ทำไมเราถึงเครียด?

79 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมเราถึงเครียด?

ทำไมเราถึงเครียด?

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 

 

ความเครียด เป็นปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเจอความท้าทาย หรือความเปลี่ยนแปลง ความเครียดเกิดจากหลายสาเหตุปัจจัย รวมทั้งเหตุการณ์ที่เข้ามาในชีวิตทั้งด้านบวกและด้านลบ คนแต่ละคนมีประสบการณ์ในการเผชิญหน้าและรับมือกับความเครียดที่ไม่เหมือนกัน

 

เหตุการณ์ที่มักสร้างความเครียดประกอบไปด้วย

  • การเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น การสูญเสียคนรัก การจากลา การหย่าร้าง หรือการแต่งงาน ก็อาจสร้างความเครียดได้
  • ปัญหาจากที่ทำงาน เช่น ความกดดันจากการทำงาน เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน กังวลกลัวถูกไล่ออก ภาวะตกงาน
  • ปัญหาด้านการเงิน เช่น มีปัญหาการจัดการด้านรายได้หรือหนี้สิน 
  • ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย เช่น ไม่มีที่อยู่อาศัย บ้านไม่อยู่ในสภาพที่ดี หรือการย้ายที่อยู่ถิ่นฐาน ก็อาจสร้างความเครียดและกดดัน
  • ปัญหาด้านสังคม เช่น การกลัวโดนเหยียดสัญชาติ เหยียดเพศ หรือการถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากสังคมรอบตัวและปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ในการอยู่ร่วมในสังคม
  • ด้านความเชื่อ เช่น ความขัดแย้งในตัวเอง ความเชื่อทางศาสนา และทัศนคติทางการเมือง
  • ทัศนคติความคิด เช่น มุมมองต่อตัวเอง การเลือกการตัดสินใจ ที่อาจนำสู่ความเครียดได้

 


 

ความเครียดทำร้ายร่างกายและจิตใจ สมองตอบสนองต่อปฎิกิริยาความเครียดด้วยการสู้กลับหรือวิ่งหนี (fight or flight) เป็นการส่งสัญญาณฉุกเฉินให้ร่างกายต้องตอบสนองเมื่อมีเหตุการณ์เข้ามากระทบจิตใจ เข้ามากระตุ้นให้เกิดความเครียด ดังนั้นควรมีวิธีรับมือกับความเครียดอย่างถูกแนวทาง

การจัดการกับความเครียดทำได้อย่างไร?

1. หมั่นสังเกตสัญญาณการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและสภาวะทางจิตใจ

2. หาเวลาผ่อนคลาย หยุดพักจากเรื่องที่ทำให้เครียดและวิตกกังวล

3. จัดการเรื่องอาหารการกินที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ

4. หาเวลาไปทำกิจกรรมที่ชอบและสนใจ

5. หาเวลาได้พบปะพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนฝูง

6. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี

 



ทำไมการจัดการกับความเครียดถึงสำคัญกับเรา?

การจัดการกับความเครียดเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อระบบ hard- wired ของสมองตอบสนองต่อความเครียด สมองจะสั่งให้ร่างกายทำงานหนักขึ้น ความเครียดจะเป็นสัญญาเตือนของสมองที่ส่งผลทางลบต่อสุขภาพ และหากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขสมองจะสั่งให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเพื่อตอบสนองต่อการความเครียด

ผลเสียที่เกิดขึ้นมักทำให้การเต้นของหัวใจไม่ปกติ หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้นทำให้เกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากไม่มีการจัดการกับความเครียดที่ดีต่อไปร่ายกายจะส่งสัญญาณเตือนภัยอันตรายแบบไม่หยุด ส่งผลให้เกิดเป็นความเครียดสะสมอย่างถาวร ความเครียดสะสมส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของร่างกายในระยะยาว ก่อให้เกิดเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรัง รวมทั้งความเครียดสะสมยังส่งผลเสียด้านสัมพันธภาพกับคนรักและคนรอบข้างทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตที่มีความสุขถดถอยด้อยลง



ทักษะการจัดการกับความเครียดมีอะไรบ้าง?

