การฟื้นคืนสภาพจิตใจในเด็ก หรือ Resilience and Child Traumatic Stress

2159 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การฟื้นคืนสภาพจิตใจในเด็ก หรือ Resilience and Child Traumatic Stress

การฟื้นคืนสภาพจิตใจในเด็ก

หรือ

Resilience and Child Traumatic Stress

 

 

ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด 
 
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner



การฟื้นคืนสภาพจิตใจในเด็ก หรือ 
Resilience and Child Traumatic Stress 

 

คือความสามารถและประสิทธิภาพของเด็กที่จะฟื้นคืนสภาวะจิตใจให้เป็นเหมือนปกติและแสดงออกถึงการปรับตัวกับเหตุการณ์อันเลวร้ายได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก

เหตุการณ์ที่สร้างบาดแผลทางใจมีอะไรได้บ้าง?

บาดแผลทางใจอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกทำร้ายร่างกาย หรือเป็นผู้พบเห็นเหตุการณ์การกระทำอันรุนแรงต่อสมาชิกครอบครัว ความรุนแรงในชุมชน  รวมทั้งการประสบเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เหล่านี้ล้วนสร้างให้เกิดบาดแผลทางใจ เกิดความรู้สึกเศร้า สลด หดหู่ รบกวนจิตใจ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงพัฒนาตามวัย และการเจริญเติบโตของเด็กอีกด้วย

อย่างไรก็ตามทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความรุนแรงที่เด็กได้ประสบพบเจอ โดยธรรมชาติเด็กจะสามารถปรับตัวให้แข็งแกร่งเพื่อฟื้นคืนกลับของสภาวะทางจิตใจจากเหตุการณ์เลวร้ายได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะสามารถฟื้นคืนสภาวะจิตใจให้เป็นปกติได้หมด หากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้มีความรุนแรงและเลวร้ายสำหรับเขา หากเขาไม่สามารถผ่านมันไปได้ เราต้องทำความเข้าใจว่านั้นไม่ใช่ความผิดของเขา หรือเป็นสัญญาของความอ่อนแอแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะเหตุการณ์นั้นสร้างความเจ็บปวดให้เขาเกินกว่าที่เขาจะหาทางออกอย่างเข้มแข็งและฟื้นคืนกลับมาสู่สภาวะจิตใจให้ปกติได้ ดังนั้นครอบครัว หรือ ผู้เชี่ยวชาญมีความสำคัญอย่างมากต่อการให้ความสนับสนุน และช่วยเหลือในเรื่องการฟื้นคืนของสภาพจิตใจให้กับเขาได้

 

 


 

ความสามารถในการฟื้นคืนสภาวะจิตใจให้กลับมาปกติในเด็กมีลักษณะเช่นไร?

  • เด็กมีการตอบสนองต่อสถานะการณ์ที่รบกวนจิตใจน้อยมาก และใช้ชีวิตตามปกติ
  • เด็กอาจแสดงออกถึงความรู้สึกเจ็บปวดเพียงชั่วคราวและสามารถที่จะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
อย่างไรก็ตามเด็กอาจมีสภาวะปกติในบางเรื่องที่เขาสามารถจัดการกับภาวะด้านจิตใจได้ดี และอาจแสดงออกในบางเรื่องที่มีปัญหาแทน เช่น เรืองการเรียนอาจมีปัญหา แต่แสดงออกกับเพื่อน เวลาอยู่กับเพื่อนเป็นปกติ ดังนั้นครอบครัว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือสนับสนุนให้เด็กกลับมามีการพัฒนาด้านสุขภาพทางจิตที่ดีเช่นเดิมในทุกๆด้าน

ปัจจัยใดบ้างที่มีส่วนช่วยให้เด็กสามารถฟื้นคืนสภาวะจิตใจในระดับปกติได้?

  • การได้รับการสนับสนุน จากพ่อ-แม่  ครอบครัว เพื่อน  โรงเรียน และ ในชุมชน
  • การได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงาน หรือ ผู้เชี่ยวชาญที่คอยช่วยเหลือหลังเหตุการณ์รุนแรงส่งผลต่อการใช้ชีวิต
  • สร้างความมั่นใจทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นที่ บ้าน โรงเรียน หรือในชุมชน
  • ทำให้เขาเห็นคุณค่าในในตัวเอง และมีความเชื่อมั่นในตัวเอง
  • ชี้แนะแนวทางและ สนับสนุนเส้นทางสู่ความสำเร็จในชีวิตให้เขา
  • ให้เขารู้ว่าชีวิตมีความหมาย โดยอาจใช้ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ หรือมิตรไมตรีกับผู้อื่นเข้าข่วย รวมถึงใช้ความสำเร็จในอนาคต ความใฝ่ฝัน และเป้าหมายในชีวิตเป็นตัวพลักดันด้วย
  • สร้างแรงบันดาลใจด้วยการส่งเสริมทักษะด้าน กีฬา ศิลปะ ดนตรี หรือการเรียน เพื่อพัฒนาพรสวรรค์ที่เขามี
  • เพิ่มพูนทักษะการแก้ปัญหา และการปรับตัวให้เขาสามารถรับมือได้ในหลากหลายสถานการณ์


