1051 จำนวนผู้เข้าชม |
จิตบำบัด EMDR Psychotherapy
กับการเยียวยาปมบาดแผลทางใจในความสัมพันธ์
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
ปมบาดแผลทางใจที่เกิดขึ้นในชีวิตคนเรานั้นมีมากมายและส่วนใหญ่มักมาจากการกระทำของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าบางส่วนเกิดจากภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดการสูญเสีย และเป็นปมสะเทือนใจในเวลาต่อมาได้ แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับปมบาดแผลทางใจที่เกิดจากความสัมพันธ์หรือเกิดจากการกระทำระหว่างมนุษย์ด้วยกัน
ปมบาดแผลทางใจมักเกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วยกัน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่น การถูกทารุณกรรม การถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูกทำร้ายด้านจิตใจด้วยคำพูดด่าทอ ดูถูก เสียดสี การถูกล่วงละเมิดทางเพศ การถูกกลั่นแกล้ง การถูกรังแกหักหลังจากคนใกล้ชิด ถูกทรยศจากเพื่อนสนิท ถูกทำร้ายจากคนที่ไว้ใจ หรือถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากคนในครอบครัว เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อชีวิตจิตใจทำให้สูญเสียความเป็นตัวตนในตัวเอง อาจทำให้เกิดความสงสัยในตัวเอง หรือทำให้รับรู้คุณค่าในตัวเองลดลง ปมบาดแผลทางใจลักษณะนี้มีสาเหตุมาจากการกระทำที่เกิดจากผู้อื่น (Interpersonal trauma) มักเกิดขึ้นโดยการกระทำของคนที่มีความเกี่ยวข้องกันเช่น คนในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรงต่อกัน หรือ การทำร้ายร่างกายและจิตใจกันระหว่างสามี-ภรรยา คู่ชีวิต พ่อแม่ทำร้ายลูก พี่น้อง ญาติมิตร หรือ จากคนใกล้ชิดที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน
รวมไปถึงการถูกทำร้ายร่างกายจิตใจในวัยเด็กหรือถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง ถูกด้อยค่าไม่ให้ความสนใจใส่ใจ จนทำให้เกิดเป็นปมด้อย หรือปมบาดแผลทางใจที่ซับซ้อนได้ รวมไปถึงการประสบภัยหรือการใช้ชีวิตที่เติบโตมาแบบไม่สมบรูณ์มีประสบการณ์ชีวิตที่เป็นลบ
นอกจากนี้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ประสบการณ์ด้านลบจากที่ทำงานหรือเพื่อนร่วมงานที่ทำร้ายจิตใจกันอยู่ตลอดเวลาก็มีผลทำให้เกิดinterpersonal trauma ได้เช่นกัน
Trauma หรือปมบาดแผลทางใจสามารถสร้างให้เกิดความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์ทางใจที่ส่งผลต่อความเจ็บป่วยที่เรื้อรังด้านร่างกายและจิตใจ การทำงานของสมองและความทรงจำไม่ถูกเก็บให้ดี สมองถูกบล็อคไม่ให้ไหลเวียนด้านความคิดและความทรงจำทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่อร่างกาย
ดังนั้นในหลายกรณีจึงต้องอาศัยเทคนิคจิตวิทยาบางอย่างเข้ามาช่วยทำให้การไหลเวียนของสมองและความทรงจำนั้นให้ทำงานได้ดีขึ้น การบำบัดใจด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR หรือ Brainspotting Therapy ได้รับการพิสูจน์การสมาคมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาทั่วโลกแล้วว่าได้ผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษาปมบาดแผลทางใจที่มีผลประจักษ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ช่วยจัดการ Trauma, PTSD ได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันสั้น
EMDR Therapy คืออะไรช่วยรักษาปมบาดแผลทางใจได้อย่างไร?
