6 ลักษณะความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรา

626 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 ลักษณะความสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของเรา


ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner


สัมพันธภาพในชีวิตเรามีหลากหลายรูปแบบ และมีทั้งความความสัมพันธ์ที่ดีและไม่ดี ความสัมพันธ์ที่ดีจะส่งเสริมให้เรามีความสุข และให้การสนับสนุนด้านจิตใจ ในทางกลับกันหากมีสัมพันธภาพที่ไม่ดีย่อมส่งผลเสียต่อพลังงานด้านจิตใจของเราอย่างแน่นอน

 

ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบคนรู้จัก เพื่อน ครอบครัว คนรัก คนคบหาดูใจ คนที่มีสัมพันธลึกซึ้งเชิงชู้สาว เพื่อนร่วมงาน หรือบังเอิญรู้จักกันในสถานการณ์ต่างๆ ทุกสัมพันธภาพล้วนเข้ามาในชีวิตเราในแบบแตกต่างกัน  ความคาดหวังไม่เหมือนกัน  ความท้าทายในการรักษาสัมพันธภาพ  การเกื้อกูลกัน และการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราควรเรียนรู้และทำความเข้าใจในลักษณะความสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ  เพื่อให้สามารถรับมือกับมันได้หากเกิดปัญหาอุปสรรคในสัมพันธภาพเหล่านั้น ขอยก 6 ลักษณะความสัมพันธ์ที่เด่นมากล่าวในที่นี้

สัมพันธภาพแบบที่ 1 สัมพันธภาพแบบเพื่อน (Platonic Relationships หรือ Friendships)

เป็นความสัมพันธ์เชิงมิตรภาพ มีความใกล้ชิด ผูกพัน ไม่เกี่ยวกับเรื่องสัมพันธภาพทางเพศ ความรักแบบชู้สาว เป็นความสัมพันธ์เชิงให้เกียรติ เกรงใจ  สนินสนม อบอุ่นเป็นมิตร ช่วยเหลือเกื้อกูล จริงใจ ยอมรับเข้าใจ ความสัมพันธ์แบบนี้อาจเกิดในเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนร่วมงาน เพื่อนในกิจกรรมที่ทำร่วมกัน เป็นกลุ่มคนที่สนับสนุนด้านจิตใจทำให้ด้านจิตใจได้รับการสนุบสนุน  งานวิจัยเผยให้เห็นว่าสัมพันธภาพแบบ Platonic relationships ช่วยให้คนมีความสุข ช่วยลดความเสี่ยงด้านความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า เป็นการเพิ่มพลังด้านภูมิต้านให้ร่างกายได้เป็นอย่างดี

สัมพันธภาพแบบที่ 2 สัมพันธภาพแบบคู่รัก (Romantic Relationships)

เป็นความสัมพันธ์ที่โยงใยเกี่ยวข้องกับความรู้สึกรักใคร่ หลงใหล มีสัมพันธภาพร่วมกันทั้งด้านจิตใจและร่างกายแบบลึกซึ้ง มีคำมั่นสัญญาและมีความผูกพันธ์ในเชิงลึก ในช่วงแรกของสัมพันธภาพแบบ Romantic relationships สมองจะหลั่ง ฮอร์โมน โดพามีน ออกซิโทซิน และ เซราโทนิน ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นและมีความสุข แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นความรู้สึกตื่นเต้นดีใจนี้จะค่อยๆ ลดระดับลง และพัฒนากลายเป็นความผูกพันธ์ทางอารมณ์ความรู้สึกและสายใยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกันมากขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาด้านความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้นอื่นๆ เช่น ความไว้ใจ เชื่อใจ คำมั่นสัญญา และเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

สัมพันธภาพแบบที่ 3 ความสัมพันธ์แบบพึ่งพิง (Codependent Relationships)

จัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบไม่สมดุล  เป็นภาวะที่อีกฝ่ายคอยพึ่งพาอีกฝ่ายตลอดเวลาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ  ในที่สุดจะมีแนวโน้วให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นพิษและไม่แข็งแรง อย่างไรก็ตามหากในความสัมพันธ์ที่ผลัดกันเป็นผู้ให้และผู้รับก็จะสามารถช่วยรักษาความสมดุลย์ของสัมพันธภาพได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถรักษาสัมพันธภาพแบบพึ่งพิงนี้ได้ทุกคน

สัมพันธภาพแบบที่ 4 ความสัมพันธ์แบบไม่ผูกมัด (Casual Relationships)

มักเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ที่ยังไม่ได้คาดหวังอนาคตแบบจริงจัง เช่น การออกเดท ความสัมพันธ์แบบเป็นคู่นอนชั่วคราว หรือเซ็กส์โฟน ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ส่วนใหญ่มักพบในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นความพอใจด้านการสนองต่อความต้องการทางเพศที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน

สัมพันธภาพแบบที่ 5 ความสัมพันธ์แบบเปิด (Open Relationships)

เป็นความสัมพันธ์ที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งโดยที่ทั้งคู่ยินยอมให้คู่ของตน ไปมีเซ็กส์กับคนอื่นด้วยข้อจำกัดหรือเงื่อนไขบางอย่าง ความสัมพันธ์แบบเปิดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานภาพแม้กระทั่งแต่งงานแล้ว ความนิยมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและมักเป็นทางแถบประเทศแคนาดาและอังกฤษ

สัมพันธภาพแบบที่ 6 ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ (Toxic Relationships)

ไม่ว่าการมีปฎิสัมพันธ์กับใครก็ตาม เพื่อนฝูง เพื่อร่วมงาน ครอบครัว หรือคนรักที่ทำให้คุณรู้สึกทางอารมณ์ ร่างกาย จิตใจและสถาวะด้านสุขภาพจิตที่ถูกคุกคาม ถูกเหยียดหยาม รังแก ทำให้อับอาย ทำให้เข้าใจผิด ทำให้เสียหน้า ขายหน้า หรือไม่สนับสนุนด้านจิตใจ ไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตามจัดเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษได้

สัญญาดังต่อไปนี้อาจช่วยให้เราตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ เช่น

  • ไม่ให้การสนับสนุน
  • กล่าวโทษเมื่อเกิดปัญห
  • ทำตัวเป็นคู่แข่ง
  • ควบคุม ครอบงำด้านจิตใจ
  • ไม่ให้เกียรติ
  • ไม่จริงใจ ไม่ซื่อสัตย์
  • ทำให้ระแวงสงสัย เข้าใจผิด
  • อิจฉาริษยา
  • ต่อต้าน เอาคืนเมื่อมีโอกาส
  • ไม่สื่อสาร
  • ทำให้เครียดตลอดเวลา


ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ มักสร้างให้เกิดความเครียดและส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกาย หลายกรณีการมีสัมพันธภาพแบบ Toxic Relationships มันส่งผลต่อการทำร้ายจิตใจและอาจถูกทารุณกรรมร่างกายด้วย

การสร้างกำแพงเพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามควรรีบไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์หากไม่สามารถจัดการปัญหาได้ด้วยตัวเอง ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษควรรีบแก้ไขจัดการและไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน


 

สัมพันธภาพที่ดีมักส่งเสริมด้านจิตใจให้มีความสุขและเข้มแข็งเติบโต ดังนั้นควรเลือกเก็บแต่สัมพันธภาพที่ทำให้จิตใจมีความสุขและแข็งแรง มีความซื่อสัตย์ จริงใจ ให้เกียรติกัน เปิดเผย รักใคร่สามัคคี และมีการสื่อสารที่ดีต่อกัน

 

อ้างอิง

https://www.verywellmind.com/6-types-of-relationships-and-their-effect-on-your-life-5209431

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้