รู้ทันโรคซึมเศร้า
Dr. Marid Kaewchinda
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy
โรคซึมเศร้าคืออะไร?
โรคซึมเศร้า คือภาวะทางอารมณ์ที่ผิดปกติ และเป็นอยู่ยาวนานติดต่อกันทุกวันเกิน 2 สัปดาห์ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในการอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม หรืออุปสรรคต่อตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบทำสาเหตุของโรคซึมเศร้าคืออะไร? โรคซึมเศร้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งแต่ละคนอาจไม่เหมือนกันแต่ที่พบโดยทั่วไปส่วนใหญ่เกิดจาก- ความเครียดสะสม ไม่ได้รับการแก้ไขจนระบบเคมีในสมองผิดเพี้ยน
- ลักษณะบุคคลิกภาพของบุคคลนั้นที่มีมาแต่กำเนิด เช่น อ่อนไหวง่าย ขี้เหงา ไม่ค่อยมีความมั่นใจในตัวเอง
- สิ่งแวดล้อมที่เติบโตมา การเลี้ยงดู ประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า วิกฤติที่ต้องเผชิญในชีวิต ประสบการณ์อันเลวร้าย
- ฮอร์โมนลดลงกระทันหัน เช่น ภาวะหลังคลอดบุตร ซึ่งส่งผลต่อการปรับสมดุลของสารบางอย่างในสมอง ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้
- การใช้สารเสพติด หรือการติดเหล้า เป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะที่ไม่ปกติ เสียสมดุลของสมองเป็นอย่างมาก และมีผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าที่รักษาได้ยาก
อาการของโรคซึมเศร้าเป็นอย่างไร?
• รู้สึกท้อแท้ เศร้า เบื่อ หรือหงุดหงิดง่าย
• เลิกสนใจในสิ่งที่เคยชอบ
• มีปัญหาการกิน กินมากไปหรือกินน้อยไปจนทำให้น้ำหนักขึ้นหรือลงผิดปกติ
• มีปัญหาการนอน หลับยาก หรือนอนมากจนเกินไป
• มีอาการกระวนกระวาย หรือบางครั้งก็เฉื่อยชา
• รู้สึกหมดเรี่ยวแรง ไม่มีพลังไม่อยากลุกชึ้นมาทำกิจกรรม
• รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือรู้สึกผิด และกล่าวโทษตัวเองในทุกเรื่อง
• ขาดสมาธิ ขาดความสงบ โฟกัสการทำงานไม่ได้ มีปัญหาเรื่องความคิดและการตัดสินใจ
• คิดถึงแต่เรื่องตาย อยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
การรักษาอาการของโรคซึมเศร้า
หากสังเกตุอาการพบว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวมีอาการบื่อ เหนื่อยง่าย มีปัญหาการกิน การนอน ไม่อยากทำอะไร นอนมากเกินไปหรือไม่หลับไม่นอน ดูกระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ และคิดถึงแต่เรื่องตาย และอาการเหล่านี้อยู่รบกวนจิตใจตลอดเวลายาวนานเกิน 2 สัปดาห์ และไม่หายไปหรือไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการรักษาให้ถูกวิธี การได้พูดคุยปรึกษากับนักจิตวิทยา และทำการบำบัดด้านจิตใจจะช่วยให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้น และสามารถกลับมาเป็นปกติได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา
นอกจากนี้อาการซึมเศร้ามีหลายระดับแต่ละคนมีอาการและภาวะซึมเศร้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน วิธีการรักษาก็มีหลากหลาย สาเหตุของการเป็นโรคซึมเศร้ามีที่มาและที่ไปที่ต่างกัน
หลายเทคนิคด้านจิตวิทยาที่สามารถแก้อาการซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้าได้มักมีพื้นฐานมาจากการที่เราปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตหรือปรับเปลี่ยนวิธีการมองโลกให้เป็นบวก ฝึกความคิดที่มีมุมมองต่างไปจากเดิม การประยุกต์ใช้แต่ละเทคนิคในการรักษาภาวะซึมเศร้าของนักจิตวิทยาแต่ละท่านจะไม่เหมือนกัน นักจิตวิทยาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลจิตใจสามารถให้คำแนะนำเราได้ และสามารถช่วยให้เรามีวิธีการดูแลด้านจิตใจที่ผสมผสานในหลากหลายเทคนิคไ้ด้
ดังนั้นการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาในการรักษาจะดีกว่าการพึ่งยาต้านซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว ยามีผลต่อสมองและผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจส่งผลเลวร้ายต่ออาการซึมเศร้าที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เราจึงควรที่จะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง และเหมาะสมในการปฎิบัติตัวและการใช้ชีวิตให้หายจากโรคซึมเศร้าได้ และมีความสุขโดยไม่ต้องพึ่งการใช้ยาต้านซึมเศร้า
หากรู้สึกว่ามีอาการเหมือนภาวะซึมเศร้าดังที่กล่าวมา อาจนำเทคนิคเบื้องต้นนี้ไปใช้เพื่อช่วยเหลือตัวเองขั้นต้นก่อนได้ดังนี้
เทคนิคที่บำบัดโรคซึมเศร้าเบื้องต้นโดยไม่ต้องใช้ยามีดังนี้
- เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของตัวเองให้มากที่สุด
- เปิดใจในการศึกษาเพื่อเรียนรู้และค้นพบวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง
- ไม่ควรพึ่งยาต้านโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก เพราะยาไม่ได้เหมาะกับทุกคน และยามีผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อระบบประสาทและสมอง
- พูดคุยกับคนในครอบครัว หรือเพื่อนที่สนิทไว้ใจได้ ออกไปพบปะสังคมให้มากขึ้นอย่าเก็บตัว
- ปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตบางอย่างที่ช่วยลดภาวะโรคซึมเศร้าและเป็นการป้องกันการกลับมาอีกในระยะยาว
- ออกกำลังกาย และดูแลอาหารการพักผ่อนให้สมดุลย์ หากปฎิบัตตามคำแนำนำเบื้องต้นแล้วยังไม่ได้ผลควรรีบนัดหมายเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา หรือนักจิตวิทยา และไม่ควรปล่อยอาการซึมเศร้าทิ้งไว้โดยไม่ดูแล
ทำอย่างไรเมื่อต้องดูแลผู้ใกล้ชิดที่มีอาการซึมเศร้า?
ผู้มีภาวะซึมเศร้าจะมีความรู้สึกทุกข์ทรมานที่ต้องเผชิญกับความสิ้นหวังท้อแท้ เศร้าเสียใจโกรธโทษตัวเองอาการเหล่านี้ผู้ใกล้ชิดหรือผู้ดูแลผู้ป่วยทีมีภาวะซึมเศร้าสามารถช่วยเขาให้ทุเลาได้ด้วยความรักและความเข้าใจ ดูแลความเป็นอยู่ของเขารับฟังพยายามให้กำลังใจและช่วยให้เขามองโลกในแง่ดี
อย่างไรก็ตามคนใกล้ชิดที่คอยดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรหาวิธีดูแลตัวเองด้วยเช่นกัน ควรฝึกฝนดูแลร่างกายและจิตใจตัวเองให้แข็งแรงและมองโลกในแง่ดี มีความหวังและกำลังใจและหมั่นรักษาจิตใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอหากพบว่าตนเองต้องการที่พึ่งด้านจิตใจก็ไม่ควรละเลย ควรขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา และมาพบนักจิตวิทยา ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือละเลยการดูแลจิตใจของตัวเอง
นอกจากนี้ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นก็เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่พ่อ-แม่เป็นกังวลและส่งผลกระทบรุนแรงต่อวัยรุ่นไม่แพ้ในวัยผู้ใหญ่เช่นกัน
โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีสาเหตุมากจากอะไร?
หลายคนเข้าใจว่าโรคซึมเศร้านั้นมักเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ในความเป็นจริงผลสำรวจกลับพบว่าปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่มักเริ่มจากวัยเด็กและวัยรุ่นตอนต้น แต่แสดงออกชัดเจนในช่วงวัยรุ่นตอนปลายจนถึงวัยผู้ใหญ่ ปัญหาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นนั้นมีความซับซ้อน และมักมีตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมศร้าเพิ่มมากขึ้นเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้วัยรุ่นมีภาวะเครียดหรือกดดัน
อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่มักนำไปสู่ความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ เหนื่อย ท้อแท้ สิ้นหวังจนทำให้นำสู่พฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมักเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่เติบโตขึ้นมา ความเครียดความกดดันในครอบครัว ความยากลำบากต่อการใช้ชีวิตเพื่อมีชีวิตรอด ต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความคิดที่เป็นลบ ทัศนคติมุมมองที่มีต่อตัวเองและต่อโลกภายนอกที่แวดล้อมอยู่
นอกจากนี้โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาความไม่มั่นใจในตัวเอง self-esteemต่ำ กังวลเรื่องรูปร่าง หน้าตา ปัญหาความอ้วน ปัญหาเรื่องเพื่อน กาเข้าสังคม การถูกกลั่นแกล้งอย่างต่อเนื่อง ปัญหาด้านการเรียน การตกเป็นเหยื่อความรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการเป็นพยานพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง รวมทั้งประสบเหตุกาณ์สะเทือนใจนั้นด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตามโรคซึมเศร้าไม่ว่าจะเกิดขึ้นในวัยใดล้วนส่งผลกระทบด้านจิตใจ อารมณ์และมักทำให้จิตใจและอารมณ์ไม่อยู่ในภาวะปกติและมักถูกรบกวนได้ง่ายอยู่ตลอดเวลา จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข
ทัศนคติการมองโลกของวัยรุ่นทีเป็นโรคซึมเศร้าค่อนข้างโน้มเอียงไปในทางลบ มองโลกในแง่ร้าย มักมีความรู้สึกหดหู่ ท้อแท้ไม่มีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่การที่เด็กวัยรุ่นยังไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ไม่มีอิสระภาพในเรื่องการเงิน ไม่มีวุฒิภาวะและมีการตัดสินใจโดยใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลจึงทำให้ต้องอยู่ในความดูแลของผู้ปกครองและบ่อยครั้งสัมพันธภาพในครอบครัวที่เป็นปัญหาก็มักส่งผลหรือเป็นตัวกระตุ้นในการเกิดโรคซึมเศร้าได้
อีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น คือความยากลำบากในการใช้ชีวิต ปัญหาความยากจน อาการซึมเศร้าที่เห็นได้ชัดเช่น ภาวะความรู้สึกเศร้า มีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ หดหู่ สิ้นหวัง
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปคนเราสามารถต่อสู้กับความท้อแท้ในจิตใจ ความยากลำบากในชีวิตที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่หากมากจนเกินรับไหวในบางคนก็อาจจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาหรือนักจิตวิทยา
เหตุการณ์อะไรบ้างที่มักส่งผลทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า?
เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เช่น พ่อแม่หย่าร้าง การเรียนตกต่ำ ถูกทำร้ายทางกายและจิตใจ อกหัก หรือถูกปล่อยปะละเลยไม่ดูแล ปัญหาความเป็นอยู่ด้านจิตใจและการใช้ชีวิตตั้งแต่เด็ก และสภาวะทางจิตใจเหล่านี้ไม่เคยได้รับการแก้ไขและยังคงอยู่จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้า เช่น
- มาจากครอบครัวที่เคยมีประวัติของการมีคนเป็นโรคซึมเศร้า แต่ไม่ใช่ทุกครอบครัวที่เคยประสบภาวะซึมเศร้าจะต้องเป็นโรคซึมเศร้าทุกคน เพราะถึงแม้ไม่เคยมีประวัติการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ก็อาจเกิดเป็นโรคซึมเศร้าได้
- ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของฮอโมนที่อาจนำสู่ภาวะซึมเศร้า หรือการใช้สารเสพติดที่เข้าใจผิดว่าอาจช่วยบรรเทาความเครียดได้นั้นความจริงแล้วยิ่งส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ และรบกวนระบบประสาทและสมองของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้
การช่วยเหลือคนที่เป็นโรคซึมเศร้าทำได้อย่างไร?
หมั่นสังเกตอาการความผิดปกติของคนในครอบครัว ผู้ปกครองควรสังเกตอาการณ์ผิดปกติในลูกโดยเฉพาะวัยรุ่น หากมีแนวโน้มที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าควรรีบปรึกษาผู้เชียวชาญหรือนักจิตวิทยา ติดต่อนัดหมายนักจิตวิทยาที่มีความเข้าใจปัญหาครอบครัว และเป็นมิตรกับวัยรุ่นเพื่อให้เขารู้สึกไว้ใจและสามารถที่จะแชร์ประสบการณ์ด้านลบที่เจอมากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยลดอาการจากภาวะซึมเศร้าได้
ส่วนใหญ่ผู้มีภาวะซึมเศร้าคนใกลัชิดมักไม่ได้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทำให้ภาวะซึมเศร้าเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาและรับคำแนำนำไปปฎิบัติตามในเบื้องต้น
การใช้ยาต้านซึมเศร้าเพื่อปรับสมดุลของเคมีในสมองอาจเป็นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และอาจทำให้ภาวะวิตกกังวล เครียด ซึมเศร้าแย่ลงในระยะยาว ดังนั้นการทำจิตบำบัดโดยไม่ใช้ยาเพื่อรักษาซึมเศร้าจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ผลสำรวจจาก FDA ของประเทศสหรัฐในปี 2004 ได้ระบุว่า ยาต้านซึมเศร้ามีผลข้างเคียงที่กระตุ้นทำให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายในเวลาต่อมา การรักษาหรือได้รับความช่วยเหลือด้วยการทำ counseling, talk-therapy และจิตบำบัด จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับภาวะซึมเศร้าที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งยา
ความรัก และความเข้าใจในครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้น ครอบครัวควรใช้เวลาร่วมกันและประสานความเข้าใจกัน
หากพบปัญหาด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้และควรรีบพาไปพบนักจิตวิทยาเพื่อได้รับการแก้ไขและการบำบัดที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลายกลายไปเป็นปัญหาโรคซึมเศร้า
อ้างอิง:
- NeuroCareGroup
- https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=understanding-teenage-depression-1-2220
- https://kidshealth.org/en/parents/understanding-depression.html
- https://www.bettermindthailand.com/
- https://www.facebook.com/BettermindThailand