Music & Imagery (MI) คืออะไร เยียวยาใจได้อย่างไร

2244 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Music & Imagery (MI) คืออะไร เยียวยาใจได้อย่างไร

Music & Imagery (MI) คืออะไร

เยียวยาใจได้อย่างไร



ดร. ชนารี เลาหะพงษ์พันธ์ (Ph.D)
นักจิตวิทยาให้การปรึกษา(Music & Imagery)
และเทคนิคเฉพาะด้าน Guided Imagery&Music(GIM) 



 

ในทุกๆครั้งที่เราได้ฟังดนตรี ร่างกายของเรามีการตอบสนองทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เช่น ฮัมเพลง เคาะจังหวะตามเบาๆ รอยยิ้ม หรือแม้กระทั่งความรู้สึกที่อยู่ภายในจิตใจ ในปัจจุบันการศึกษาวิจัยที่เกียวของกับดนตรีและจิตวิทยามีการแตกแขนงออกไปในหลากหลายสาขาและเทคนิคต่างๆ

หนึ่งในเทคนิคที่เราจะเอ่ยถึงในบทความนี้คือ Music & Imagery (MI) ซึ่งเทคนิคนี้ยังไม่มีการนิยามเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ แต่เราคงเดาได้ไม่ยากว่าเทคนิคนี้คือการใช้ ดนตรี (music) และจินตภาพ (imagery) ในบทความหลังจากนี้ไปผู้เขียนจะใช้คำย่อ MI เมื่อเอ่ยถึง Music & Imagery ในครั้งต่อๆไป

อย่างที่กล่าวไว้ขั้นต้นว่า Music & Imagery นั้นเป็นการผสมผสานเทคนิคระหว่าง ‘ดนตรี’ และ ‘จินตภาพ’ กระบวนการในการทำ MI จะใช้ดนตรีเป็นหลักและปิดท้ายด้วยจินตภาพ หรือ ภาพเชิงสัญลักษณ์ที่เล่าผ่านงานศิลปะ mandala

หลายๆคนอาจจะกังวลว่า ‘ฉันเล่นดนตรีไม่เป็น’ หรือ ‘ฉันวาดภาพไม่เป็น’ จะสามารถเข้าร่วมกระบวนการ MI ได้หรือไม่?

คำตอบคือ ‘ได้’

 


เพราะเทคนิคนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง ‘ดนตรีและจินตภาพ’โดยใช้ดนตรีคลาสสิคที่ได้ถูกเรียบเรียงขึ้นเป็นหมวดหมู่และเลือกใช้ภายใต้ดุลพินิจของนักจิตวิทยาบำบัด

แต่ในบางกรณีการเลือกใช้ดนตรีร่วมสมัย (contemporary music) ซึ่งก็ต้องเป็นบทเพลงที่ได้รับการคัดเลือกผ่านผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน ดังนั้นคำว่าดนตรีร่วมสมัยที่นำมาใช้ใน MI นั้นจึงไม่ใช่ว่าจะนำเพลงอะไรก็ได้ที่อยู่ในกระแสความนิยม เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการทำ MI นั้นจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนระหว่างนักจิตวิทยาบำบัดและผู้เข้าร่วมกระบวนการ MI.

 

 

ทำไมต้องเป็นศิลปะ mandala

ศิลปะ manadala เป็นภาษาสันกฤตซึ่งแปลว่า ‘วงกลม’ ซึ่งนำมาใช้เพื่อเป็นตัวแทนของพลังงาน จักรวาล หรือ การเริ่มต้น ดังนั้นจึงถูกเลือกเพื่อให้มาเติมเต็มในส่วนของการบรรยายสะท้อนความรู้สึก ประสบการณ์ หรือสัญลักษณ์ที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกว่าเป็นกุญแจสำคัญในการค้นพบบางอย่างหรือเชื่อมโยงกับเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆเกี่ยวข้องกับตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
 

ประโยชน์ของ Music & Imagery ทีในหลากหลายแง่มุม

ในบทความนี้เราจะนำเสนอบางส่วนที่น่าสนใจคือ

  • การค้นหาคุณค่าของตนเอง (explore self-values)
MI เปิดโอกาสให้ผู้ได้ค้นหาเรื่องราวที่ได้จากขั้นตอนการฟังดนตรี ซึ่งเรื่องราวนั้นๆมักจะมีความเชิงลึกซ่อนอยู่ เช่น ความภาคภูมิใจ ความซื่อสัตย์ สุขภาพ สัมพันธ์ภาพ ความอดทน ความพยาม เรื่องราวต่างๆเหล่านี้สามารถสะท้อนถึงความรู้สึกนึกคิดที่ซ่อนอยู่ภายในใจ ในระดับจิตใต้สำนึก (unconscious mind) ที่เราไม่รู้ตัวหรือควบคุมได้
  • ค้นพบทางออกของปัญหา (develop personal solutions)