1. ออกกำลังกาย

การเคลื่อนไหวร่างกาย และการออกกำลังกายช่วยเรื่องปรับสมดุลด้านอารมณ์  ช่วยให้สมองด้านความคิดได้มีการผ่อนคลาย รวมทั้งยังช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดี เราสามารถวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นรำ เต้นแอโรบิค หรือออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบต่างๆ ที่เราชอบได้

2. ฝึกเทคนิคผ่อนคลาย

เช่น ฝึกผ่อนลมหายใจ ทำสมาธิ ฝึกโยคะ หรือนวดผ่อนคลาย  รักษาระดับการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ กิจกรรมผ่อนคลายเป็นการส่งเสริมความสงบด้านจิตใจที่ดีต่อร่ายกายและการทำงานของสมอง

3. เข้าสังคม

การเชื่อมโยงกับเพื่อนฝูง ครอบครัว ได้พบปะ พูดคุย ไปร่วมงานปาร์ตี้สังสรรค์ ช่วยลดความเครียดได้

4. ทำงานอดิเรก

หากเราเครียดจากการทำงานควรหางานอดิเรกที่สนใจทำเพื่อเป็นการพักจากงานประจำที่ทำให้เครียด และอาจสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจในอนาคตได้

5. ออกท่องเที่ยว

การได้ไปเปลี่ยนบรรยากาศสามารถช่วยให้จิตใจได้ผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามหากมีข้อจำกัดเรื่องการเดินทางก็อาจเลือกเป็นการพักผ่อนอยู่กับบ้านหากิจกรรมที่เพลิดเพลินและผ่อนคลายทำแทน

6. มีการวางแผน

ฝึกระเบียบเรื่องการจัดตารางงานและลำดับความสำคัญของงาน เพื่อลดความวุ่นวายและความกดดันที่นำไปสู่ความเครียดได้

7. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำลายสุขภาพ

ไม่ควรนำปัญหาและความเครียดไปใส่อารมณ์กับคนในครอบครัว และควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสพติด เช่น การเสพติดสุรา หรือสารเสพติดต่างๆ โดยเฉพาะบุหรี่ซึ่งอาจสร้างปัญหาอื่นตามมา หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่ดีได้ด้วยตัวเองควรมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับแนวทางรับมือกับความเครียดได้อย่างถูกต้อง

ความเครียดส่งผลทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนแอ ส่งผลด้านอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล และอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้หากไม่รีบแก้ไข ดังนั้นควรหาเวลาผ่อนคลายและหยุดพักจากสิ่งแวดล้อมที่สร้างให้เกิดความเครียด ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายและควรหาที่พึ่งทางด้านจิตใจหรือมาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อต้องรับมือกับความเครียดที่ไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง

 

 

 


จัดการกับความเครียดด้วยจิตบำบัด EMDR

จิตบำบัด EMDR เป็นเทคนิตจิตบำบัดสมัยใหม่ที่แตกต่างจากการบำบัดด้วยวิธีเดิมๆ การทำงานที่ลงลึกถึงสมองผ่านการเคลื่อนไหวของสายตาช่วยให้ลดอาการต่างๆที่เกิดจากความเครียด หรือ ความทรงจำอันเจ็บปวดได้ การฝึกเทคนิคEMDR ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยนำทางไปในจุดของต้นตอสาเหตุที่ทำให้เครียด และเข้าจัดการกับความทรงจำอันไม่พึงประสงค์ที่เป็นสาเหตุของความเครียดต่างๆ ประโยชน์ ของEMDR นั้นมีมากมายในการช่วยลดผลกระทบด้านภาวะสุขภาพจิตที่เจ็บป่วย ภาวะPTSD ภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ซึมเศร้า วิตกกังวล และความเจ็บป่วยเรื้อรัง

หากมีภาวะความเครียดและความวิตกกังวลไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานโดยไม่ได้รับการแก้ไขเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเกิดโรคต่างๆและเกิดความผิดปกติทางด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้บุคคลิภาพอาจมีปัญหาตามมา สุขภพจิตเป็นเรื่องสำคัญและควรให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งหากรู้สึกว่าภาวะเครียดมีมากจนเกินจะรับไหวหรือไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเองควรรีบมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการแก้ไขรักษาให้หากเป็นปกติ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคนรักรอบข้าง

 



อ้างอิง

https://www.google.com/search?q=stress+why&sca_esv=e98d75d65961b199&sxsrf=ADLYWILvxwOq0VwcwJveVMsljPVVH_9Jsw%3A1734743517243&ei=3RVmZ8_EDpu6seMP58CTyAk&ved=0ahUKEwiPp_yY17eKAxUbXWwGHWfgBJkQ4dUDCBA&uact=5&oq=stress+why&gs_lp=Egxnd3Mtd2l6LXNlcnAiCnN0cmVzcyB

https://odphp.health.gov/myhealthfinder/health-conditions/heart-health/manage-stress

https://www.nhs.uk/mental-health/self-help/guides-tools-and-activities/tips-to-reduce-stress/

 

https://www.apa.org/topics/healthy-workplaces/work-stress

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้