72 จำนวนผู้เข้าชม |
ความผูกพันแบบคลุมเครือ (Ambivalent attachment) คืออะไร และส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อโตขึ้นอย่างไร?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner
ความผูกพันแบบคลุมเครือ (Ambivalent attachment) เป็นความไม่มั่นคงในความผูกพันระหว่างผู้ปกครอง และเด็กในครอบครัว ผู้ดูแลมีวิธีการเลี้ยงดูที่ทำให้เด็กเกิดความสับสน หรือผู้ดูแลมีอารมณ์แปรปรวน มีความไม่คงเส้นคงวา โดยเฉพาะความใส่ใจดูแลต่อเด็ก เช่น ให้ความใส่ใจดูแลเป็นครั้งคราว แล้วก็ทอดทิ้ง ละเลย หรือตอบสนองต่อความต้องการของเด็กเป็นบางครั้ง แล้วก็ทำเฉยเมินไม่สนใจ พฤติกรรมของผู้เลี้ยงสร้างความสับสนทางใจ ทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล และกลัวการแยกจาก กลัวการถูกทอดทิ้ง กลัวการถูกปฎิเสธ ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมคอยมองหาคนที่สามารถตามติดเป็นเงาไม่ยอมปล่อยให้ห่างได้ เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเลี้ยงดูและความผูกพัน (Attachment theory) มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก การเลี้ยงดูในวัยเด็กส่งผลระยะยาวถึงพฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก ความมั่นใจ ความกล้าหาญ และความแข็งแกร่งทางด้านจิตใจในวัยผู้ใหญ่ได้ รวมทั้งการสานสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืนกับผู้อื่นในสังคมในระยะยาวได้
การเลี้ยงดูในวัยเด็กที่ใด้รับความรักความใส่ใจอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เด็กมีความมั่นคงทางใจปลอดภัยและช่วยให้เติบโตมาพร้อมความแข็งแกร่งด้านจิตใจแม้จะเจออุปสรรคที่ยากลำบากก็จะสามารถผ่านพ้นและเอาชนะกับมันได้ การมีจิตใจที่มั่นคงเป็นพื้นฐานทำให้มีความเชื่อมั่น มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น มีความเชื่อใจ มีทักษะด้านอารมณ์ที่ดี มีทัศนคติที่ดีต่อตัวเองมีภาพลักษณ์ในการมองตัวเองที่เป็นบวก การเลี้ยงดูที่ดีทำให้เด็กได้รับทักษะการดูแลตัวเองที่ดีจากผู้ดูแลเป็นแนวทางให้กับชีวิตและ สามารถระวังป้องกันตัวเองจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
อย่างไรก็ตามการได้รับการเลี้ยงดูแบบ Ambivalent attachment สับสน ไม่มั่นคง ก่ำกึ่งรักไม่รัก จะส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคลในวัยผู้ใหญ่ เช่น
บ่อยครั้งที่พบว่าสาเหตุของ Ambivalent attachment ส่งผลต่อพฤติกรรมเหล่านี้เมื่อโตขึ้น มักมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่มั่นคง คนเลี้ยงดูที่อารมณ์ไม่ปกติปล่อยปะไม่ใส่ใจ ไม่สม่ำเสมอ ก่อทำให้เกิดความสับสน วิตกกังวล ส่งผลให้เด็กโหยหาความรักจากผู้อื่นอยู่ตลอดเวลาทำให้ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง นำสู่ปัญหา Low self esteem ความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ รวมทั้งประสบการณ์การถูกทอดทิ้งหรือถูกนอกใจก็ทำให้เกิดปมบาดแผลทางใจ (Trauma) และส่งผลต่อสัมพันธภาพแบบเป็นปัญหาวิตกกังวลเครียดและเกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจ
จัดการอย่างไรกับปัญหา Ambivalent attachment?
1. ทำบำบัด
มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา พูดคุยเปิดใจในเรื่องปมบาดแผลทางใจกับผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยให้เจอรากต้นตอของปัญหา และสามารถจัดการปัญหาที่เป็นสาเหตุของประเด็นเจ็บป่วย ความวิตกกังวลต่างๆที่เกิดขึ้นได้ การเลี้ยงดูแบบ Ambivalent attachment ส่งผลลนและ มักพัฒนากลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพจิตมากมายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในวัยผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ทำจิตบำบัดในบางกรณีที่จำเป็น
2. ฝึกฝนการตระหนักรู้ในตัวเอง
ฝึกสังเกตและใส่ใจกับสุขภาพของตัวเอง วิธีการและรูปแบบพฤติกรรม รวมถึงตัวกระตุ้นที่มักส่งผลต่อความคิดวิตกกังวลในความสัมพันธ์อยู่เสมอ
3.พัฒนาทักษะการสื่อสาร
เปิดใจคุยอย่างตรงไปตรงมากับคู่รักของตนถึงสาเหตุและปัญหาที่ไม่สบายใจในการสร้างความเชื่อใจและไว้ใจ
4 พัฒนาทักษะด้านความเชื่อมั่น
ฝึกฝนพัฒนาตัวเองมองเห็นคุณค่าในตัวเอง แก้ปัญหาและฟื้นฟูจิตใจตัวเองให้แข็งแกร่งเพื่อลดปัญหาด้านความสัมพันธ์และอย่าไปยึดติดกับคนอื่นจนมากเกินไป
ปัญหาการเลี้ยงดูที่สร้างความไม่มั่นคงทางจิตใจมักส่งผลต่อพฤติกรรมในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คิดวนเวียนติดอยู่กับทัศนคติลบในอดีต คิดวิตกกังวล มีปัญหาด้านการจัดการกับอารมณ์ของตัวเองอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตามหากความกลัวและวิตกกังวลในความสัมพันธ์ส่งผลต่อการใช้คู่ชีวิตส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านความรัก ควรได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ถึงแม้เราจะไม่สามารถกลับไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีตได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสร้างรูปแบบทางความคิดใหม่เพื่อช่วยให้จิตใจมีความมั่นคงและแข็งแกร่งขึ้นได้ และย่อมส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อตัวเองและคนที่รักเราได้
อ้างอิง
https://www.attachmentproject.com/blog/anxious-ambivalent-attachment-style/
https://www.verywellmind.com/what-is-attachment-theory-2795337
result when grow up
ambivalent attachment behavior in adult
https://www.rula.com/blog/ambivalent-attachment/#:~:text=Adults%20with%20anxious%E2%80%93ambivalent%20attachment,they%20have%20trouble%20opening%20up.&text=They're%20also%20prone%20to,and%20other%20unhealthy%20relationship%20habits.