ในขั้นตอนการทำ MI ดนตรีมีส่วนในการเสริมสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยดึงศักยภาพที่อยู่ภายในตัวเองออกมา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะในการพูดคุย เจรจาต่อรอง สร้างปฎิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้ร่วมงาน หัวหน้า ลูกน้อง หรือคนในครอบครัว ซึ่งทักษะนี้สามารถพัฒนาและต่อยอดได้เรื่อยๆ เพียงแต่ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ในที่สุดการพัฒนานี้จะนำพาไปสู่วิธีการมองทางออกเชิงบวกที่หลากหลายมากขึ้นในวิธีของตนเอง

  • ค้นพบสัญลักษณ์บางอย่าง (Discover Symbols)

สัญลักษณ์ในที่นี่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงภาพเท่านั้น สามารถรวมถึงอารมณ์ ความรู้สึก หรือแม้กระทั่งภาพความทรงจำบางอย่างที่ปรากฎ ในขณะที่ดนตรีบรรเลง อย่างไรก็ตามความหมายเชิงสัญลักษณ์จะมีความหมายเฉพาะตัว เช่น ภาพของลูกสุนัขอาจจะหมายถึงผู้บำบัดเห็นตัวเองในวัยเยาว์ แต่ภาพลูกสุนัขของอีกคนอาจจะสื่อถึงพลังงานแห่งความอุ่นใจ ปลอดภัย

อย่างไรก็ตามความหมายเชิงสัญลักษณ์บางอย่างอาจจะมีความหมายไปในทิศทางเดียวกันในวัฒฯธรรมที่แตกต่างกัน เช่น สีเขียวหรือต้นไม้ สื่อถึงชีวิตหรือการเจริญเติบโต ดวงอาทิตย์สื่อพลัง ในทางตรงกันข้ามภาพสัญลักษณ์หนึ่งอาจจะมีความหมายที่แตกต่างขึ้นอยู่กับการตีความของคนในวัฒนธรรมนั้นเช่น ผีเสื้อ มีความหมายเชิงบวกสำหรัลชาวจีนเพราะสื่อถึงความสุขและการมาเริ่มต้นฤดูร้อนที่สดใส

ในญี่ปุ่นผีเสื้อให้ความหมายถึงสตรีที่แต่งงานและมีบุตรสามีรายล้อมด้วยความสุข แต่ในประเทศแมกซิโกนั้นผีเสื้อกลับหมายถึงวิญญาณของสตรีที่เสียชีวิตในขณะคลอดบุตร ดังนั้นการตีความให้ให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์ไม่สมารถกำหนดได้ตายตัว ซึ่งต้องพิจรณาถึงปัจจัยทางวัฒนธรรมร่วมด้วย

  • เข้าใจอารมณ์ของตนเอง (access emotions)

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการทำการทำ MI นั้น นักจิตวิทยาบำบัดมีหน้าที่ที่ต้องจัดเตรียมสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมปลอดภัย สบายใจ ผ่อนคลายไร้ความกังวลในการแสดงออกความรู้สึก เช่น ดีใจ ภูมิใจ เศร้า เสียใจหรืออื่นๆ

  • ประสบการณ์ในการรับรู้ภายในจิตใจ (experience an inner journey)

เราเดินทางในโลกแห่งความเป็นจริงในทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็นเดินทางไปทำงาน เรียน ซื้อของ หรือ ท่องเที่ยวพักผ่อน แล้วการเดินทางภายในจิตใจของเราคืออะไร การเดินทางข้างในจิตใจระหว่างขั้นตอนการทำ MI นั้น อาจจะนำพาไปสู่สถานที่ที่เราอาจจะไม่รู้จัก เช่น วิวธรรมชาติ สถานที่ที่ให้ความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ซึ่งอาจจะมีภาพปรากฎของบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสัตว์บางชนิดสามารถส่องต่อพลังหรือความรู้สึกได้ ซึ่งการเดินทางในจิตใจของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างออกไปตามประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้พบเจอในชีวิตประจำวันและหล่อหลอมให้เป็นเป็นเรื่องราวที่ค้นพบในอีกด้านหนึ่งของตนเอง

 

 

ดังนั้นการเดินทางภายในจิตใจจึงเปรียบเสมือนกระจกที่สะท้อนความรู้สึกออกมากับเสียงเพลง ท่านสามารถติดตามหรือแลกเปลี่ยนมุมมอง เกี่ยวกับ Music & Imagery และจิตวิทยาด้านดนตรีได้ที่นี่ เรายังมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกมากมายเพื่อให้คุณได้ใกล้ชิดโลกของดนตรีและจิตวิทยามากขึ้น

  

อ้างอิง

 

  • Hallam S.(2019). The psychology of music. Routledge Publisher, United States of America.
  • Jung C.G. (1964). Man and his symbols. Ferguson Publishing, United States of America.
  • Powell L.T. (2007). Stories, Music, and Imagery. A doorway to a child’s self-esteem. Word Association Publishers, United S

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้