ปัญหาด้านการเงินส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร?

44 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัญหาด้านการเงินส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร?

ปัญหาด้านการเงินส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร?

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

ทำไมเราถึงมีภาวะซึมเศร้าเมื่อเราไม่มีเงิน

โดยทั่วไปปัญหาการเงินมักทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าอยู่แล้ว เนื่องจากความเครียด และวิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตในอนาคต การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ และมักมีความคิดต่างๆ ไปในทางลบมากมาย การขาดเงินสร้างให้คนเกิดภาวะสิ้นหวัง สร้างความวิตกกังวล รู้สึกผิดและไร้ค่า และสามารถนำไปสู่การมีภาวะซึมเศร้า

อาการที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง เช่น

1. ความเครียดและวิตกกังวล

ปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะปัญหาหนี้สิน ตกงาน มีเงินไม่พอใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมักสร้างให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล และเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดภาวะซึมเศร้า

2. ความรู้สึกไร้ค่า

ปัญหาด้านการเงินสามารถทำให้คนเรารู้สึกไม่ดีพอ รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว และมักมีผลต่อความไม่มั่นใจในตัวเองทำให้ขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองส่งผลต่อการใช้ชีวิตมีความเครียดซึ่งอาจนำสู่ภาวะซึมเศร้าในเวลาต่อมา

3. การตีตัวออกห่างสังคม

ปัญหาด้านการเงินทำให้มีความจำกัดด้านการเข้าสังคม การเชื่อมต่อกับผู้อื่น เป็นปัญหาต่อสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ส่งผลทำให้เกิดความเหงาโดดเดี่ยวและแยกตัวออกจากสังคม และอาจนำสู่ปัญหาโรคซึมเศร้าเช่นกัน

4. ปัญหาการนอนหลับ

ปัญหาด้านการเงินส่งผลต่อปัญหาการนอนหลับผักผ่อน เพราะความวิตกกังวลทำให้มีภาวะอารมณ์ไม่ปกติ กระทบต่อการนอนหลับพักผ่อน และยังส่งผลต่อฮอร์โมนที่ไม่สมดุลย์ตามมาอีกด้วย

5. ความยากจนส่งผลทำให้เกิดปมบาดแผลทางใจ

ปัญหาด้านการเงินส่งผลทำให้เกิดความยากจน ยากลำบากในการใช้ชีวิตและเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น ความรู้สึกมีปมด้อย มีปมบาดแผลทางใจ มีภาวะซึมเศร้า ที่เกิดจากความเครียด การถูกสังคมดูถูก เหยียดหมาย ปมบาดแผลทางใจที่เกิดจากประสบการณ์ชีวิตที่แร้นแค้นขาดแคลน

 6. เกิดข้อจำกัดในคุณภาพชีวิต

ปัญหาด้านการเงินทำให้ขาดประสิทธิภาพด้านการเข้าถึง หรือการยกระดับคุณภาพชีวิตของคน เช่น การเลือกใช้บริการทางการแพทย์ การเลือกชุมชนที่อยู่อาศัย การเลือกสังคม การเลือกบริโภคอาหารการกินของใช้ในชีวิตประจำวัน และมักสร้างวงจรความเครียดและภาวะซึมเศร้าให้กับชีวิตวนเวียนไปไม่สิ้นสุด

 

นอกจากปัญหาด้านการเงินจะส่งผลต่อภาวะความวิตกกังวลและโรคซึมเศร้าแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากความเครียดและวิตกกังวลยังส่งผลต่อการบริหารจัดการด้านการเงินที่ไม่ดีด้วยเช่นกัน ปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถส่งผลต่อการจัดการบริหารเรื่องเงินได้อย่างไร?
ปัญหาด้านสุขภาพจิตที่ส่งผลเสียต่อการบริหารด้านการเงินโดยทั่วไป เช่น

