยว เราอาจไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องที่ทำให้เราเจ็บปวดให้พวกเขาฟัง หรือไม่จำเป็นที่จะต้องเล่าอะไร แต่การได้พบปะเชื่อมโยงกับผู้อื่นช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวที่อาจนำเราไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ 

4. เคลื่อนไหวร่างกาย

การออกกำลังกายเป็นการช่วยทำให้ภาวะ PTSD ดีขึ้น ทำให้เคมีในสมองได้ปรับสมดุลย์และหลั่งสารเอนโดฟินเป็นเคมีดีที่ช่วยรักษาภาวะด้านจิตใจของเราให้ดีขึ้นได้ หากเราไม่อยากออกกำลังกาย ให้ทำกิจกรรมง่ายๆ ที่เราถนัด เช่น การเดิน หรือ ขี่จักรยาน เล่นสเก็ต หรือฝึกโยคะ รวมทั้งการเต้นขยับร่างกาย สามารถช่วยบรรเทาภาวะ Trauma ได้ดีเช่นกัน

5. ทำงานกับภาวะทางใจของตัวเอง

ปล่อยตัวเองให้ได้รู้สึกถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ยอมรับว่ามันเกิดขึ้น และแม้ว่าประสบการณ์นั้นจะนำมาซึ่งความโกรธ เสียใจ มีอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นก็ตามซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ให้เวลากับมันและมันจะค่อยๆ เปลี่ยนให้เราเป็นคนใหม่

6.  ฝึกฝนการดูแลใส่ใจตัวเอง

การกลับมาดูแลใส่ใจตัวเองช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี การกลับมารักตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเยียวยาบาดแผลทางใจ (trauma) ได้เป็นอย่างดี หมั่นใส่ใจการกิน การนอนพักผ่อน การใช้ชีวิตที่เรียบง่าย มีอิสระไม่ยึดติดและมีความสุข

7.  หลีกเลี่ยงการพึ่งพาสารเสพติด

การเยียวยาปมบาดแผลทางใจอาจทำให้ทุกข์ทรมานใจแต่การฝึกฝนวิธีการบำบัดที่ถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้ร่างกายและจิตใจได้รับการรักษาและอาจต้องใช้เวลา แต่การดื่มหรือเสพสารเสพติดเพื่อให้ลืมความเจ็บปวดอาจทำให้สมองเสพติดและไม่ใช้วิธีการเยียวยาที่ช่วยรักษาบาดแผลทางใจได้จริงในระยะยาว และอาจสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา

8.  ให้เวลาพักผ่อน

การเยียวยาบาดแผลทางใจนั้นใช้พลังงานมากมาย ความเหน็ดเหนื่อยทางร่างกายและจิตใจนั้นมักเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดั้งนั้นควรเห็นใจและเมตตากับตัวเอง ไม่ควรหักโหมและควรหยุดผ่อนคลายพาตัวเองไปพักผ่อนบ้างเพื่อไม่ให้ตัวเองเหนื่อยล้าและหมดแรงใจในการสู้ต่อไป

9.  ฝึกความสงบทางจิตใจ

การฝึกจิตใจให้สงบ หรือทำสมาธิเป็นการฝึกให้ใจได้อยู่กับตัวเองทุกขณะและอยู่กับปัจจุบัน เป็นการทำให้จิตใจได้ผ่อนคลายด้วยการฝึกลมหายใจ ช่วยลดความตึงเครียด และยังช่วยเพิ่มระดับความผ่อนคลายให้กับชีวิต

10. ฝึกฝนกิจกรรมสร้างสรรค์

ใช้เวลากับตัวเองในการทำกิจกรรมที่สนุกสนาน เช่น การเขียนหนังสือ นิยาย การฟังดนตรี เขียนเพลง แต่งเพลง เขียนกลอน เพื่อเป็นการกระตุ้นสมองให้ได้ทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์และชื่นชมศิลปะ



 

หรืออาจลองเข้าร่วมศิลปะบำบัดก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการเข้าร่วมสังคมพร้อมได้รับการสนับสนุนด้านจิตใจจากงานศิลปะสร้างสรรค์

การเยียวยารักษาบาดแผลทางใจเพื่อให้ชีวิตได้กลับมามีความสุขและมีความเข้มแข็งในการต่อสู้กับภาวะอ่อนแอภายในจิตใจของตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ความรู้และความเข้าใจเรื่องปมบาดแผลทางใจเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเพราะมันส่งผลต่อพฤติกรรม ความคิดและการมีชีวิตที่ก้าวหน้าและมีความสุข

ดังนั้นควรซื่อสัตย์กับความรู้สึกตัวเอง และหมั่นดูแลใส่ใจภาวะทางจิตใจของตัวเองอยู่เสมอ หากเจอภาวะปมบาดแผลทางใจ (Trauma)  ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้แต่ควรรีบแก้ไข มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ และรักษาเยียวยาให้สุขภาพใจกลับมาเข้มแข็ง หรือแข็งแกร่งกว่าเดิม ด้วยการทำบำบัดด้านจิตใจที่ถูกแนวทาง หมั่นดูแลรักษาจิตใจให้แข็งแรงเป็นปกติให้ได้อย่างยั่งยืน

อ้างอิง
https://www.verywellmind.com/10-ways-to-heal-from-trauma-5206940
https://www.choosingtherapy.com/healing-from-trauma/

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้