31825 จำนวนผู้เข้าชม |
ทำไมเราถึงต้องให้อภัย
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และนักจิตบำบัด
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner
หากปราศจากการให้อภัยในชีวิตของคนเราแลัวนั้น จิตใจของเราจะวนเวียนอยู่กับการคิดเอาคืนอาฆาตแค้น ทนทุกข์ระทมกับความคิดลบเจ็บปวดอย่างไม่สิ้นสุด
นักจิตวิทยาให้นิยามของคำว่าการให้อภัย หรือ Forgivenessว่า คือการปลดปล่อยความไม่พึงพอใจ ความโกรธเกลียด เครียดแค้นที่มาจากพลังงานด้านลบที่คอยทำร้ายเราโดยใช้หลักเหตุผลของความเข้าใจ และ เห็นอกเห็นใจเวทนาคนที่ทำร้ายคนอื่น หรือสงสารกับการกระทำ หรือพฤติกรรมความคิดของคนที่ทำร้ายเราฟังดูขัดแย้งใช่ไหมครับว่าทำไมเราต้องไม่คิดเคียดแค้นชิงชัง หรือหยุดแก้แค้นเอาคืนคนที่ทำให้เราเจ็บปวด แล้วคนพวกนั้นสมควรได้รับการให้อภัยหรือไม่?
การให้อภัยไม่ใช่เป็นการลบเลื่อนความทรงจำอันเลวร้ายหรือทำใจให้ลืมเหตุการณ์ หรือสิ่งที่ทำให้เราเจ็บปวด แต่เป็นการรับรู้และอยู่กับมันอย่างเข้าใจถึงสิ่งที่ได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว การให้อภัยเป็นการนำตัวเองเข้าไปสู่กระบวนการฟื้นฟูด้านจิตใจ เป็นการปลดปล่อยเราให้ใจเราเป็นอิสระจากความคิดและจิตใจด้านมืดที่แฝงไว้ด้วยพลังงานด้านลบที่เต็มไปด้วยความโกรธเกลียดชิงชัง และใช้หลักการแทนที่ความคิดลบนั้นด้วยความคิดที่เป็นบวก
การให้อภัยคนที่ทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจนั้นอาจไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหลายๆคน และความรู้สึกหรือประสบการณ์ที่เลวร้ายนั้นยังอยู่คอยรบกวนจิตใจของเราตลอดเวลาและทุกครั้งที่เรานึกถึงมันเราก็จะรู้สึกเจ็บปวดขึ้นมาทุกที อย่างไรก็ตามเหตุผลว่าทำไมการให้อภัยถึงเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตของเรานั้นก็เพราะว่าการที่เรายังไม่หลุดพ้นจากความโกรธนั้นเหมือนเราเก็บพลังงานลบไว้กับเราตลอดเวลา แต่เมื่อเราปลดปล่อยความโกรธ เกลียด เครียดแค้นชิงชังให้ออกไปจากใจเรา ด้วยการปล่อยวางเป็นการช่วยรักษาสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติสุข เป็นประโยชน์กับสุขภาพร่างกายในเรื่องของการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ไม่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้ฮอร์โมนไม่เสียสมดุลอันเนื่องมากจากความเครียด ลดอาการข้างเคียงเช่น ท้องอืด ท้องเฟ้ออาหารไม่ย่อยมีกรดเกิน และลดอาการปวดต่างๆตามร่างกายได้ เมื่อใจสบายร่างกายก็ไม่เจ็บปวดทุกข์ทรมาน
ถึงแม้ว่าการให้อภัยจะไม่ได้ทำได้ง่ายๆ แต่เราควรฝึกปฎิบัติและตระหนักรู้ว่าอยู่เป็นประจำว่าไม่ควรโกรธ โมโหและควรให้อภัยปล่อยวางไม่เก็บมาคิดมากหรือกลายเป็นความคิดลบเพื่อให้ชีวิตได้กลับมามีสมดุลและสามารถก้าวเดินต่อไปได้ หลักสำคัญของการพัฒนาเรื่องการให้อภัยมีประโยชน์หลายอย่างและทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้
8 กุญแจสำคัญแห่งการให้อภัย
