ทำไมภาวะพึ่งพิง codependency ถึงเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ?

207 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมภาวะพึ่งพิง codependency ถึงเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ?


ทำไมภาวะพึ่งพิง codependency ถึงเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

ภาวะพึ่งพิง (Codependency) คือภาวะที่เสพติดในความสัมพันธ์จนเกินขอบเขตความพอดี ภาวะพึ่งพิงมักเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับปัญหาด้านสุขภาพจิต การถูกทำร้ายด้านร่างกายและจิตใจ การเสพติดบางอย่าง ในภาวะปกติการพึ่งพาอาศัยกันมักเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ภาวะพึ่งพิงจะมีความแตกต่างในเรื่องของการต้องพึ่งพา หรือการมีชีวิตที่ต้องติดกับอีกคน ความต้องการของอีกคนมักไปขึ้นอยู่กับอีกคน โดยเฉพาะทางด้านความพอใจ ด้านอารมณ์ ด้านการเงิน การสนับสนุนด้านความเป็นอยู่


การพึ่งพาตัวเองเป็นวิธีที่ทำให้เราสามารถออกจากภาวะพึ่งพิงได้ รวมไปถึงการทำในสิ่งที่ตนเองสนใจ และจดจ่อในสิ่งที่ตัวเองต้องการ หากเราให้การช่วยเหลือสนับสนุนใครบางคนด้านการเงิน หรือด้านจิตใจและไม่สามารถที่จะหยุดการช่วยเหลือเหล่านั้นได้เนื่องจากกลัวว่าคนที่เราช่วยจะลำบากหรือเกิดเหตุไม่ดีขึ้น และคนที่ต้องการพึ่งพิงยังไม่สามารถออกจากภาวะนี้ได้ด้วยตัวเอง อาจต้องรีบมาพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

 

โดยทั่วไปภาวะพึ่งพิงจะเริ่มตั้งแต่ในครอบครัว เช่น ผู้ดูแลกับผู้ได้รับการดูแล พ่อแม่ ลูก ถือเป็นการพึงพาพึ่งพิง อย่างไรก็ตามในสัมพันธภาพคู่รัก หากเกิดภาวะพึ่งพิงอาจมีสถานการณ์ที่คนใดคนหนึ่งต้องยอมเสียสละความสุขและความต้องการของตัวเองในการทำให้อีกฝ่ายมีความสุข การอยู่ร่วมกัน ทุกคนควรได้รับความสุขและการดูแลซึ่งกันและกัน หากรู้สึกว่าสัมพันธภาพของเราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะพึ่งพิงให้สังเกตสัญญาณดังต่อไปนี้

สัญญาณของภาวะพึ่งพิง (Signs of Codependency)

1. สนใจแต่อีกฝ่าย

ไม่สนใจความต้องการและคุณค่าของตัวเอง แต่ไปตอบสนองรับความรู้สึกความต้องการของอีกฝ่าย รู้สึกอยู่ไม่ได้หากขาดอีกฝ่ายไป ให้ความสำคัญกับอีกฝ่ายมากและมั่นใจว่าอีกฝ่ายก็คิดเช่นเดียวกัน

2. กลัวการถูกทอดทิ้ง

เมื่อมีความกลัวถูกทิ้ง ก็จะพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่าอีกฝ่ายจะอยู่ด้วยตลอดไป โดยอาจทำทุกทางให้อีกฝ่ายไม่ไปไหนด้วยการให้การสนับสนุนเรื่องการเงิน การงาน บางครั้งอาจมีการโกหกเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจและอยากอยู่ด้วยเป็นพฤติกรรมที่ไม่ส่งผลดีในระยะยาว

3. ไม่มีที่พึ่งพิงอื่น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงคือการที่ไม่มีญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงหรือคนอื่นที่สนินในการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านจิตใจ ไม่มีสังคมอื่นที่รู้สึกสบายใจในการปรึกษาหรือปรับทุกข์

4. จิตใจอ่อนแอ

รู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้ และไม่สำรวจตัวเองว่าชอบหรือไม่ชอบอะไร เป็นคนแบบไหน แต่กลับโฟกัสไปที่ความชอบ-ไม่ชอบของอีกฝ่าย

