4 วิธีจัดการกับตัวเองจากผลกระทบของการเลี้ยงดูแบบ Disorganized attachment style

23 จำนวนผู้เข้าชม  | 

4 วิธีจัดการกับตัวเองจากผลกระทบของการเลี้ยงดูแบบ Disorganized attachment style

4 วิธีจัดการกับตัวเองจากผลกระทบของการเลี้ยงดูแบบ Disorganized attachment style



ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

การเลี้ยงดูแบบ Disorganized attachment style เป็นอย่างไรและ ส่งผลอย่างไรเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่?

Disorganized attachment style เป็นรูปแบบการเลี้ยงดูที่สับสน ไม่มั่นคง ไม่สม่ำเสมอ คาดเดาใจของผู้เลี้ยงได้ยาก บางครั้งให้ความรัก บางครั้งทำให้กลัว ทำให้เด็กสับสน ไม่รู้ว่าควรไว้ใจคนเลี้ยงหรือควรอยู่ห่างๆดี  

เมื่อเติบโตขึ้นส่งผลต่อปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะเมื่อมีคู่จะส่งผลต่อความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ เนื่องจากมีความกังวล ความกลัวการถูกทำให้เจ็บปวด กลัวการถูกปฏิเสธ ระแวงสงสัยไม่ไว้ใจ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมักทำให้ที่อีกฝ่ายไม่สามารถคาดเดาได้ถึงการแสดงออกด้านความรัก บางครั้งรักอย่างสุดซึ้งและต่อมาเกลียดอย่างกะทันหันทำให้อีกฝ่ายเกิดความสับสน รวมทั้งมักมีปัญหาด้านความไว้ใจ คือมักไม่เชื่อใจคู่รักและคอยมองหาสัญญาณความนอกใจหรือ ถูกหักหลังจากอีกฝ่ายอยู่ตลอดเวลา ด้านความเชื่อมั่นในตัวเองจะรู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ กลัวการถูกปฎิเสธและมักมีปัญหาในการสื่อสารสิ่งที่ตนคิดและรู้สึก การเลี้ยงดูแบบ disorganized attachment มักสร้างความเครียด วิตกกังวลให้กับเด็ก บ่อยครั้งทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าและมีปัญหาสุขภาพจิตตามมา

 



สัมพันธภาพกับคนที่มีลักษณะ Disorganized attachment style เป็นอย่างไร?

หากคู่รักของเรามีลักษณะดังกล่าวมักส่งผลต่อความเข้าใจเรื่องการสื่อสาร เนื่องจาก Disorganized attachment style มักไม่เปิดใจพูดคุย มองโลกในแง่ลบ และไม่อดทนกับการสานสัมพันธภาพหากรู้สึกไม่พอใจ มักจะผลักไสอีกฝ่าย และมักจะชิงจบความสัมพันธ์ก่อนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกปฏิเสธจากอีกฝ่าย

คนที่มีลักษณะ Disorganized attachment style มักสร้างความสัมพันธ์ที่มีแนวโน้มเป็นอันตราย คาดเดายาก เป็นผลจากประสบการณ์วัยเด็ก บ่อยครั้งทำพฤติกรรมโดยไม่ตระหนักรู้ตัวเอง เช่น ทำให้คนรักหวาดกลัวหรือมีพฤติกรรมทำร้ายร่างกายและจิตใจ เป็นผลมาจากความเชื่อว่าไม่มีใครสามารถไว้ใจได้ ปัญหาด้านความเชื่อใจในสัมพันธภาพ บางครั้งเกิดปัญหากลัวการถูกทิ้ง  ส่งผลต่อพฤติกรรมหึงหวง ระแวงสงสัยในการกระทำของคนรักอยู่เสมอ

หากคู่รักของเรามีลักษณะ Disorganized attachment style ปัญหาเรื่องการจัดการด้านอารมณ์มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ อารมณ์ที่แปรปรวนไม่คงที่มักส่งผลต่อปัญหาความขัดแย้งในสัมพันธภาพและ การสื่อสารที่มีปัญหาส่งผลต่อการอธิบาย ชี้แจงความต้องการของตัวเองได้อย่างชัดเจน

นอกจากนั้น Disorganized attachment ยังส่งผลต่อความวิตกกังวลเมื่อโตขึ้น พฤติกรรมที่คอยมองหาความรัก เรียกร้องความสนใจจากอีกฝ่าย และเรียกร้องการดูแลเอาใจใส่ ต้องการความห่วงใยอย่างมากเกินปกติเป็นผลสืบเนื่องมาจากการกลัวถูกทอดทิ้งส่งผลทำให้อีกฝ่ายเกิดความอึดอัด หากไม่ได้รับการตอบสนองจากอีกฝ่ายในแบบที่ตนต้องการมักจะทำตัวเฉยชาออกห่างและแสดงความรู้สึกเกลียด