2. ฝึกปฎิบัติการให้อภัยจนเกิดจิตที่เมตตา ให้อภัยผู้อื่นอยู่เสมอแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยช่วยทำให้เรามีใจเมตตาเห็นอกเห็นใจปล่อยวางการกระทำผิดหรือที่ไม่ดีของผู้อื่นทำให้ใจเราสบาย
3. เห็นภาพชัดเจนว่าอะไรหรือใครที่ทำให้เราเจ็บปวดแล้วฝึกที่จะให้อภัย ความเจ็บปวดนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการถูกหักหลัง ถูกนอกใจ ความไม่เชื่อใจ การขาดความเชื่อมั่น คิดลบมองโลกในแง่ร้าย ซึมเศร้า วิตกกังวล และอีกมากมายดังนั้นการฝึกปฎิบัติการให้อภัย รวมถึงการให้อภัยตนเองด้วยจึงมีจุดประสงค์เพื่อให้จิตใจได้รับประสบการณ์ด้านบวกในการเยียวยาฟื้นฟูจิตใจ และควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่รู้สึกปลอดภัยเพื่อได้รับสนับสนุนการให้เรื่องการให้อภัย
4. หมั่นพัฒนาจิตใจของการให้อภัยโดยผ่านความเห็นอกเห็นใจ สงสาร เวทนา
5. หาสาเหตุที่ทำให้เราทุกข์ทรมานใจให้เจอและหาข้อดีจากเหตุการณ์ที่แย่ๆเหล่านั้น
6. ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหากการให้อภัยนั้นเป็นเรื่องยากเกินจะทำได้ด้วยตัวเอง
7. รู้จักให้อภัยตัวเองด้วยเพื่อเป็นการช่วยฝึกให้ใจเรารู้จักให้อภัยผู้อื่นได้ง่ายขึ้น
8. พัฒนาจิตใจของการให้อภัย ถึงแม้จะเป็นเรื่องยากและไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วแต่การฝึกฝนการให้อภัยนั้นเป็นสิ่งที่เราควรพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวะความเจ็บป่วยด้านจิตใจและร่างกาย
อย่างไรก็ตามเมื่อรู้จักวิธีการให้อภัยผู้อื่นแล้วก็ไม่ควรละเลยการให้อภัยตนเองการให้อภัยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ การให้ความใส่ใจในเรื่องจิตใจของตนเอง เห็นอกเห็นใจ สงสารเมตตาเข้าใจตัวเองนั้นเป็นการช่วยให้ชีวิตก้าวต่อไป และไม่ติดกับดักทางความคิดที่เคยกระทำผิด
ถึงแม้ความผิดที่เคยกระทำจะเล็กน้อยหรือใหญ่หลวงก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันไม่สามารถกลับไปแก้ไขอดีตได้แต่สิ่งที่เราควรทำคือทำความเข้าใจกับตัวเองมีใจเมตตาและให้อภัยตัวเองเหมือนที่เราให้อภัยผู้อื่น และเก็บความผิดพลาดมาเป็นบทเรียนที่จะไม่ทำซำ้เดิมอีก
เราอาจนำหลักคิด 12 วิธีในการให้อภัยตนเองไปปรับใช้เพื่อให้ชีวิตเพื่อให้มีหลักในการก้าวเดินไปต่อได้และเป็นการปลดปล่อยตัวเองจากความรู้สึกที่เจ็บปวดทำดังนี้
หลักคิด12 วิธีในการให้อภัยตนเอง
หากรู้สึกว่าการให้อภัยตัวเองและผู้อื่นไม่สามารถผ่านไปได้โดยลำพังควรได้รับการแก้ไขและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การให้อภัยเป็นการปลดปล่อยใจเราจากการถูกกักขังและจองจำในความคิดที่วนเวียนและความเจ็บปวดที่ไม่มีวันสิ้นสุด ผู้กล้าหาญเท่านั้นถึงจะกล้ายอมรับ ปล่อยวางและให้อภัยผู้อื่นและตัวเองได้
อ้างอิง:
1. https://greatergood.berkeley.edu/article/item/eight_keys_to_forgivenes
2. https://www.healthline.com/health/how-to-forgive-yourself#8.-Get-clear-about-what-you-want