5.รู้สึกสงสัยตัวเอง

คนที่ตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงเป็นเวลานานจะทำให้ขาดการรับรู้เกี่ยวกับตัวเอง ไม่มีความมั่นใจในการตัดสินใจเลือก ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ไม่รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองต้องการนั้นสำคัญอย่างไร

6. รู้สึกไม่พอใจ

ความสัมพันธ์แบบพึ่งพิงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ไม่แข็งแรง เมื่อมีฝ่ายใดเริ่มรู้สึกอยู่เองไม่ได้เมื่อขาดอีกฝ่ายไปก็มักจะสร้างให้เกิดปัญหาและความไม่พอใจทั้งคู่ รวมทั้งยังเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น รู้สึกผิดเมื่อโฟกัสกับความต้องการของตัวเองแทนที่จะเป็นความต้องการของอีกฝ่าย หรือยอมรับผิดเองทั้งที่ไม่ได้ทำผิด  ไม่มีเป้าหมายนอกจากทำให้อีกฝ่ายพอใจ ไม่สนใจพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อตัวเองและทำให้ผู้อื่นอึดอัด
ภาวะพึ่งพิงเป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่หลอมรวมกันทำให้เกิดภาวะทางจิตใจและรูปแบบการเรียนรู้ที่ทำให้เติบโต

สาเหตุของภาวะพึ่งพิง (Codependency) อาจเกิดได้จากปัจจัยดังนี้

1. ความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ (Low self-esteem) 

รู้สึกว่าตัวเองไม่คู่ควรกับการได้รับความรัก

2. ขาดทักษะเกี่ยวกับตนเอง 

ไม่แน่ใจว่าตัวเองคือใครต้องการอะไร มีเป้าหมายอะไรเลยรับเอาความปรารถนาและความต้องการของคนอื่นมาเพื่อให้รู้สึกเป็นที่ยอมรับ

3. ประเพณีการเสียสละในครอบครัว

หากเราเติบโตมาในครอบครัวที่สมาชิกบางคนต้องยอมเสียสละความสุขและความต้องการของตัวเองเพื่อสมาชิกคนอื่นได้มีความสุขสมปรารถนา มักเป็นรูปแบบการเติบโตที่ไม่มีสุขภาวะทางจิตใจที่ดี  หลายครอบครัวไม่ตระหนักและยอมรับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติในครอบครัว

4. ไม่ต้องการเผชิญหน้า

การเติบโตมาในครอบครัวที่เลี่ยงการพูดเรื่องที่ทำให้อึดอัด ขัดแย้ง ทำให้ปิดกั้นการรับรู้ถึงปัญหา แต่เรียนรู้ที่จะหลบหลีกการเผชิญหน้า หรือการปะทะ ทำให้สมาชิกในบ้านต้องเก็บความกดดันนี้ไว้กับตัวเอง

 5. สไตล์การเลี้ยงดู

มีความไม่มั่นคงด้านสัมพันธภาพกับคนเลี้ยง พ่อแม่ ที่ทำให้สับสนและวิตกกังวล  โดยทั่วไปเกิดกับคนเลี้ยงที่ไม่ใส่ใจละเลยไม่ดูแลเด็ก แต่อีกพักก็เปลี่ยนมาดูแล เรียกความสัมพันธ์นี้ว่า “Ambivalent” หรือ “Anxious-preoccupied” ผลกระทบทำให้เกิดความสับสนไม่รู้สึกมั่นคงในความสัมพันธ์และกลัวถูกทอดทิ้ง เมื่อโตขึ้นจะคอยมองหาความมั่นคงทางใจจากคนอื่น เป็นเจ้าข้าวเจ้าของ หึงหวง รับไม่ได้กับการถูกปฎิเสธหรือทอดทิ้ง

 

