3340 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้จักโรคไบโพล่า
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา ( Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ไบโพล่า เป็นอาการผิดปกติทางด้านจิตที่ทำให้อารมณ์เกิดแปรปรวน ส่งผลเสียต่อความคิด พลังงานร่างกาย พฤติกรรมการกิน การนอนหลับพักผ่อน และการใช้ชีวิต
คนที่มีอาการไบโพล่ามักจะมีภาวะทางอารมณ์ ขึ้น-ลงแบบสุดขั้ว เช่น เวลาอารมณ์ดีตื่นเต้น จะบ้าพลังสุดขีด หรือมกมุ่นกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ คนที่อยู่ในระยะนี้อาจได้ยินเสียงแว่วในหู หรือภาพลวงตาซึ่งไม่มีอยู่จริงระยะนี้รียกว่า mania หรือ hypomania
และในเวลาต่อมาอาจรู้สึกว่าอารมณ์อ่อนไหวเปราะบางมีภาวะซึมเศร้า สิ้นหวัง หมดหวัง เสียใจรุนแรงจนถึงขั้นอยากจะฆ่าตัวตาย ในช่วงนี้เรียกว่า depression ดังนั้นอาการของโรคนี้จะมีทั้งอารมณ์แปรปรวนทั้งดีใจ บ้าพลังอย่างเห็นได้ชัดเจน สลับกับภาวะซึมเศร้า สิ้นหวังสุดสุดจึงถูกเรียกว่าโรคอารมณ์2ขั้ว
สาเหตุของไพโบล่า
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาวิจัยและเชื่อว่าโรคไบโพล่าไม่ได้เกิดจากสาเหตุแค่ทางพันธุกรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่โรคนี้มีสาเหตุที่ซับซ้อนอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นปัญหาด้านสภาพแวดล้อม สังคมที่เติบโตมา การเลี้ยงดูของคนในครอบครัวที่อาจส่งงผลกระทบต่อจิตใจ เหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความเครียดและกดดันถึงขั้นรุนแรงทำให้ส่งผลต่อเคมีในสมองและความสมดุลของระบบประสาททำงานผิดปกติ
คนทีเป็นไบโพล่าส่วนใหญ่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ และไม่ค่อยพบโรคไบโพล่าในเด็กเล็ก ดังนั้นไบโพล่าอาจถูกพัฒนามากจากสาเหตุอื่นๆที่มากจากการถูกกระตุ้นความเครียดอย่างรุนแรง เช่น การสูญเสียคนที่รัก การติดสารเสพติด หรือติดสุราเรื้อรัง
ความแตกต่างของไบโพล่า และ โรคซึมเศร้า
หากผูัป่วยที่เป็นไบโพล่าถูกวินิจฉัยผิดพลาดและถูกลงความเห็นว่าเป็นโรคซึมเศร้าอาจได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากยา antidepressant ที่ใช้ในโรคซึมเศร้า ส่งผลข้างเคียงต่อสมองที่รุนแรง และการวินิจฉัยที่ผิดพลาดอาจทำให้การรักษาอาการของไบโพล่าแย่ลง การใช้ยาต้านซึมเศร้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช่ยาที่ช่วยปรับอารมณ์ขึ้น-ลงให้คงที่หรือยาประเภท mood stabilizing กับคนที่เป็นไบโพล่าส่งผลเสียต่อการรักษาเป็นอย่างยิ่ง
ไบโพล่าเป็นโรคที่มีความซับซ้อน ผลวิจัยจากสถาบัน DMDA 2006 ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า คนไข้ 69% ได้รับการวินิฉัยผิดพลาดจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า ทั้งๆที่เป็นไบโพล่า และมากกว่า หนึ่งใน 3 ได้รับยาที่ไม่ตรงกับโรคเป็นมาเป็นเวลายาวนานกว่า 10 ปี ส่งผลต่อการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ และอาการได้ถูกพัฒนาไปในทางแย่ลงจนเกิดเป็นเหตุให้อาการตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายมากขึ้น
จากการรายงานของสถาบัน Psychiatry MMC ได้ให้ข้อสังเกตุความแตกต่างระหว่างสองโรคนี้มีอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆคือ โรคซึมเศร้าจะมีแค่ภาวะอารมณ์เดียวคือรู้สึก ท้อแท้ ซึมเศร้า สิ้นหวัง หรือที่เรียกว่า unipolar ไม่มีภาวะอารมณ์ที่มีสุข ตื่นเต้น บ้าพลังจนสุดขีด หรือที่เรียกว่า ภาวะ mania
แต่ไบโพล่ามีทั้งภาวะmaniaและภาวะ depression คือซึมเศร้าสลับกันไปอาการณ์มีพลัง อาการของไบโพล่าจะเป็นภาวะด้านอารมณ์ที่ไม่คงที่ อาการที่แสดงออก อาจเป็นได้คือมีความคิดเพี้ยนว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ หรือมีอิทธิฤทธิ์ ไม่หลับไม่นอน พูดเรื่อยเปื่อย เพ้อเจ้อ ถูกรบกวนง่าย ไม่มีสมาธิ หรือหมกมุ่นในบางเรื่อง เช่น เรื่องเงิน เรื่องเพศ หรือยาเสพติด
ในขั้นที่อาการไบโพล่ารุนแรงจะส่งผลกระทบด้านสังคม หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ในบางรายที่ใช้สารเสพติด ติดเหล้า หรือมีปัจจัยอื่นที่เสี่ยงต่อการรบกวนระบบการทำงานของประสาทและสมองก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความซับซ้อนต่อการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการไบโพล่า และก็อาจมีผลต่อการวินิฉัยที่ผิดพลาดเช่นกัน
อย่างไรก็ตามการรักษาไบโพล่าที่ได้ผลที่สุดคือการได้รับทั้งยา และการมาพบนักจิตวิทยา ข้อควรระวังสำหรับผู้มีอาการไบโพล่าคือไม่ควรใช้ยาเอง หรือปรับลดปริมาณยาเอง โดยไม่ผ่านการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไม่เพิ่มความซับซ้อนหรือความเสี่ยงให้กับโรคด้วยการ ใช้สารเสพติดหรือพึ่งพิงสุราเมื่อมีปัญหาทุกข์ใจ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง และไม่อาจวินิฉัยได้ว่าเป็นไบโพล่าที่เกิดจากการใช้สารเสพติดหรือมาจากปัจจัยอื่น
วิธีรักษา
ไบโพล่าหากไม่ได้รับการรักษาและปล่อยไว้อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย วิธีรักษาต้องทำทั้งสองวิธีควบคู่กันทั้งการกินยา และทำจิตบำบัดด้านจิตจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยจึงจะได้ผล
การกินยาอย่างเดียวอาจไม่เห็นผลที่ก้าวหน้า และต้องเข้าใจว่า การรักษาไบโพล่าเป็นการรักษาที่ยาวนาน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามทั้ง ไบโพล่า และโรคซึมเศร้าควรได้รับการปฎิบัติตนที่ถูกต้อง ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมบางอย่างที่มีผลต่อสุขภาพจิต และควรมีตารางกิจกรรมสม่ำเสมอทุกวัน ควรไปพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญและจิตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ชีวิตกลับมาเป็นปกติ และค่อยๆถอยห่างจากการกินยา
อ้างอิง :