ความเครียดและความวิตกกังวลทำให้เกิดโรคหัวใจ

1987 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความเครียดและความวิตกกังวลทำให้เกิดโรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดปกติ
สาเหตุจากโรควิตกกังวล
 
 
 
 
ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
และนักจิตบำบัดครอบครัว และวัยรุ่น 
Certified Supervisor EMDR and Brainspotting Psychotherapy
 
 
 
 

โรควิตกกังวลสามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้หรือไม่?
จากงานวิจัยด้านโรคหัวใจของทีมแพทย์จากประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าความวิตตกกังวลนั้นทำให้หัวใจทำงานหนัก และมีผลต่อปฎิกิริยาทางร่างกายที่ต้องตอบสนองต่อความเครียดทำให้เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและแรง เกิดการสูบฉีดของเลือดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเป็นความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากปฎิกิริยาตอบสนองของร่างกายลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยและถี่ โดยไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีอาจทำให้การทำงานของระบบหัวใจอ่อนแอและส่งผลต่อการพัฒนากลายไปเป็นโรคหัวใจได้
 เนื่องจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติและมีปัญหาและผิดปกติ

 

ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Harlem Cardiology แห่งนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของระบบหัวใจที่มีผลสืบเนื่องมาจากความเครียดและความวิตกกังวล ผลจากการศึกษาค้นอย่างต่อเนื่องพบว่าโรคเครียดและโรควิตกกังวลทั่วไปนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบการทำงานที่ซับซ้อนของหัวใจ ความวิตกกังวลในระดับเกินปกติจนเกิดเป็นอาการวิตกจริตในเรื่องทั่วๆไปสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ เมื่อเกิดความวิตกกังวลร่างกายจะแสดงปฎิกิริยาเครียดออกมาเพื่อเป็นการเตือนภัยและระวังอันตราย

 

 

ความวิตกกังวล ความเครียด อาการตื่นตระหนกประหม่ามักเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของคนทุกคนอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีหากความวิตกกังวลหรือความเครียดมีมากเกินไปจนเสียสมดุลย่อมส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำและหากมันเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำโดยไม่ได้รับการแก้ไขยิ่งส่งผลต่อเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายได้ โรควิตกกังวลทั่วไป หรือ  generalized axiety disorder (GAD) สามารถก่อให้เกิดโรคทางจิตเวชอื่นๆได้ เช่น  โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder หรือ OCD) โรคตื่นตระหนก (panic attack) โรคต่อต้านสังคม (antisocial disorder) หรือโรคหวาดกลัวหวาดระแวงบางสิ่งบางอย่างโดยเฉพาะ (phobia)

โรคเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ post traumatic stress disorder หรือ PTSD) เหล่านี้ที่กล่าวมาอาจเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ โดยเฉพาะ โรคเครียดจากเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือ PTSD ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดภาวะอาการของโรคซึมเศร้าเท่านั้นแต่ยังส่งผลเสียเรื้อรังต่อการนำไปสู่โรคหัวใจอีกด้วย

 ทำไมโรควิตกกังวลส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจ
จากการศึกษาพบว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพร่างกายของมนุษย์โดยเฉพาะระบบการทำงานของหัวใจที่ซับซ้อน สังเกตได้ว่าเมื่อเรามีความวิตกกังวลมักส่งผลให้เราเจ็บที่หน้าอก ในบางรายอาจเป็นสัญญาณของโรคpanic attack  หรือโรคตื่นตระหนก

การจากค้นคว้าในหลากหลายมิติของทีมแพทย์นิวยอร์คชี้ให้เห็นว่าความวิตกกังวลทำให้เกิดภาวะเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงต่อการพัฒนากลายเป็นโรคหัวใจได้หลายอย่างโดยเฉพาะโรคหัวใจวายเฉียบพลันและโรคหลอดเลือดหัวใจอุตตันด้วย

