Resilience หรือการฟื้นคืนของสภาวะทางจิตใจ สามารถพัฒนาและฝึกฝนได้

9558 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Resilience หรือการฟื้นคืนของสภาวะทางจิตใจ  สามารถพัฒนาและฝึกฝนได้

Resilience หรือการฟื้นคืนของสภาวะทางจิตใจ
สามารถพัฒนาและฝึกฝนได้
 
 
 
.     
 
 
 
 
ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด 
 
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner
 

 
Resilience หรือ การฟื้นคืนของสภาวะทางจิตใจ เป็นคุณสมบัติที่ทุกคนมีแต่มากน้อยต่างกัน การที่คนเรามีความสามารถในการฟื้นคืนสภาวะทางจิตใจได้นั้นก็เพื่อต่อสู้กับมรสุมชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วยทางกาย หรือทางใจ การสูญเสียสิ่งที่รัก บุคคลอันเป็นที่รัก เจอกับปัญหาอุปสรรคต่างๆในชีวิต ตกงาน แฟนทิ้ง หรือความยากลำบากอื่นที่เกิดขึ้นกับเรา หากเรามีResilienceเหมือนมีเกราะที่คุ้มกันจิตใจเราให้เข้มแข็งเผชิญหน้าความท้าทายได้

การมี Resilience mindset นั้นมีประโยชน์กับเรายังไง

Resilience mindset นั้นทำให้เราสามารถเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีได้ จากการเปลี่ยนมุมมอง เลือกที่จะมองบวก เลือกที่จะจัดการกับความเครียด ความวิตกกังวล เลือกที่จะไม่ยอมตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า เลือกที่จะมีความสุขและพอใจในแบบที่ตนมีอยู่หรือมีความสุขในแบบที่ตนเป็นอยู่

ยกตัวอย่างเช่น โทมัส เอลวา เอดิสันทำการทดลองประดิษฐ์คิดค้นหลอดไฟที่ให้แสงสว่าง แต่มันไม่ได้สำเร็จโดยง่ายเขาผ่านทดลองที่ไม่สำเร็จมานับเป็นพันครั้ง แต่ด้วยresilience mindset ทำให้ไม่ยอมแพ้ลุกขึ้นใหม่ เขามองเห็นอุปสรรค์เป็นความท้าทาย เขาให้กำลังใจตัวเองและมองว่าการทดลองที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาและจำทำให้เกิดความสำเร็จได้อย่างแน่นอน และเขาไม่ได้มองว่ามันเป็นความล้มเหลวแต่อย่างใดแต่เป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เราฉลาดและฝึกฝนให้เก่งมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกันหากโทมัสไม่มีresilience mindsetเขาจะมองทุกอย่างเป็นอุปสรรคและสิ่งที่ผ่านเข้ามาเป็นปัญหา และอาจทำให้เขาล้มเลิกความตั้งใจและไม่พยายามทำการทดลองอีกต่อไป

ชีวิตคนเราก็เช่นกันหากต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ไม่ได้เป็นดังหวัง ต้องเตรียมใจในการก้าวข้ามผ่านอุปสรรคในชีวิตต่อไปให้ได้ต้องมี resilience mindset มองบวก และพยายามต่อสู้กับภาวะภายในจิตใจของตัวเองให้ได้ อย่ายอมแพ้ง่ายใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุขให้ได้ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตแม้ต้องผ่านอุปสรรคฝ่าฝันต่อสู้กับสิ่งที่ยากลำบากและไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไรแต่ก็ต้องทำต่อไปจนกว่าจะเจอความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจ ควรมีความพยายามและมองบวกกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

สิ่งหนึ่งที่เราควรมีคือความแน่วแน่และฝ่าฝันไปให้ถึงจุดหมาย มีมุมมองของการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเสมอ การมีความพร้อมที่จะฟื้นคืนสภาพจิตใจ มองโลกบวกทุกครั้งที่เจอปัญหาอุปสรรคจะช่วยให้เราก้าวต่อไปได้ เราสามารถทำเช่นนั้นได้โดยการพัฒนา และฝึกฝนResilience mindsetให้เป็นประจำจนเป็นนิสัยและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาตัวเราและความคิดของเรา

 

 

การมี Resilience mindset นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค การมองบวกทำให้ชีวิตก้าวออกจากปัญหา และอุปสรรคได้ การมี Resilience mindset ทำให้เรากล้าเผชิญหน้ากับปัญหาต่อไปอย่างไม่หวาดหวั่น นักจิตวิทยาได้กล่าวถึงองค์ประกอบ และปัจจัยหลักสำคัญ สำหรับแนวทางในการพัฒนา Resilience mindset ไว้ 3ประการดังนี้

1.  ความท้าทาย- ให้เราเปลี่ยนการมองความยากลำบากและอุปสรรคในชีวิตเป็นความท้าทาย ไม่ให้มองว่าความท้าทายเป็นปัญหาที่ทำให้เรากลัวหรือหยุดเราในการเดินก้าวไปข้างหน้า ในทางกลับกันให้มองว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นคือสิ่งที่ทำให้เราเรียนรู้เพื่อเติบโต อย่าให้ความคิดหรือประสบการณ์ลบมามีอิทธิพลต่อการต่อสู้และฝ่าฟันอุปสรรคของเรา อย่าให้ทัศนคติด้านลบมาปิดกั้นความสามารถหรือความมั่นใจในการลองทำสิ่งนั้นอีกในครั้งต่อๆไปของเรา นอกจากนี้เราควรเห็นคุณค่าในตัวเอง เคารพตัวเอง ให้อภัยตนเองและก้าวเดินต่อไป

2.  ให้สัญญากับตนเอง-เป็นการตั้งปณิธานกับตัวเองว่าจะสิ่งที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จ แม้จะเจออุปสรรคปัญหาก็จะหาวิธีก้าวผ่านอุปสรรคไปให้ได้ ทำตามที่สัญญาไว้กับตัวเอง และเดินไปให้ถึงเส้นชัยข้างหน้า โดยไม่ละเลยการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนคนรอบข้าง มีหลักคิดทางศาสนา เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

3.  ควบคุมความคิดตัวเอง- ให้ความสำคับกับการควบคุมความคิดของตัวเองไม่ให้คิดไปในทางลบ สิ้นเปลืองพลังงานสมอง หรือคิดถึงเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขหรือควบคุมมันได้ นอกจากจะทำให้เราขาดความเชื่อมั่น และทอแท้แสัวยังเสียเวลาไม่เกิดประโยชน์ ในทางกลับกันถ้าเราเสริมพลังบวกให้กับความคิด มองบวกกลับมาต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาเลิกกังวลใจในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น เลิกวิตกจริตกับเหตุการณ์ในอนาคตก็จะเป็นการช่วยให้เรามีสุขภาพจิตที่ผ่องใสดีขึ้นได้

นอกจากนี้การฟื้นคืนสภาพจิตใจให้กลับมาต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคได้นั้นนอกจากการไม่ควรคิดลบแล้วควรต้องแทนที่ความคิดลบนั้นด้วยความคิดที่เป็นบวก ดังที่อธิบายไว้ในทฤษฎี positive psychology ของ Martin Seligman นักจิตวิทยา

 

อ้างอิง

https://www.bettermindthailand.com/content/5456/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-resilience-and-child-traumatic-stress-

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้