จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Psychotherapy) กับการรักษาโรค Dissociative Disorder

1107 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Psychotherapy) กับการรักษาโรค  Dissociative Disorder



จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์

(EMDR Psychotherapy)

กับการรักษาโรค
Dissociative Disorder




ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner


โรค Dissociative Disorderเป็นความผิดปกติด้านสุขภาพจิตซึ่งทำให้บุคคลนั้นมีการแสดงออกที่ไม่ปกติ เช่น ไม่สามารถเชื่อมโยงกับปัจจุบันด้านความคิด ความทรงจำ โดยเฉพาะสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือขาดการเชื่อมโยงกับตัวตนที่แท้จริงของตนเอง

โรคนี้เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิตที่ต้องเข้ารับการบำบัดรักษาและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะยิ่งนานวัน ยิ่งยากต่อการรักษาและมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากโรคนี้มักทำให้ขาดการเชื่อมโยงกับทุกสิ่งรอบตัวรวมทั้งตัวตนของตัวเองด้วย ดังนั้นผู้ป่วยจึงอาจสร้างอีกบุคคลหนึ่งขึ้นมาซึ่งอาจมีอีกหนึ่งบุคคลิกภาพหรือหลายบุคคลิคภาพและเป็นเสมือนว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับตน

โรคนี้สามารถทำให้สูญเสียความทรงจำได้ และยังพบว่าทำให้ไม่มีการพัฒนาด้านการเรียนรู้ข้อมูลเท็จจริงเกี่ยวกับตัวเองโดยมักจะเกี่ยวข้องกับโรค Amnesia โรคที่สมองด้านความทรงจำถูกทำลาย ทำให้เกิดเป็นAmnestic syndrome  โรค Dissociative Disorder

ส่วนใหญ่มักเกิดจากประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีตหรือปัจจุบันและไม่มีทางออกจนเกิดเป็นบาดแผลทางใจและทำให้อยากหลีกหนีจากโลกความเป็นจริงหรือชีวิตในปัจจุบันอันเลวร้ายที่เผชิญอยู่ บ่อยครั้งมีการสร้างจินตนาการจนเกิดเป็นความเชื่อหรือภาพหลอนที่ไม่มีอยู่จริง

 
EMDR Psychotherapy จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ ช่วยรักษาโรคDissociative Disorderได้อย่างไร

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ เป็นเทคนิคด้านจิตบำบัดแบบ integrative psychotherapy approach ที่ได้รับการยอมรับในวงการทางการแพทย์ระดับสากล เป็นการทำงานโดยอาศัยการเคลื่อนที่ของดวงตาเพื่อไปช่วยกระตุ้นระบบการทำงานของสมองทั้งสองด้านทำให้สมองที่ทำงานด้านความทรงจำหรือเก็บความทรงจำอันเลวร้ายไว้ได้รับการปลดล็อคและเกิดการไหวเวียน

EMDR Psychotherapy ได้ถูกเผยแพร่และนำเทคนิคจิตบำบัดนี้ไปใช้รักษาอาการผิดปกติทางจิตเวชในหลายประเทศ จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ EMDR Psychotherapy ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการรักษาบำบัดเกี่ยวกับภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (Post-traumatic stress disorder-PTSD) 

ภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นเป็นบาดแผลทางใจที่สร้างความเจ็บปวดทุกครั้งที่นึกถึงและทำให้เกิดโรคทางจิตเวชอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น Panic attack  Anxiety disorders Bipolar disorder  Depressive disorder เป็นต้น  จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพที่เห็นผลอย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นตัวชี้วัดระหว่างภาพเอ็กซเรย์ของสมองก่อนและหลังทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ พบว่าสมองมีการฟื้นฟูอย่างเห็นได้ชัด และจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ยังช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการรักษามีบุคคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน มีพฤติกรรมที่เป็นบวกเพิ่มขึ้นทั้งการแสดงออกและด้านความคิดเมื่อทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ให้กับบุคคลที่มีภาวะDissociative Disorder ในระดับไม่รุนแรงก็จะเห็นผลชัดเจนในเวลาอันสั้น