อย่างไรก็ตามแต่นับเป็นความโชคดีที่ในปัจจุบันมีการค้นพบจิตบำบัดที่เรียกว่า EMDR ( Eye Movement Desensitization and Reprocessing) และถือว่าที่เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับในเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีผลพิสูจน์ทางงานวิจัยและได้รับการยอมรับจากสมาคมนักจิตวิทยาและจิตแพทย์สากลว่าได้ผลที่มีประสิทธิภาพในการรักษา Trauma หรือ ปมบาดแผลทางใจได้อย่างเห็นผลชัดเจน รวมทั้งยังสามารถช่วยเยียวยาบาดแผลทางใจให้กับคนทุกคนได้ในวงกว้างในระยะเวลาอันสั้น
ปมบาดแผลทางใจหรือ Trauma มักสร้างให้คนเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตใจและเกิดเป็นภาวะ PTSD โรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในเวลาต่อมาอาจทำให้เกิดเป็นอาการซึมเศร้า ไบโพล่า mood swing อารมณ์แปรปรวนรุนแรง เป็นโรควิตกกังวล โรคแพนิค มีความเครียดรุนแรง และปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆที่รุนแรงตามมาหากไม่ได้รับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้
สภาวะทางจิตที่รุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานด้านสมองที่เชื่อมต่อกับร่างกายอาจทำให้เกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อตามร่างกายในที่ต่างๆ หรือาจมีความเจ็บป่วยร่างกายเรื้อรัง รวมทั้งปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเป็นภาวะของโรค Schizophrenia หรือปัญหาทางสุขภาพร่างกายอื่นๆ ตามมาได้
จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) มีทำงานอย่างไร?
การใช้จิตบำบัด EMDR เข้าจัดการกับปมประเด็นบาดแผลทางใจที่คอยทำร้ายเราจากผลกระทบของเหตุการณ์หรือประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีต ความทรงจำด้านลบที่สามารถถูกกระตุ้นให้มาคอยรบกวนจิตใจได้อยู่ตลอดเวลาทำให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถใช้เทคนิคจิตบำบัด EMDR ในการเข้าถึงการทำงานด้านระบบสมอง ความคิดและความทรงจำโดยไม่ต้องแยกการรักษาด้านร่างกายออกจากผลกระทบทางจิตใจที่มาจากความคิดและความประสบการณ์ความทรงจำด้านลบในระบบประสาทและสมอง
เพราะมนุษย์เรามีระบบการทำงานของสมองและร่างกายที่เชื่อมต่อกับระบบความคิดและจิตใจ บางครั้งเราอาจเคยได้ยินคำพูดที่บอกว่า "ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว" นั้นแสดงให้เห็นถึงการตอบสนองของร่างกายที่มีผลมาจากจิตใจ
จะสังเกตได้ว่าหากเรามีอารมณ์โกรธ โมโห ร่ายกายมักจะเข้าสู่โหมดการโจมตี จึงทำให้ร่างกายตอบสนองโดยอัตโนมัติต่อการทำงานในระบบหัวใจมีเลือดเข้ามาสูบฉีดเพิ่มขึ้น ความดังโลหิตสูง หากเป็นบ่อยๆส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจในเวลาต่อมา นอกจากนี้แล้วการตอบสนองทางร่างกายยังทำให้กล้ามเนื้อเกร็งพร้อมจู่โจม หรือในบางคนอาจส่งผลทำให้ปวดหัว หรือเหนื่อยง่าย ดังนั้นเมื่อเรารู้สึกไม่สบายด้านจิตใจเมื่อไรมักจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายเวลาต่อมา เราก็จะรู้สึกเจ็บป่วยด้านร่างกายด้วยเสมอหากปล่อยความไม่สบายใจทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาเยียวยา
การทำงานของจิตบำบัด EMDR จะเกี่ยวข้องกับการกลับไปนึกถึงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้นอีกในสมองเพื่อที่จะได้ใช้เทคนิคจิตบำบัด EMDR เข้าจัดการโดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR ให้การช่วยเหลือทุกขั้นตอนจนสมองสามารถจัดการกับความทรงจำลบนั้นได้โดยเมื่อไรที่นึกถึงหรือเจอตัวกระตุ้นอีก ความทรงจำอันเลวร้ายนั้นก็ไม่สามารถกลับมาทำร้ายหรือรบกวนเราได้อีก
โดยปกติการทำบำบัดด้วยเทคนิค EMDR ผู้เชี่ยวชาญจะคอยช่วยสนับสนุนให้กระบวนการดำเนินไปได้อย่างดีกับการทำงานด้านสมองและความทรงจำที่อยู่ข้างในสมองของผู้รับบริการจะรู้สึกถึงการไหลเวียนของความทรงจำของเหตุการณ์อันเลวร้ายได้หลุดออกไปด้วยการกระตุ้นของระบบประสาทการรับรู้ของสมอง 2 ข้างโดยผ่านการกระตุ้นด้วยเสียง การเคลื่อนไหวของอวัยวะโดยเฉพาะดวงตา ทำให้เกิดการกระตุ้นระบบการทำงานของสมองส่วนความทรงจำและเกิดการปรับตัวและปรับรับกับประสาทสัมผัสทำให้ไม่เกิดเป็นความคิดความทรงจำที่ติดขัดและเกิดปมที่ติดค้างเวลานึกถึงเหตุการณ์ร้ายนั้นอีก
เทคนิคจิตบำบัด EMDR ได้ช่วยคนนับล้านให้หลุดพ้นจากความทรงจำอันเลวร้ายในอดีตที่คอยฉุดรั้งไม่ให้ชีวิตได้ก้าวไปต่อ
EMDR Therapy ช่วยให้คนจำนวนมากสามารถหลุดพ้นความทุกข์จากปมบาดแผลทางใจที่ติดขัดอยู่ในความคิดมานานนับปีจนเกิดเป็นความผิดปกติด้านร่างกาย ด้านความคิด ทัศนคติและส่งผลต่อการมีปฎิสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ และสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่น
EMDR Therapy นับว่าเป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่มีประสิทธิภาพในการเยียวยาบาดแผลทางใจและสามารถช่วยให้เรากลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขโดยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ทำให้สมองด้านความทรงจำและความคิดของคนนั้นสามารถกลับมาทำงานตามปกติและยังสามารถทำให้ผู้รับบำบัดสามารถกลับมาควบคุมชีวิตและสามารถดำเนินวางแผนชีวิตในอนาคตของตัวเองได้หากทำบำบัดอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดกระบวนการ
วิธีการรักษาแบบจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) ควรมาทำบำบัดกี่ครั้งจึงจะเห็นผล?
