973 จำนวนผู้เข้าชม |
Brainspotting Therapy
เครื่องมือรักษาปมบาดแผลทางใจ
ดีอย่างไร?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy
หลายท่านอาจเคยได้ยินการบำบัดบาดแผลทางใจโดยใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่าง Brainspotting therapy
จิตแพทย์หลายท่านมักพูดถึงบ่อยขึ้นในปัจจุบันรวมทั้งได้แนะนำให้คนไข้มาบำบัดด้วย Brainspotting เพื่อช่วยรักษาอาการปมบาดแผลทางใจ (Trauma)
แล้ว Brainspotting Therapy กับการรักษาTruamaดีจริง หรือ หลอก?
การเลือกวิธีเทคนิคในการบำบัดด้านจิตใจนั้น สำคัญพอๆ กับการเลือกผู้เชี่ยวชาญที่จะมาทำบำบัดให้เรา การบำบัดด้านจิตใจมีเทคนิคหลายแบบมากมาย แต่อันไหนละที่จะเหมาะสมกับเราที่สุด
หากเรากำลังเป็นทุกข์ และทุกข์ทรมานจากโรควิตกกังวล ตื่นตระหนก (panic attack) โรคซึมเศร้า หวาดกลัว (phobia) ปมบาดแผลทางใจ การบำบัดด้วย Brainspotting therapy อาจตอบโจทย์และเป็นการกระตุ้นการรักษาที่ตรงจุด
Brainspotting Therapy อธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้
Brainspotting Therapy เข้าจัดการกับการทำงานที่สมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เก็บความทรงจำ รวมถึงความทรงจำอันเลวร้ายที่ถูกแช่แข็งอยู่แบบนั้น Brainspotting Therapy สามารถช่วยด้านอารมณ์แปรปรวน และช่วยเรื่องการฟื้นฟูจิตใจจากปมบาดแผลความทรงจำในอดีต ได้ด้วยการทำงานเพื่อกระตุ้นสมองส่วนกลาง (mid brain)
การกระตุ้นโดยพื้นฐานอาศัยจุดตำแหน่งของสายตา เพื่อทำการโฟกัสและให้ผู้รับการบำบัดทำงานกับความทรงจำที่ถูกแช่แข็ง ในขณะที่ได้รับการกระตุ้นสมองทั้งสองด้านด้วยดนตรี Bilateral music กระบวนการทำงานที่เน้นไปที่ความทรงจำด้านลบนี้เรียกว่าเป็นการ “activate” ให้ความทรงจำที่ถูกแช่แข็งอยู่เกิดการเคลื่อนไหว
Brainspotting Therapy ทำงานอย่างไร?
Brainspotting therapy ใช้ทิศทางของสายตาเป็นตัวบอกตำแหน่งความความทรงจำที่เจ็บปวด ความทรงจำอันเลวร้าย ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ที่สมองส่วนกลาง โดยอยู่ในลักษณะแช่แข็ง (Freeze mode)
เมื่อเข้าบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะคอยแนะนำให้ทำวิธ๊เคลื่อนไหวสายตาโดยโฟกัสที่จุดที่เชื่อมต่อด้านอารมณ์และประสบการณ์ความทรงจำที่เคยเกิดขึ้น และเชื่อมโยงไปถึงปมบาดแผลที่ถูกเก็บซ่อนไว้ที่ยังไม่ได้รับการเยียวยา
หลังจากถูกกระตุ้นเราจะสามารถรับรู้ถึงความไม่สบาย อึดอัดในช่วงแรก และ ต้องได้รับการสอนฝึกเทคนิคด้าน mindfullness เพื่อรับมือกับกระบวนการด้านความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้นตามมา
อย่างไรก็ตามความทรงจำอันไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดขึ้นในระยะเริ่มต้นบำบัด และจะมีระยะเพียงแค่ชั่วคราว ดังนั้นการฝึกเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่สบายกายใจนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง
หากการทำบำบัดด้วยจิตบำบัด Brainspotting แล้วไม่เกิดการกระตุ้นความทรงจำหรือรู้สึกรับรู้ทางร่างกายที่ไม่พึงประสงค์ใดๆเลยอาจจะเป็นสัญญาณว่ามาผิดทาง หรือไม่เข้าใจกระบวนการ
Brainspotting Therapy ช่วยเราได้อย่างไร?
จากรายงานสถิติผู้ป่วยที่เข้ารับบำบัดด้วยจิตบำบัด Brainspotting พบว่าส่วนใหญ่มีแนวโน้มภาวะด้านอารมณ์เป็นบวกหลังทำบำบัด ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยในการทำบำบัดด้วย Brainspotting ให้ได้ประสิทธิภาพมักขึ้นอยู่กับคุณภาพและประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของนักบำบัดด้วย
การบำบัดที่จะประสบผลสำเร็จจะช่วยรักษาบาดแผลทางใจจากประสบการณ์อันเลวร้าย ส่งผลดีต่อความสามารถด้านการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานด้านความคิดสร้างสรรค์ งานทางศิลปะ หรือ การฝึกฝนด้านการแข่งขันกีฬา
หากรู้สึกว่า Brainspotting Therapy น่าจะตอบโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพจิตของเราสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของ Better Mind ได้ที่ Line ID: bettermind.th
อ้างอิง
https://www.scarymommy.com/lifestyle/how-to-use-red-light-therapy-at-home