อย่างไรก็ตาม Disorganized attachment มักส่งผลต่อการสานสัมพันธภาพของคู่รัก และมันยังส่งผลต่อประเด็นปัญหาความเชื่อใจด้วย หากเรากำลังคบหาดูใจกับคนมีลักษณะ Disorganized attachment ควรมีทักษะรับมือและทำความเข้าใจ

รูปแบบการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของพ่อ-แม่บางคน การเลี้ยงดูที่พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงควรต้องปกป้องดูแลลูก แต่กลับสร้างความไม่มั่นคงทางใจให้กับลูก ทำให้ลูกเกิดความวิตกกังวล อารมณ์ขึ้นลงไม่ปกติส่งผลต่อความเครียดและพฤติกรรมแสดงออกอย่างมีปัญหาสุขภาพจิตในวัยผู้ใหญ่

อย่างไรก็ตาม Disorganized attachment style สามารถรักษาฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กลับมามั่นคงแข็งแรงได้ หากปัญหาด้านการเลี้ยงดูส่งผลกระทบต่อสัมพันธภาพในชีวิตคู่และชีวิตครอบครัวและไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้บานปลาย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและความสัมพันธ์ และควรหาวิธีจัดการกับตัวเองในเบื้องต้นดังนี้

 

4 วิธีจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึกและผลกระทบจากการเลี้ยงดูแบบ Disorganized attachment style

1. ตระหนักรู้ในสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น

ความรู้สึกถูกละทิ้งมักเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้เชื่อมโยงติดต่อกับคนอื่น เมื่อเกิดความกลัวหรือความวิตกกังวลเรามักตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณค่าในตัวเอง ดังนั้นควรใช้เวลาอยู่กับตัวเองและทบทวนว่าสิ่งใดหรือเรื่องใดที่นำพาเราไปสู่ความรู้สึกแบบนี้ และความกลัวและวิตกกังวลใดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมแสดงออกที่ไม่ดีของเรา

2. เรียนรู้เทคนิคการบำบัดใจให้ตัวเอง

หาเทคนิควิธีที่เหมาะกับตัวเองในการพาตัวเองเข้าสู่โหมดสงบใจ รู้สึกผ่อนคลาย และมีสุขภาพกายใจที่ดี อาจใช้เสียงดนตรี หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเข้าช่วย

3. ถามตัวเองว่าสิ่งใดที่จำเป็นกับเรามากที่สุด

เมื่อเราสงบจิตใจได้แล้วเราจะเริ่มเข้าสู่การสำรวจ และค้นพบภายในจิตใจและความคิดของตัวเอง ตัวกระตุ้นอารมณ์ขุ่นเคืองอาจมาจากข้อสงสัยในตัวเอง และการตัดสินของผู้อื่น หาให้เจอว่าอะไรที่คอยรบกวน และอะไรที่จำเป็น-ไม่จำเป็นกับเรา ตัดสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ใจ ไม่สบายใจ และคอยรบกวนจิตใจออกไป

4. เรียนรู้ทักษะการสื่อสารที่เหมาะสมในเวลาที่จำเป็น

การสื่อสารในช่วงเวลาที่ไม่มีความวิตกกังวลหรือเครียด ใช้น้ำเสียงที่สงบ ไม่ใส่อารมณ์ขณะสื่อสาร ให้เกียรติให้อภัย และอดทน มีเมตตา ช่วยให้สัมพันธภาพกับผู้อื่นไม่เกิดปัญหา จะช่วยลดความตึงเครียดในการใช้ชีวิตร่วมกัน

แม้ว่า Disorganized attachment อาจทำให้เราสูญเสียการเชื่อมโยงตัวเรา กับตัวตนวัยเด็กภายใน (Inner child) แต่ให้เรามองหาวิธีที่จะนำชีวิตของเราก้าวต่อไปโดยไม่ไปโทษการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยง ให้อภัยคนอื่น ให้อภัยตัวเอง รู้จักตัวเองและเข้าใจตัวเอง

ยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นและมองหาวิธีเยียวยาจิตใจ เพื่อปรับปรุงความคิดทัศนคติและพฤติกรรมของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไป เปิดใจกับประสบการณ์ด้านความรักในรูปแบบที่แตกต่างที่ไม่ใช่แค่ความรักจากพ่อและแม่ เพื่อช่วยเยียวยาความเจ็บปวดและสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง หากความเครียดวิตกกังวล ปัญหาสัมพันธภาพ เหงาโดดเดี่ยวเป็นปัญหาใหญ่และไม่สามารถผ่านพ้นหรือจัดการได้ด้วยตัวเองควรมองหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ

 

อ้างอิง

https://www.attachmentproject.com/disorganized-attachment-relationships/#:~:text=Someone%20with%20a%20disorganized%20attachment%20style%20in%20relationships%20may%20struggle,view%20of%20themselves%20and%20others.
https://centeringhealing.org/blog/disorganized-attachment/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้