573 จำนวนผู้เข้าชม |
The Psychology of Manipulation
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy
The Psychology of Manipulation
จิตวิทยาของการถูกครอบงำจิตใจ
อะไรที่ควรรู้ และควรแก้ไขอย่างไร
ก่อนจะสาย?
Psychological manipulation เป็นวิธีการโน้มน้าวจิตใจที่มีเป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับรู้ของอีกฝ่าย โดยใช้เทคนิควิธีหลายรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการการควบคุมพฤติกรรม และมีปฎิสัมพันธ์ เพื่อเข้าควบคุมความคิด จิตใจ และต้องการมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายการโน้มน้าวจิตใจอาจทำให้อีกฝ่ายเปลี่ยนพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมด้วยวิธีการต่างๆ
Psychological manipulation หรือวิธีการครอบงำจิตใจมีหลายแบบดังนี้
1. Gaslighting
เป็นการกระทำที่ทำให้เหยื่อเกิดความสงสัย ไม่แน่ใจ ในสถานการณ์จริง และสับสนกับความทรงจำหรือการรับรู้ของตัวเอง โดยผู้กระทำจะปฎิเสธสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงและ อ้างข้อมูลที่ไม่มีจริง
วิธีการรับมือ: ให้ออกจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยทันที และเชื่อในสัญชาตญาณความคิดของตัวเอง สงบนิ่งและให้เวลาตัวเองในการคิดวิเคราะห์
2. ขึ้นเสียงดังใส่
การทำเสียงดังใส่ไม่ได้หมายความถึงความแข็งแรงกว่าเสมอไป แต่การทำเสียงดังเป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัวกับความก้าวร้าวและ ยอมให้ทุกอย่างที่ผู้กระทำต้องการ
วิธีการรับมือ: วางเฉย และ ยืนยันสิ่งที่ตัวเองต้องการใช้ขัดเจน
3. กดดันให้เราเอ่ยปากก่อน
ถ้าจำเป็นต้องเปิดปากพูดก่อนพยายามพูดให้น้อยที่สุด เพราะการพูดก่อนจะทำให้อีกฝ่ายประเมินจุดอ่อนจุดแข็งเราได้
วิธีการรับมือ: อย่าพูดมาก อย่าแบ่งปันข้อมูล ควรถามกลับเพื่อเข้าใจและประเมินการรับรู้ของฝ่ายตรงข้าม
4. ใช้ตลกร้าย
ผู้กระทำมักใช้การเสียดสีแบบตลกขบขำขัน ในการวิพากวิจารณ์ และทำให้ผู้อื่นดูด้อยค่า
วิธีการรับมือ: ทำเป็นไม่สนใจ ยิ้มให้อย่างมั่นใจ และเปลี่ยนเรื่องคุย
5. Love bombing
เป็นการควบคุมจิตใจโดยแสดงให้เห็นถึงความคลั่งใคล้ ทุ่มเทเพื่อเอาชนะใจอีกฝ่ายในเบื้องต้น
วิธีการรับมือ: ค่อยเป็นค่อยไปอย่ารีบ เชื่อในการกระทำมากกว่าคำพูด และค่อยเฝ้าดูพัฒนาการด้านความสัมพันธ์ว่าเติบโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
6. เทคนิครู้สึกผิด
ผู้กระทำจะทำให้เหยื่อรู้สึกผิดในเหตุการณ์อดีตที่ผ่านมา เป็นรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ และมีหน้าที่ที่ต้องชดใช้
วิธีการรับมือ: ให้ความซาบซึ้งในสิ่งที่เคยได้รับความช่วยเหลือ มั่นคงหนักแน่นทางจิตใจ และไม่กลัวที่จะปฎิเสธหากสิ่งที่ขอให้ทำนั้นไม่เหมาะสม
7. เล่นบทเหยื่อ
ทำตัวน่าสงสาร เหมือนมันมีเรื่องร้ายเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เพื่อต้องการความเมตตาและความช่วยเหลือจากผู้อื่น
วิธีการรับมือ: แสดงความเห็นอกเห็นใจในสถานการณ์ที่เขาได้เผชิญ ให้ความช่วยเหลือเท่าที่ทำได้โดยไม่กดดันตัวเอง และทำความเข้าใจว่าไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดชอบของเราในทุกๆ ครั้ง
8. ควบคุมการเงิน
ผู้กระทำใช้วิธีการเข้าควบคุมด้านการเงิน จำกัดการเช้าถึงด้านการเงิน ทำให้เราไม่มีอิสรภาพทางการเงินและต้องพึ่งพาผู้กระทำ
วิธีการรับมือ: มองหาความช่วยเหลือ และพยายามทางวิธีพึ่งพาตัวเองด้านการเงินให้ได้ และความหยุดการถูกเอารัดเอาเปรียบหรือหาผลประโยชน์จากเรา
9. แกล้งทำเป็นลืม
แกล้งทำไม่รู้เรื่อง แกล้งลืมในสิ่งที่ตนต้องรับผิดชอบเพื่อเลี่ยงความผิด
วิธีการรับมือ: ปรับพฤติกรรม ชี้แจงความรับผิดชอบ และเป้าหมายให้ชัดเจน
10. โยนผิดให้ผู้อื่น
พฤติกรรมมักโทษผู้อื่นหรือใส่ร้ายผู้อื่นในความผิดของตัวเอง
วิธีการรับมือ: ตั้งสติ และให้ข้อมูลที่เป็นจริง หากเราทำผิดจริงก็ชี้แจงและไปต่อ
อย่างไรก็ตามการตกเป็นเหยื่อคนที่ชอบควบคุมจิตใจผู้อื่นหรือ Manipulators มักทำให้เรามีปัญหาด้านอารมณ์และหงุดหงิดอยู่บ่อยครั้ง และพวก manipulators ก็มักจะมีทักษะที่เก่งในการอ่านคน และสังเกตจุดอ่อนของคนอื่นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเหยื่อและหาประโยชน์จากความอ่อนแอหรือจากจุดอ่อนนั้นให้ตกอยู่ใต้อำนาจของตน ดังนั้นเราจึงควรมีทักษะที่เข้มแข็ง หนักแน่น เป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ และไม่กลัวที่จะต้องเผชิญหน้ากับคนที่ชอบควบคุมจิตใจผู้อื่นหรือmanipulators
หากต้องการความช่วยเหลือด้านจิตวิทยาจากผู้เชี่ยวชาญควรมาปรึกษานักจิตวิทยา และหากต้องการทักษะที่สามารถช่วยควบคุมหรือจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างดี ก็ควรมาพบนักจิตวิทยาเพื่อได้รับข้อมูลและส่งเสริมทักษะด้านจิตใจได้อย่างถูกต้อง
อ้างอิง
https://talkingparents.com/parenting-resources/coparent-manipulating-your-child#:~:text=According%20to%20Verywell%20Health%2C%20manipulative,%2C%20deceptive%2C%20or%20underhanded%20tactics.