พฤติกรรมกลั่นแกล้งในสถานศึกษา และคำแนะนำสำหรับคุณครู

1027 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พฤติกรรมกลั่นแกล้งในสถานศึกษา และคำแนะนำสำหรับคุณครู

 

พฤติกรรมกลั่นแกล้งในสถานศึกษา

และคำแนะนำสำหรับคุณครู

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy

 

ในฐานะครูอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากใจหากต้องจัดการกับสถานการณ์การถูกกลั่นแกล้ง (bully)

ครูควรทำอย่างไรหากเด็กมาขอความช่วยเหลือ?

ครูควรทำอย่างไรหากเด็กเป็นพยานเหตุการณ์กลั่นแกล้ง และต้องการความช่วยเหลือ?

หากบางครั้งเด็กไม่ได้มาขอความช่วยเหลือแต่ครูสังเกตเห็นพฤติกรรมของเด็กที่เปลี่ยนไปจากเดิมควรช่วยเหลืออย่างไร?

 



ผลกระทบจากการถูก Bully ในสถานศึกษาส่งผลอย่างไร?

เด็กนักเรียนใช้ชีวิตเป็นส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน  เด็กที่ถูกกลั่นแกล้ง มักได้รับผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อการเรียน สุขภาพจิต สุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เด็กอาจไม่บอกพ่อแม่ผู้ปกครองว่าตัวเขาต้องเผชิญกับอะไรในโรงเรียน มีแต่ครูเท่านั้นที่สามารถให้การช่วยเหลือเขาได้

ครูควรทำอย่างไร?
 
1. พลักดังให้โรงเรียนต้องบังคับใช้กฎหมาย

โดยทั่วไปทางกฏหมายโรงเรียนทุกโรงเรียนต้องมีกฎระเบียบวินัยที่บังคับใช้อยู่ในโรงเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และกฎระเบียนของการป้องกันการละเมิดสิทธิหรือการกลั่นแกล้งผู้อื่น และกฎระเบียบนี้ควรถูกบังคับใช้ร่วมกัน และบังคับให้คุณครูที่ปฎิบัติหน้าที่ทุกท่านทราบโดยทั่วกัน

ในต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษและ Wales จะมีกฎหมายต่อต้านการทำร้ายผู้อื่น นั่นหมายถึงบุคคลากรทุกคนต้องมีบทบาทในการต่อต้านพฤติกรรมที่ก่ออาชญากรรม พฤติกรรมรุนแรง และการปกป้องไม่ให้มีใครตกเป็นเหยื่อหรือถูกคุกคามในโรงเรียน

2. สังเกตสัญญาณเตือน

หลายครั้งเด็กที่เป็นเหยื่อจากการถูกกลั่นแกล้งมักจะไม่พูดหรือบอกใคร แต่คุณครูควรสังเกตพฤติกรรมความเปลี่ยนแปลงดังนี้
  • มีอาการบาดเจ็บที่ไม่ยอมบอกสาเหตุ
  • ข้าวของเครื่องใช้หาย หรือพังเสียหาย
  • หยุดเรียนบ่อย หรือแกล้งลาป่วย
  • ผลการเรียนตก
  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • มาโรงเรียนสาย และมักกลับก่อน
  • ไม่กล้าเถียงหรือขัดแย้ง
  • นอนไม่พอ
  • ขาดความมั่นใจ
  • รู้สึกกังวลประหม่า
  • ทัศนคติเปลี่ยนไป
  • ดูขาดความสนใจ หรือแรงบันดาลใจในชีวิต
  • แยกตัวออกจากสังคม เก็บตัวผิดปกติ
  • เพื่อนน้อย

คุณครูควรช่วยเด็กให้เข้าใจว่าพฤติกรรม นิสัยที่ไม่ดีของคนอื่นไม่ใช่สิ่งสะท้อนตัวตนของเด็กที่ถูกกระทำ คนที่ทำไม่ดีกับเราไม่ใช่ความผิดของเรา เพราะเด็กมักคิดว่าการที่ถูกเพื่อนแกล้งเป็นเพราะตัวเขาเองที่อาจทำอะไรไม่ดีจนเพื่อนทนไม่ได้และกลั่นแกล้ง


3. แยกแยะให้ออกระหว่างการล้อเล่น กับการถูกกลั่นแกล้ง

คุณครูควรสังเกตว่าความสัมพันธ์ของเด็กๆ ว่าสัมพันธภาพเป็นอย่างไร เช่น เฉยชา เย็นชา ไม่สนิท มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงหรือไม่ เด็กกำลังถูกกลั่นแกล้งหรือไม่

หากไม่มั่นใจควรเข้าพูดคุยเป็นการส่วนตัวทั้งสองฝ่ายด้วยความรักและความเห็นใจเป็นห่วงเป็นใยเพื่อให้รู้สาเหตุแท้จริง เพื่อรับรู้ความคิดและความรู้สึกของเด็กที่มี พูดคุยและรับฟัง