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากในการบำบัดบาดแผลทางใจที่ทางการแพทย์ทั่วโลกให้การยอมรับ จากการศึกษาพบว่าจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์สามารถรักษาอาการของ Dissociative Disorderในระดับซับซ้อนได้ด้วย แต่ต้องใช้เวลาและเพิ่มเครื่องมือการทำจิตบำบัดมากขึ้น เช่น การวางแผนในการทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ให้ผู้รับบริการที่มีระดับโรคซับซ้อนด้วยการทำควบคู่กับการใช้เทคนิคสำหรับการรักษา Dissociative Disorderเป็นตัวนำทางและมีการวางแผนการรักษาโดยยึดจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ เป็นหลักในการเร่งการรักษา ผลที่ได้เมื่อใช้คู่กันทำให้เกิดการจัดลำดับทางความคิดที่ดีขึ้น ภาวะด้านจิตใจเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการปลดปล่อยความเจ็บปวดที่เคยสะสมเอาไว้ออกมา เกิดการสร้างทักษะการแก้ปัญหาจากภายในผ่านกระบวนการคิดแก้ปัญหาและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้จิตใจแข็งแรงขึ้น ดึงความมั่นใจให้กลับมา บาดแผลทางใจได้ถูกเยียวยารักษาและความทรงจำที่เจ็บปวดมีการถูกทำให้ลื่นไหลเกิดการปลดล็อคสิ่งที่เคยฉุดรั้งการเดินทางไปสู่จุดหมายที่จะทำให้ตัวเองไปสู่ความสำเร็จ ผลคือทำให้มีบุคคลิกภาพมีการเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ความคิดและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้รับการแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติ


เหตุการณ์อะไรบ้างที่ทำให้เกิดบาดแผลทางใจ (Trauma)

เหตุการณ์เลวร้ายมักส่งผลให้เกิดบาดแผลทางใจซึ่งมาในหลากหลายรูปแบบ เหตุการณ์เลวร้ายในชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างการถูกล้อเลียน ไปจนถึงประสบการณ์ที่ร้ายแรงสะเทือนใจ แม้กระทั่งคนทั่วไปที่ได้รับรู้ก็ยังไม่อาจจะทนได้ เช่น การถูกทารุณกรรม ถูกทรมาน ถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือถูกทอดทิ้งในวัยเด็กเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างให้เกิดบาดแผลทางใจได้ทั้งสิ้น เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ไม่ว่าจะด้วยการประสบเหตุด้วยตัวเองโดยตรง หรือเป็นพยานในการพบเห็นคนที่รักถูกกระทำก็ตามสามารถสร้างให้เกิดเป็นความเครียดรุนแรงจนทำให้เป็น PTSD ที่สร้างบาดแผลฝังลึกในใจได้

จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์มีประสิทธิภาพอย่างไร?

จากภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่าสมองมีสีแดงซึ่งเป็นการแสดงประสบการณ์เลวร้ายที่สมองได้รับรู้จนเกิดเป็นบาดแผลทางใจที่พัฒนาไปเป็น PTSD ซึ่งเป็นกระบวนการความคิด ความทรงจำที่สมองเกิดการตีความมีการรับรู้ถึงอารมณ์และประสบการณ์นั้นและเจ็บปวดอยู่แบบนั้นซ้ำๆเมื่อนึกถึงหรือเจอตัวกระตุ้นให้เห็นภาพเหตุการณ์นั้นอีก


Credit: LFS of Nebraska

แต่เมื่อได้รับการบำบัดด้วยกระบวนการทางจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์จนถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ค้นพบว่าสมองมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่ทำให้เกิด PTSD เนื่องจากจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ ไปช่วยกระตุ้นสมองสองด้านที่เก็บความทรงจำและประสบการณ์อันเลวร้ายนี้ไว้และทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายออกไปทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับสมองส่วนในที่เคยถูกแช่แข็งไว้ ทำให้การทำงานด้านประสาทและต่อมไร้ท่อต่างๆ รวมถึงทำให้เซลล์ประสาทของสมองเกิดการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นอย่างเป็นปกติด้านความทรงจำ ความคิด การเรียนรู้ ความมีเหตุผล การแก้ปัญหา ด้านอารมณ์ ด้านสติ ด้านการรับรู้ประสาทสัมผัสต่างๆก็กลับมาทำงานได้อย่างปกติหลังจากได้รับการทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์



Source: Images from Pagani, M., Di Lorenzo, G., Verardo, A. R., Nicolais, G., Monaco, L., Lauretti, G., & Fernandez, I. (2012). Neurobiology of EMDR—EEG imaging of treatment efficacy. PloS One, 7(9), e45753. doi:10.1371/journal.pone.0045753


EMDR Psychotherapy ถือได้ว่าเป็นเทคนิคด้านจิตวิทยาที่ผู้เชี่ยวชาญใช้ทำการบำบัดรักษาให้กับผู้ที่ต้องการที่จะหายจากความทุกข์ทรมานด้านจิตใจและความเจ็บป่วยด้านร่างกายที่เรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้ จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ ได้รับการยอมรับในวงการทางการแพทย์และสมาคมจิตวิทยาสากลระดับโลก

หากมีข้อสงสัยหรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หรือเข้าดูเพิ่มเติมที่ blog บทความของ Better Mind

 

อ้างอิง

https://www.emdria.org/public-resources/emdr-therapy-and-dissociation/#:~:text=Dissociation%20can%20occur%20as%20a,magazine%20issue%20(Fall%202021).

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12455015/#:~:text=Abstract,posttraumatic%20stress%20disorder%20(PTSD).

https://connect.springerpub.com/content/book/978-0-8261-9422-0/front-matter/fmatter6

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้