  • หากเรามีภาวะซึมเศร้า หรือรู้สึกแย่ เราอาจขาดแรงกำลังใจในการบริหารจัดการด้านการเงิน หรือ ไม่อยากจะพยายามทำอะไรเพื่อแก้ปัญหา
  • หากบุคคลที่เป็น Bipolar Disorder และอยู่ในช่วง Mania อาจมีการใช้จ่ายที่สูงขึ้น หรือใช้จ่ายเกินตัว
  • ปัญหาสุขภาพจิตอาจส่งผลต่อการเรียน หรือการทำงานที่อาจทำให้รายได้ลดลง
  • เราอาจละเลยและไม่ใส่ใจต่อการบริหารจัดการรายจ่ายที่ต้องชำระ และเลี่ยงการตรวจตราบัญชีที่ตนเองต้องรับผิดชอบ
  • ปัญหาด้านสุขภาพจิตอาจสร้างปัญหาให้เราต้องจับจ่ายแพงขึ้นเนื่องจากขาดความรอบครอบในการพิจรณาไตร่ตรอง

 



วิธีเอาตัวรอดจากความเครียดด้านการเงินทำอย่างไร?

1. มองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

หากมีปัญหาด้านหนี้สินควรได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน แต่หากมีปัญหาด้านสุขภาพจิตจนส่งผลต่อการจัดการการเงินควรมาพบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตใจหรือนักจิตวิทยา

2. อย่าติดสุราหรือสารเสพติด

ภาวะเครียด วิตกกังวล ทำให้คนมักพึ่งพาสุราและยาเสพติดเพื่อจัดการกับความเครียด ซึ่งมันอาจส่งผลร้ายที่แย่กว่าตามมาและไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

3. ให้พยายามทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ

อย่าล้มเลิกการทำกิจกรรมประจำวัน ให้ทำทุกอย่างปกติ เช่น ดูแลตัวเอง หากงานหรือกิจกรรมทำ กินอาหารให้ครบหมู่ ทำกับข้าว ทำกิจวัตรที่เคยทำ นอนหลับให้เพียงพอ ออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด

4. หางานทำ

ควรทำงานหารายได้หากมีปัญหาเรื่องหนี้สินเพื่อจัดการกับปัญหาหนี้สิน อย่าล้มเลิกการสร้างรายได้ หากมีปัญหาด้านสุขภาพจิตควรหากิจกรรมผ่อนคลายเพื่อได้เปลี่ยนความสนใจและไม่ให้ตัวเองตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า

5 จัดการกับปัญหาที่มี

มองหาคำแนะนำปรึกษาผู้รู้ที่ช่วยเหลือสนับสนุนเราได้หากมีปัญหาด้านการเงิน หากมีปัญหาด้านสุขภาพจิตจนส่งผลต่อการเงินควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา

 



อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการเงินมักส่งผลต่อความเครียดและความวิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ในทุกคน ดังนั้นการเตรียมการรับมือกับภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในชีวิตจึงต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ และมีการวางแผนรับมือเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ดีในระยะยาวและยั่งยืน ควรทำความเข้าใจกับปัญหาความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของตัวเอง มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนแก้ไขปัญหา ยึดแนวทางในการลงมือปฎิบัติและมีวินัยกับตัวเองในการลงมือทำอย่างต่อเนื่อง วางแผนระยะสั้นและระยะยาว มีการจัดการด้านอารมณ์ ภาวะทางจิตใจและมีการจัดการกับความเครียดที่ดี หากมีการวางแผนการจัดการที่ดีจะสามารถช่วยให้เราลดความเครียดและความวิตกกังวลที่นำสู่ภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี

 

 

อ้างอิง

why depression when have no money

https://www.mind.org.uk/information-support/tips-for-everyday-living/money-and-mental-health/the-link-between-money-and-mental-health/

https://psychcentral.com/blog/stressed-about-money-tips-to-cope-with-debt-depression

https://www.nhs.uk/mental-health/advice-for-life-situations-and-events/how-to-cope-with-financial-worries/

https://www.helpguide.org/mental-health/stress/coping-with-

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้