โรคใจสั่น
หรือที่เรียกว่า Heart Palpitations ก็มีสาเหตุมาจากโรควิตกกังวลและโรคเครียด เมื่อเกิดความกังวลและความเครียดร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดและความวิตกังวลนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้สู้หรือวิ่งหนี (fight or flight response) เป็นการตอบสนองอย่างอัตโนมัติของเซลล์ประสาทเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบาก การตอบสนองทางร่างกายจะมีการไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็วและเต้นแรง อย่างไรก็ตามในคนปกติโรควิตกังวลทั่วไปที่พบได้บ่อยมักเกิดจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน ความตื่นตระหนก โรควิตกกังวลโดยทั่วไปนี้หากเป็นไม่มากก็จะมีความเครียดความกังวลไม่นานและหายไปเองได้ แค่หมั่นฝึกฝนด้านจิตใจในการรับมือกับความเครียดและความกังวลที่จะผ่านเข้ามาบ้างเป็นครั้งคราว ทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
อย่างไรก็ตามแต่หากความวิตกกังวลมีมากจนเกิดเป็นโรควิตกกังวลทั่วไปและโรควิตกกังวลเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆและนานๆไม่หายได้ง่ายๆ  ให้สันนิฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของโรควิตกกังวลที่มาจากเหตุการณ์บางอย่างในอดีตหรือความหวาดกลัวอันเนื่องมากจากบาดแผลทางใจหรือเป็นโรคเครียดหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD)

โรควิตกกังวลโดยทั่วไปที่เกิดจาก PTSD ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต รบกวนการทำงานของหัวใจและระบบอวัยวะอื่นๆในร่างกาย ไม่ควรปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไขหากความเครียดและความวิตกกังวลเป็นผลมากจากPTSD หรือโรคเครียดจากเหตุสะเทือนใจควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำจิตบำบัดรักษาอาการโดยทันที
PTSD หรือความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตและเป็นเหตุให้หัวใจต้องทำงานหนัก หากเรากำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าวไม่ควรปล่อยไว้หรือรอช้าแต่ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกแนวทางและควรทำจิตบำบัด

โรควิตกกังวลทั่วไปยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกายด้านอื่นๆด้วยเช่น ทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน ตัวสั่น ปวดหัว ใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาโรคใจสั่นจากภาวะโรควิตกกังวลมีอะไรบ้าง
หากแพทย์มีการวินิฉัยโดยละเอียดแล้วว่าโรคใจสั่นนี้เกิดจากภาวะของโรควิตกกังวลการรักษาจะมีแนวทางดังนี้
·     รักษาด้วยจิตบำบัด ซึ่งทำงานโดยตรงกับสมองด้านความทรงจำในอดีต เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น
·     รักษาด้วยยา อาจได้ผลระยะสั้นแต่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ในระยะยาว
·     การรักษาแบบผสมผสาน เช่นดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด การนวด ทำสมาธิ รำไทเก็ก โยคะ ฝังเข็ม ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลแต่อาจต้องใช้เวลานาน


7 วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นหากเกิดอาการภาวะโรควิตกกังวลทั่วไป
1.            นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
2.            รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
3.            ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ
4.            หมั่นออกจากบ้านทุกวัน
5.            ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เดินอย่างน้อย 15 นาทีทุกวัน
6.            ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และใช้ยาเสพติด
7.            คุยกับเพื่อนและครอบครัวเมื่อเกิดภาวะโรควิตกกังวล
อย่างไรก็ตามหากอาการของโรควิตกกังวลอยู่ในภาวะแย่ลงควรรีบมาพบผู้เชี่ยวชาญโดยทันทีเชและไม่ควรรอช้าหากมีอาการเหล่านี้ เช่นมีอาการนอนไม่หลับ รู้สึกเศร้าและอยากทำร้ายตัวเอง ไม่สามารถควบคุมภาวะความวิตกกังวลได้

โรควิตกกังวลโดยทั่วไปเป็นปัญหาสุขภาพทางจิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการดูแลแก้ไข ดังนั้นควรหมั่นดูและรักษาสุขภาพกายและใจให้กลับมาเข้มแข็งเป็นปกติดังเดิม

 อ้างอิง

https://www.harlemcardio.com/blog/can-anxiety-cause-heart-problems
https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/anxiety-and-heart-disease#:~:text=The%20Effect%20of%20Anxiety%20on%20the%20Heart&text=Rapid%20heart%20rate%20(tachycardia)%20%E2%80%93,heart%20muscle%2C%20and%20heart%20failure.

 https://cvgcares.com/guard-your-heart-addressing-the-relationship-between-anxiety-and-heart-disease/
https://www.medicalnewstoday.com/articles/anxiety-with-heart-palpitations
https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000685.htm
https://www.bettermindthailand.com/content/5999/panic-attack-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-anxiety-disorders-%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3
 

 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้