4. เตรียมขั้นตอนการช่วยเหลือ

หากเด็กถูกกลั่นแกล้งจริง เด็กมักต้องเผชิญกับภาวะความโดดเดี่ยวและความทุกข์ใจโดยลำพังมาเป็นเวลานาน ควรแยกออกมาและให้การช่วยเหลือ พูดคุยด้วยความรักและความเข้าใจ รับฟังความรู้สึกที่เด็กอยากบอก แต่หากเด็กยังไม่พร้อมจะพูด คุณครูไม่ควรคาดคั้น

 


คำแนะนำสำหรับคุณครู

1.   คุณครูควรรายงานพฤติกรรมการกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้น

ครูควรส่งเรื่องรายงานให้กับหัวหน้าระดับ หรือผู้บริหารรับทราบ  โรงเรียนควรมีความชัดเจนและมีมาตรการให้ความช่วยเหลือที่เด็กสามารถเข้าถึงได้

เด็กควรรับรู้สิทธิของตัวเอง ว่าเมื่อมีพฤติกรรมการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นควรไปหาใคร ไปบอกหรือพูดคุยกับใครที่ทำให้เด็กรู้สึกมั่นใจว่าจะสามารถช่วยเหลือเขาได้ และบุคคลากรของโรงเรียนทุกคนควรมีการฝึกฝนปฏิบัติในเรื่องการรับมือกับพฤติกรรมการกลั่นแกล้งในหลากหลายรูปแบบอย่างมืออาชีพและสามารถช่วยเหลือเหยื่อในสถานการณ์ที่หลากหลายได้

2.   โรงเรียนควรให้นิยาม คำจำกัดความ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกลั่นแกล้ง

พฤติกรรมการกลั่นแกล้งมักมาในหลากหลายรูปแบบดังนั้นโรงเรียนจึงต้องสร้างความเข้าใจให้กับเด็กว่าแบบไหนถึงเข้าข่ายที่เรียกว่าถูกกลั่นแกล้ง เพื่อให้เด็กได้มีความเข้าใจถึงพฤติกรรมว่าอันไหนคือพฤติกรรมที่ไม่ควรยอมและยอมรับไม่ได้ เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจที่จะแจ้งเบาะแสและรายงานการถูกกลั่นแกล้งได้อย่างมั่นใจ และทางโรงเรียนสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงและทำงานช่วยเหลือเหยื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.   ปกป้องสิทธิของผู้รายงานพฤติกรรมกลั่นแกล้ง

ควรรับฟังว่าเด็กที่มาแจ้ง หรือตกเป็นเหยื่อต้องการให้ช่วยเหลืออย่างไร บางครั้งเด็กกลัวการบอกผู้ใหญ่เพราะไม่มั่นใจว่าผลที่ตามมาจะทำให้สถานการณ์แย่ลงหรือไม่ หรือจะถูกกลั่นแกล้งหนักขึ้นหรือไม่จึงเลือกที่จะเงียบและไม่รายงาน

ดังนั้นคุณครูควรให้ความสำคัญกับการรับฟังอย่างเข้าใจและเปิดพื้นที่ในการพูดคุยสื่อสารความต้องการของเด็กอย่างแท้จริงเพื่อช่วยหาวิธีการแก้ไข

4.   มีการจัดการกับปัญหาการกลั่นแกล้งที่ชัดเจน

นโยบายต่อต้านการกลั่นแกล้ง (anti-bullying) ของโรงเรียนจะเป็นการช่วยสนับสนุนการจัดการพฤติกรรมการกลั่นแกล้งได้แต่ต้องมันใจว่าพฤติกรรมนี้จะต้องหมดไปจริงๆ และควรสนับสนุนให้ทุกคนทำงานเพื่อต่อต้านพฤติกรรมกลั่นแกล้งไปในทิศทางเดียวกันในสังคมโรงเรียน

5.   มีการสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งอาจต้องใช้ระยะเวลา อย่างไรก็ตามควรให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนในการรับรู้และสนับสนุนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและประสานงานร่วมมือกับการโรงเรียนในการทำพฤติกรรมกลั่นแกล้งให้หมดไปจากโรงเรียน

6.   การจัดบริการให้การปรึกษาทางจิตวิทยา (Counseling service)

หากเด็กเผชิญกับการถูกกลั่นแกล้ง โรงเรียนควรอย่างยิ่งที่ต้องจัดบริการปรึกษาทางจิตวิทยา เพื่อให้เด็กมีที่พึ่ง รู้สึกมีพื้นที่ปลอดภัยและมีความเชื่อใจในการเปิดใจพูดคุยปัญหาและความรู้สึกต่างๆ โดยปราศจากความหวาดกลัวหรือความกังวลใดๆ

หากปัญหาพฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนเป็นเรื่องยากเกินกว่าคุณครูและผู้บริหารโรงเรียนจะจัดการได้ ควรปรึกษานักจิตวิทยามืออาชีพเพื่อช่วยกันในการจัดการกับปัญหาให้เด็ดขาด

 



 

อ้างอิง

https://www.counselling-directory.org.uk/bullying-advice-teachers.html#:~:text=Be%20clear%20on%20your%20response%20to%20bullying&text=You%20need%20to%20challenge%20the,is%20on%20the%20same%20page.

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้