4476 จำนวนผู้เข้าชม |
Low Self-Esteem ส่งผลเสียอย่างไร ?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.) นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
บางครั้งคนเราอาจเกิดความไม่มั่นใจ หรือไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งก็อาจเกิดขึ้นได้บ้างเป็นช่วงๆ ยังถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากอาการขาดความเชื่อมั่น ไม่มีความมั่นใจ หรือ มีความรู้สึกว่าตัวเองทำไม่ได้ ทำไม่ดีจนไม่เห็นคุณค่าในตัวเองนั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา หรือไม่รู้สึกพอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น หรือไม่มีความสุขกับตัวเอง นั่นอาจไม่ใช่เรื่องปกติ อาจเข้าข่าย ของคนมีระดับ self esteem ต่ำ
หากเรามีความคิดเป็นลบกับตัวเอง วิจารณ์ตัวเองที่รุนแรงอยู่ตลอดเวลา หรือไม่มีความคิดด้านบวกเกี่ยวกับตัวเอง มีแต่คิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น และมักโทษตัวเองเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวังไว้ พึ่งโชคชะตาแทนที่จะพึ่งตัวเองเป็นความคิดที่แย่ ความคิดแบบนี้หากปล่อยไปเรื่อยๆย่อมไม่เป็นผลดีต่อการใช้ชีวิตให้มีความสุขอย่างแน่นอน ดังนั้นอย่าปล่อยให้ การมี self-esteemต่ำ ทำให้ชีวิตขาดความสุขและอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เพราะการเป็นคนมี self- esteem ระดับปกตินั่นสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้
การพัฒนาself-esteem ทำได้อย่างไร?
Self-esteem นั่นเกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคนเรา และเป็นสิ่งที่เราเลือกได้ว่าจะมีหรือไม่มี เช่นเดียวกับความสุขในชีวิตเราก็สามารถเลือกได้ และสามารถฝึกที่จะมองโลกอย่างมีความสุขได้ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นฝึกฝนเรื่องต่อไปนี้เพื่อพัฒนา self esteem ให้อยู่ในระดับที่สามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกอย่างมีความสุขและพอใจกับชีวิตได้
การเสริมสร้าง self-esteem มีวิธีปฎิบัติดังนี้
เพราะ ในบางครั้งเด็ก และเยาวชน อาจต้องพบเจอกับความรุนแรง และความเสี่ยงต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคม เด็กและเยาวชนอาจตกเป็นเหยื่อในการกระทำที่รุนแรง หรือ อาจพบเห็นเหตุการณ์การกระทำรุนแรงที่เกิดกับคนใกล้ตัว เพื่อน หรือ คนในครอบครัว
คุณพ่อ- คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศในบ้านให้ปราศจากความรุนแรง เพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย และควรสร้างเสริม Self-esteem หรือ สร้างความมั่นใจให้กับลูก ให้เขารู้จักเห็นคุณค่าในตัวเอง เคารพนับถือตัวเอง คอยช่วยเขาด้านจิตใจและให้กำลังใจเพื่อให้เขาสามารถต่อสู้กับอุปสรรค์ และเอาตัวเองออกจากปัญหาด้วยความกล้าหาญเมื่อเกิดเหตุการณ์อันตรายขึ้น ช่วยให้เขารู้จักปกป้องตนเองในเวลาที่คับขันและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
คุณพ่อ-คุณแม่จึงควรหมั่นส่งเสริมการสร้างself-esteem ด้วยเทคนิคดังต่อไปนี้
3 เทคนิคในการช่วยสร้าง self-esteem เพื่อเสริมแรงใจให้แข็งแกร่ง
1. รับฟังลูก
หมั่นพูดคุยกับลูกในทุกๆวันและแสดงให้ลูกเห็นว่าชีวิตเขามีคุณค่าเขามีความหมายกับคนในครอบครัวเสมอ
2. มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อลูก
ใส่ใจเรื่องต่างๆของลูกโดยเฉพาะ ชีวิตในโรงเรียน เช่น เรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน และควรไปร่วมงานโรงเรียนของลูกทุกครั้งเท่าที่จะทำได้เพราะนั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณแคร์เขาแค่ไหน
3. สนับสนุนแรงใจเพื่อให้ลูกทำภาระกิจได้สำเร็จ
คุณพ่อ-คุณแม่ ผู้ปกครอง ควรให้กำลังใจ และเป็นแรงพลักดันให้ลูกในการทำภาระหน้าที่ที่เขามุ่งมั่นตั้งใจทำให้สำเร็จ และควรชื่นชมลูกทุกครั้งที่เขาทำความดี ทำสิ่งที่ถูกต้องหรือให้การช่วยเหลือผู้อื่น
เทคนิคง่ายๆเหล่านี้ทุกท่านสามารถลองนำไปปรับใช้เพื่อสร้างทักษะและช่วยสร้างกำลังใจอันแข็งแกร่งให้ลูกเวลาที่ลูกต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อ-คุณแม่ และผู้ปกครอง ควรอบรมสั่งสอนลูกไม่ให้ไปรังแกผู้อื่น หากไม่ชอบให้ผู้อื่นมารังแกเรา หรือทำสิ่งใดที่เราไม่ชอบ เราก็ไม่ควรไปทำสิ่งนั้นกับใครเช่นกัน และควรสอนให้ลูกรู้เท่าทันภัยร้ายจากยาเสพติดและพิษภัยจากของมึนเมา สุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ต่างๆ และควรสอนลูกในเรื่องการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกโกรธของตนเองเมื่อถูกทำให้ขัดใจ โดยไม่ใช่ความรุนแรง
อย่าลืมว่า ความรุนแรงยิ่งทำให้ปัญหาลุกลามปานปลาย ดังนั้นหากคุณพ่อ-คุณแม่ หรือผู้ปกครองหากรู้สึกว่าลูกของตนเองมีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์โกรธจนอาจะต้องขอความช่วย สามารถปรึกษา หรือ ขอคำแนะนำจากนักจิตวิทยาได้
การปรึกษานักจิตวิทยาจะช่วยดูแลด้านจิตใจและปรับแนวทางปฎิบัติที่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ของลูก หรืออาจช่วยเรื่องสภาพจิตใจลูกให้กลับมาเป็นปกติ ใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น และ เพื่อลดความรุนแรงในการแก้ปัญหาหรือลดความขัดแย้งลงได้
หากพบว่าต้องปรึกษานักจิตวิทยาในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือเรื่องself esteem หรือความเห็นคุณค่าในตัวเองสามารถปรึกษา Better Mindได้
อ้างอิง:
https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/self-esteem#characteristics-of-low-selfesteem
https://www.bettermindthailand.com/
https://www.facebook.com/BettermindThailand