หากเด็กต้องอยู่ในสถานการณ์ชีวิตที่ยากลำบากอาจเป็นอุปสรรค์ในการปรับตัวมากขึ้น เช่น ความยากจน การถูกเหยียดชนชั้น การแบ่งแยก อยู่ในสังคมที่มีแต่ความรุนแรง หรือ สังคมที่เสี่ยงต่ออาชญากรรม สังคมที่อยู่แบบตัวใครตัวมัน หรือ ปัญหาที่เกิดจากความพร้อมด้านร่างกายของเด็กเองเช่น เจ็บป่วยไม่แข็งแรงก็อาจส่งผลต่อฟื้นคืนสภาวะจิตใจด้วยเช่นกัน

 



สังคมแบบไหนที่เพิ่มความฟื้นคืนสภาวะจิตใจให้กับเด็ก?

เด็กต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ และ ผู้อื่นในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ดังนั้น ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน ชุมชน และสังคมเพื่อนบ้านมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสามารถในการฟื้นคืนด้านสภาวะจิตใจให้เด็ก ดังนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ของชุมชน 

เด็กสามารถฟื้นคืนจากบาดแผลทางใจ เหตุการณ์ร้ายแรง หรือจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่มีปัญหาได้หากได้รับการสนับสนุนในสิ่งเหล่านี้

  • มีความสัมพันธ์ที่ดี มีความสนิทสนมกับคนเลี้ยงที่จะปกป้องและดูแลความปลอดภัยหลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น
  • สัมพันธภาพในครอบครัวมีความเข้มแข็ง ทุกคนสามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง แบ่งปัน เล่าทุกข์สุข และพร้อมช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยหรือเหตุการณ์อันเลวร้าย
  • สภาพแวดล้อมในโรงเรียนปลอดภัย มีการเสริมสร้างทักษะความรู้ พัฒนาความสามารถที่เป็นประโยชน์ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ทำให้เด็กมั่นใจในการมาโรงเรียนและพร้อมช่วยเหลือหากเด็กไม่สบายใจด้วยการมี ครูที่ปรึกษา ครูนักจิตวิทยา ครูเจ้าหน้าที่ที่เชื่อถือได้ ตลอดจน พนักงานขับรถรับส่ง หรือ แม่บ้านประจำโรงเรียนที่เป็นมิตรและไม่ทำร้ายเด็ก



อะไรเป็นStep แรกของการดูแลการฟื้นคืนสภาพจิตใจของเด็ก?

ครอบครัวเป็นด่านแรกที่มีความสำคัญกับเด็กเป็นอย่างมากดังนั้นการมีส่วนช่วยให้เด็กกลับมาเข้มแข็งและกลับสู่ภาวะปกติจึงควรช่วยสนับสนุนในเรื่องดังต่อไปนี้

  • สร้างความเป็นมิตร และความเชื่อใจให้เกิดขึ้นในครอบครัว
  • สอนทักษะเรื่องความเข้มแข็งหากเกิดภัยขึ้นและสอนให้แยกแยะว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
  • สร้างความหวังและให้กำลังใจกันและกัน
  • สร้างความเข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับอุปสรรค์ในชีวิต
  • เตรียมพร้อมรับกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง


 

ไม่ใช่เรื่องง่ายในการช่วยเหลือเด็กที่เคยผ่านเหตุการณ์อันแสนเจ็บปวดและมีบาดแผลทางใจ การช่วยเหลือต้องอาศัยการทำงานอย่างจริงจังและความทุ่มเท ครอบครัวและผู้ดูแลใกล้ชิดเด็กมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยให้เด็กกลับมาสู่ภาวะปกติได้ และควรให้กำลังใจและชื่นชมในการเปลี่ยนแปลงกับเด็กเมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะผ่านการต่อสู้กับความยากลำบากของสภาพจิตใจอันบอบช้ำเหล่านี้ไปได้โดยง่าย

อ้างอิง:

https://www.nctsn.org/

https://www.facebook.com/BettermindThailand

https://www.bettermindthailand.com/

 

อ่านเพิ่มเติมบทความที่เกี่ยวข้อง 

https://www.bettermindthailand.com/content/5442/resilience-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88-

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้