407 จำนวนผู้เข้าชม |
EMDR Therapy กับการบำบัดพฤติกรรมติดบุหรี่?
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy
รายงานสถิติพบว่าการเสพติดสารนิโคตินของวัยรุ่น โดยเฉพาะในบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและการพัฒนาสมอง ทำให้สมองถูกทำลาย ส่งผลต่อระบบการเรียนรู้ ความทรงจำ การใช้สมาธิ และปัจจัยเสี่ยงต่อการเพิ่มโอกาสในการเสพติดสารเสพติดประเภทอื่นๆ ตามมาในอนาคตด้วย
บุหรี่ไฟฟ้า (Electronic cigarettes) ผลิตมาในหลายรูปแบบ รูปร่างแตกต่างกัน มีทั้งรูปร่างที่เป็นแบบบุหรี่โดยทั่วไป แบบไปป์ หรือรูปแบบเหมือนแท่ง USB และใช้ร่วมกับของเหลวที่ประกอบไปด้วยสารนิโคตินผสมอยู่รวมกับสารเคมีอื่นๆ ผู้ขายนำเสนอทางเลือกที่มีหลายรส และหลายระดับความเข้มข้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารเคมีที่มีพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งนั้น รสชาติและกลิ่นที่หลากหลายเพื่อทำให้น่าสนใจ และดึงดูดความสนใจของเด็กวัยรุ่น เช่น กลิ่นมะม่วง มะนาว มิ้น เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้า การจุดความร้อนจะทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเริ่มผลิตสารพิษขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาถึงผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวพบว่า บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งในปอด และโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจ
การเสพติดสารนิโคตินในวัยรุ่น ส่งผลต่อสมองและร่างกาย นอกจากนี้การเสพติดสารนิโคตินทำให้ร่างกายอยาก และต้องการสารนี้อยู่ตลอดเวลาทำให้ยากที่จะเลิก เมื่อสารนิโคตินในร่างกายลดระดับลงจะเกิดอาการหงุดหงิด ไม่มีความสุขและต้องการเสพสารนิโคตินอีก
การบำบัดพฤติกรรมติดสารนิโคตินในบุหรี่ด้วยจิตบำบัด EMDR Therapy สามารถช่วยลดพฤติกรรมติดบุหรี่ได้อย่างไร?
ความอยาก และกระหายต่อการเสพติดเป็นพฤติกรรมที่ต้องได้รับการบำบัด
พฤติกรรมเสพติดทุกชนิดมักมีต้นตอรากเหง้าของปัญหามาจากปมบาดแผลทางใจ หรือปมค้างใจต่างๆ อาจเคยมีประสบการณ์ที่ทุกข์ทรมานในอดีตส่งผลต่อการเกิดปมค้างใจ หากไม่ได้รับการแก้ไขและปล่อยไว้ (Unsolved trauma) จะส่งผลเสียต่อการทำงานของเคมีในสมองและระบบความทรงจำที่ถูกรบกวนอยู่ตลอดเวลา
EMDR Therapy เป็นเทคนิคการบำบัดจิตที่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์และเป็นทางเลือกให้กับผู้เข้ารับการรักษาโดยไม่จำเป็นต้องใช้แค่ยาเท่านั้นเหมือนในสมัยก่อน
EMDR Therapy (Eye Movement Desensitization and Reprocessing) เป็นการจัดการกับปัญหา และพฤติกรรมเสพติดในรูปแบบต่างๆ แบบถึงต้นตอของปัญหาเนื่องจากประสบการณ์เลวร้ายที่ไม่ได้รับการบำบัดมักเชื่อมโยงเกี่ยวพันธ์กับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ในปัจจุบัน
ความแตกต่างของจิตบำบัด EMDR กับการบำบัดในรูปแบบอื่นๆ ที่เคยมีมา จะพบว่า EMDR Therapy จะเน้นไปที่การทำบำบัดที่เกิดจากกระบวนการพฤติกรรมปัญหาและความคิดภายในจิตใจ ทำงานลงลึกถึงระบบสมองด้านความทรงจำและระบบประสาท ไม่เน้นการพูดคุยมากเท่า Talk therapy หรือการปรึกษาแบบ counseling และไม่จำเป็นต้องใช้ยาจากภายนอกเพื่อบำบัดพฤติกรรมปัญหาที่เกิดจากภายใน
ด้วยการบำบัดแบบ EMDR Therapy ทั้ง 8 เฟส ที่มีระดับแตกต่างกันจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