รู้ได้อย่างไรว่าเรามีภาวะพึ่งพิงหรือไม่

ลองทำแบบประเมินด้านสุขภาพจิตเกี่ยวกับภาวะพึ่งพิงด้านล่าง แบบประเมินนี้เป็นการสำรวจตัวเองอย่างง่ายเพื่อให้ตระหนักรู้กับภาวะด้านการพึ่งพิง อย่างไรก็ตามควรได้รับการวินิฉัยที่ถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ หากสงสัยว่าตัวเองอาจเข้าข่ายลักษณะของคนมีภาวะด้านสุขภาพจิตที่มีปัญหาจากภาวะพึงพิง ควรมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อได้รับการแนวทางแก้ไขอย่างถูกวิธี

แบบทดสอบนี้เป็นเพียงการตระหนักรู้ตัวเองในเบื้องต้นไม่ใช่การวินิฉัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาแต่อย่างใด หากต้องการคำแนะนำที่ถูกต้องชัดเจน ควรนัดหมายปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในลำดับต่อไป

การทำแบบทดสอบหากคำตอบออกมา “ใช่” เกินครึ่งอาจมีแนวโน้วอยู่ในภาวะพึ่งพิง อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่มีคำตอบว่าใช่ทุกคนจะมีแนวโน้มของภาวะพึ่งพิง แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอีกครั้งเพื่อความแม่นยำ

คำถามมีสำรวจตัวเองเกี่ยวกับภาวะพึ่งพิงมี 8 ข้อดังนี้

1. คุณมักชอบหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและหลบอยู่ในมุมเงียบ

2. คุณกังวลเกี่ยวกับความคิดของคนอื่นที่มีต่อคุณ

3. คุณเคยอยู่อาศัยกับคนที่ติดเหล้า ติดยาเสพติด คนที่ใช้ความรุนแรงทำร้ายร่างกายและใช้คำพูดทำร้ายจิตใจคุณ

4.คุณมักให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่นมากกว่าของตัวเอง

5. เมื่อคุณทำผิดคุณรู้สึกว่าคุณเป็นคนเลว และเมื่อคนใกล้ตัวทำผิดคุณจะรู้สึกอับอาย

6. คุณวิตกกังวลเกี่ยวกับคนในครอบครัวกลับเขาลำบากหากคุณไม่ช่วยเหลือ

7. คุณปฎิเสธไม่เป็นเมื่อมีคนมาขอความช่วยเหลือจากคุณ

8. เป็นเรื่องยากสำหรับคุณที่จะบอกให้คนอื่นรู้ถึงความรู้สึกที่แท้จริง

 

อย่างไรก็ตามภาวะพึ่งพิง (Codependent) สามารถหายได้หากได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญและคนรอบข้าง ดูแลตัวเองใส่ใจกับเป้าหมายและมองความเป็นจริง ให้ความสำคัญกับตัวเอง รู้จักจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง สร้างสังคมที่สนับสนุนด้านจิตใจและอารมณ์บวกให้ตัวเอง หลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ เสริมกิจกรรมที่สร้างความเชื่อมั่นและช่วยเสริมทักษะเรื่อง Self-esteem หากไม่สามารถผ่านพ้นปัญหาเหล่านี้ได้แนะนำให้ไปปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ

 

อ้างอิง
https://www.northboundtreatment.com/blog/is-codependency-bad-dangers-of-being-in-a-codependent-relationship/#:~:text=Codependency%20in%20relationships%20can%20be,including%20their%20own%20well%2Dbeing.
https://www.medicalnewstoday.com/articles/319873
https://www.google.com/search?q=why+codependency+is+unhealthy&oq=why+codependency+is+&gs_lcrp=EgZjaHJvbWUqDggAEEUYJxg7GIAEGIoFMg4IABBFGCcYOxiABBiKBTIGCAEQRRg5Mg0IAhAAGJECGIAEGIoFMgcIAxAAGIAEMgcIBBAAGIAEMggIBRAAGBYYHjIICAYQABgWGB4yCAgHEAAYFhgeMggICBAAGBYYHjIICAkQABgWGB7SAQoyMzgwNGowajE1qAIIsAIB&sourceid=chrome&ie=UTF-8
https://www.helpguide.org/relationships/social-connection/codepend

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้