การรักษาด้วยเทคนิคจิตบำบัด EMDR หากเริ่มทำแล้วกระบวนรักษาแล้ว การทำงานของระบบประสาทและสมองจะทำงานต่อเนื่องเพื่อฟื้นฟูตัวเองโดยอาศัยการให้แนวทางคำชี้แนะเป็นขั้นตอนจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการอบรมฝึกฝนด้านจิตบำบัด EMDR มาเป็นอย่างดี
ดังนั้นหากเริ่มต้นรักษาแล้วควรทำอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ครั้ง บางท่านมักจะเห็นผลเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในช่วงระยะครั้งที่ 5-6 ในความถี่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งในกรณีที่ความรุนแรงของปัญหาทางจิตใจไม่ซับซ้อนมาก สามารถช่วยลดอาการทางสุขภาพจิตใจโดยทั่วไปได้เช่น ความเครียด วิตกกังวล คิดวนเวียน นอนไม่หลับ แพนิค ย้ำคิดย้ำทำ ให้ดีขึ้นได้
ส่วนในปัญหาทางจิตเวชที่ซับซ้อนภาวะซึมเศร้า ไบโพล่า moon swing PTSD, บาดแผลทางใจในวัยเด็ก หรือ schizophrenia อาจต้องใช้เวลาตั้งแต่ 6-12 ครั้งขึ้นไป ในความถี่สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความซับซ้อนในแต่ละคน
จิตบำบัด EMDR นับว่าเป็นการปฏิวัติวงการรักษาทางจิตวิทยา ที่นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ทั่วโลกยอมรับและให้ความสนใจในการพัฒนาต่อยอดเทคนิคการรักษานี้ เนื่องจาก EMDR Therapy ถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการทางจิตใจที่ส่งผลเชื่อมโยงกับการทำงานด้านร่างกาย
EMDR Therapy จัดว่าเป็น brain and body based หรือ somatic therapy ที่จะเข้าทำงานตรงกับระบบการทำงานของสมองที่ควบคุมอารมณ์ ความคิด ความทรงจำ และสมองส่วนที่เชื่อมโยงกับการทำงานของร่างกาย โดยการรักษาด้วยจิตบำบัดEMDR ไม่ต้องมีการใช้ยาเคมีหรือเครื่องมือแปลกปลอมใดใส่เข้าไปในร่างกาย
จึงนับว่าEMDR Therapy เป็นเทคนิคจิตบำบัดที่มีความปลอดภัยสูงและยังเป็นวิธีการเยียวยาบาดแผลทางใจที่สามารถจัดการกับต้นตอของปัญหาทำให้ป้องกันการเกิดซ้ำและกลับมาเป็นความผิดปกติด้านสุขภาพจิตหรือภาวะทางจิตที่ไม่ปกติซ้ำอีก
รวมทั้ง EMDR Therapy ไดรับการยอมรับว่าเป็นการรักษาที่เห็นผลชัดเจนสุดในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุและส่งผลที่ดีต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงด้านความคิดความทรงจำและพฤติกรรมในการมีชีวิตด้านบวกในระยะยาวอีกด้วย
อ้างอิง
https://www.americadailypost.com/emdr-and-interpersonal-trauma-healing-relational-wounds/
https://www.betterhelp.com/advice/anger/what-does-angry-body-language-look-like/