จิตบำบัด EMDR ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาปมบาดแผลทางใจและปมค้างใจที่เก็บอยู่ภายในสมองส่วนกลาง และส่วนในที่ลึกจนบางครั้งเราไม่สามารถจำรายละเอียดของเหตุการณ์ต่างๆ นั้นได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากปมค้างใจต่างๆ ที่ถูกแช่งแข็งอยู่ในความทรงจำส่วนลึกมักส่งผลต่อพฤติกรรมหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ในปัจจุบัน ดังนั้น ขั้นตอนการบำบัดทั้ง 8 เฟสของ EMDR Therapy จึงมีความสำคัญต่อการกำจัดปมค้างใจและช่วยแก้ไขให้ระบบสมองและความทรงจำได้มีการทำงานอย่างเป็นปกติ เพื่อลดอาการเจ็บป่วยและพฤติกรรมที่เป็นปัญหาต่างๆ
EMDR Therapy ได้รับการศึกษาวิจัยจนพิสูจน์เห็นผลถึงการรักษาพฤติกรรมเสพติดในหลากหลายรูปแบบเช่น การเสพติดแอลกอฮอล์ เสพติดการพนัน เสพติดบุหรี่ เสพติดเกมส์ว่าได้ผลเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาในแบบอื่นๆ หรือการกินยา
จากการศึกษาพบว่า มากกว่าครึ่งของคนที่ติดบุหรี่พยายามจะเลิกพฤติกรรมเสพติดนี้ด้วยตัวเองมากกว่า 5 ปี แต่ไม่สำเร็จจนได้ลองบำบัดด้วย EMDR Therapy
ความพิเศษของ EMDR therapy ที่ได้รับการยอมรับคือพฤติกรรมเสพติดมักเลิกด้วยตัวเองได้ยากเนื่องจากหลังเจอตัวกระตุ้น ผู้เสพจะกลับไปมีพฤติกรรมเสพติดอีก แต่ด้วยการบำบัดแบบ EMDR ทำให้แนวโน้มพฤติกรรม และการถูกกระตุ้น หรือสิ่งเร้าจากภายนอกถูกแทนที่ด้วยระบบความคิดแบบใหม่ และถูกเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงด้วย
นักจิตวิทยาและนักจิตบำบัดเชื่อว่าพฤติกรรมเสพติดเป็นความซับซ้อนของการทำงานในระบสมองและสารเคมีในสมองรวมไปถึงลักษณะทางพันธุกรรมและประสบการณ์ชีวิตที่ได้จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ถูกเลี้ยงดูและเติบโตมา
พฤติกรรมเสพติดเป็นความเจ็บป่วยเรื้อรังด้านจิตใจ ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับการรับรู้ของสมองในการทำงานด้านความเครียด การถูกกระตุ้นด้วยรางวัล และความสามารถต่อการควมคุมความอยากของตัวเอง
การบำบัดด้วย EMDR therapy สามารถช่วยให้ระบุความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในใจได้ชัดเจนมากขึ้น เข้าใจถึงสาเหตุและต้นเหตุของพฤติกรรม
หลังจากจบการใช้วิธีบำบัดแบบ EMDR therapy นักวิจัยพบว่า มากกว่า70% ของคนที่เข้าร่วมบำบัดด้วยจิตบำบัดEMDR มีพฤติกรรมเสพติดที่ลดลง และประสิทธิภาพต่อการควบคุมความอยากกระหายในการเสพติดเพิ่มขึ้น ทำให้มีพฤติกรรมอยากเสพติดสารนิโคตินลดลง
อย่างไรก็ตามEMDR therapy มีขั้นตอนและกระบวนการที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่กระบวนการบำบัด ดังนั้นผู้เข้ารับบำบัดด้วย EMDR therapy ควรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตบำบัด EMDR ก่อนเริ่มกระบวนการและควรมารับการบำบัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะเห็นผล
อ้างอิง
https://www.rch.org.au/kidsinfo/fact_sheets/E-cigarettes_and_teens/#:~:text=Nicotine%20exposure%20during%20the%20teenage,on%20to%20use%20regular%20cigarettes.
https://www.iwanttoquitsmoking.com/when-is-it-applicable-to-use-emdr-therapy-smoking-cessation/
https://www.emdria.org/about-emdr-therapy/emdr-addiction-public/#:~:text=AF%2DEMDR%20therapy%20protocols%20can,effects%20(Popky%2C%202010).
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4101559/
https://www.naadac.org/the-use-of-emdr-therapy-in-the-treatment-of-addiction