สำเร็จในชีวิตอย่างไรท่ามกลางคนToxic และ 4 วิธีในการป้องกันตัวเอง

19371 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สำเร็จในชีวิตอย่างไรท่ามกลางคนToxic และ 4 วิธีในการป้องกันตัวเอง

ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างไร

หากอยู่ท่ามกลางคนToxic

และ 4 วิธีในการป้องกันตัวเอง

 

 

ดร. มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)

นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ นักจิตบำบัด 

Certified EMDR and Brainspotting Psychotherapy

ความสำเร็จและความสุขในชีวิตคนส่วนใหญ่นั้นมักได้มาจากการสนับสนุนของคนรอบข้างที่ดีเป็นมิตรกับเรา ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะอยู่ใกล้คนที่คอยช่วยเหลือสนับสนุนตัวเอง และหลีกห่างคนที่เป็นพิษเป็นภัย

กัลยาณมิตรสามารถช่วยส่งเสริมให้เราเติบโตและช่วยเป็นกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของเรา และเข้าใจยอมรับในสิ่งที่เราเป็น พวกเขาจะแบ่งปันน้ำใจทำให้เรารู้สึกดีไม่ย่อท้อ หรือเวลาเราเกิดความสงสัยในตัวเองกัลยนิมิตรก็จะคอยอยู่เคียงข้างและให้กำลังใจทำช่วยให้เราเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง


ตรงกันข้ามหากเราต้องอยู่ใกล้คนที่เป็นพิษเป็นภัย ไม่ปรารถนาดีมีแต่ความคิดลบหรือเป็นคนลักษณะtoxic ก็อาจแพร่ขยายความไม่มีสุขในชีวิตให้เราได้

Toxic People สามารถเป็นภัยต่อการงาน ธุรกิจ ชีวิตคู่ หรือ ลูกๆของเราได้ เพราะลักษณะของคนประเภท Toxic people มักจะมองข้ามความปรารถนาดี ความตั้งใจดีของผู้อื่น และชอบตอกย้ำจุดด้อยของคนอื่นเมื่อมีโอกาส รวมทั้งชอบขัดขวางและไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นมีความสุข หรือก้าวหน้า

 

 

ลักษณะของ Toxic People

คนมีลักษณะToxic ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกมั่นคงในชีวิต เป็นคนไม่มีความสุข และมักปิดบังความไม่มั่นคงในใจด้วยการทำตัวเย่อหยิ่ง ชอบพูดจาทำร้ายจิตใจคนอื่นทั้งๆที่รู้ว่าไม่ควรพูด คนToxic มักทำให้เราเหนื่อยล้าหมดกำลังใจและบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของเรา คนพวกนี้เปลี่ยนยากและเสียเวลาที่จะเปลี่ยน

ที่มาของคนที่มีลักษณะ Toxicนั้นอาจเป็นเพราะปมปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในจิตใจที่มีสาเหตุที่หลากหลายและมีปัจจัยที่ซับซ้อน 

การอยู่แวดล้อมไปด้วยคนลักษณะเป็นToxicก็เหมือนกับอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคติดต่อ หากยิ่งใกล้ชิดความเจ็บป่วยสิ่งเหล่านั้นอาจส่งผ่านมาที่เรา เมื่อเราได้รับการซึมซับสิ่งลบๆเหล่านั้นก็ทำให้เรากลายเป็นคนไม่มีความสุขตามไปด้วย

 



ลักษณะของกัลยาณมิตรเป็นอย่างไร

กัลยานิมิตรนั้นเป็นเพื่อนที่ดีของเรา ส่งเสริมชีวิตเราให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ หากเราต้องการมีกัลยานิมิตรก็จงทำตัวเป็นกัลยานิมิตรให้ผู้อื่นเพื่อดึงดูดกัลยาณมิตรให้เข้ามาในชีวิตของเราเช่นกัน กัลยาณมิตรนั้นคือคนที่คอยช่วยส่งเสริมและพัฒนาเราให้ทำความฝันให้สำเร็จ คอยช่วยสร้างความมั่นใจ ปลุกความเชื่อมั่นในตัวเรา คอยให้กำลังใจ คอยช่วยเหลือสนับสนุนโดยไม่หวังผลตอบแทน
กัลยานิมิตรนั้นจะเข้าใจมุมมองของเรา และหากมีความเห็นต่างจากก็จะอธิบายด้วยเหตุผล จะไม่พูดเสียดสีหรือทำร้ายจิตใจเรา มีลักษณะเชื่อใจได้ ไม่ต้องระแวงหรือคอยระวังตัวว่าจะถูกหักหลัง เป็นที่พึ่งได้ ยึดมั่นในคำพูด ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมไม่โกหก หลอกลวงและเป็นคนมีความเชื่อมั่นในตัวเอง

 
รับมืออย่างไรหากต้องทำงานร่วมกับคนที่มีลักษณะToxic

คนtoxicมีอยู่ทุกที่และเราคงหนี้ไม่พ้นแม้ในที่ทำงาน จากงานวิจัย ของPorath Freeman นักจิตวิทยาด้านระบบประสาทเผยให้เห็นว่าพฤติกรรมของคน toxic มักเกิดจากสภาพแวดล้อม เกิดจากปัจจัยที่อยู่รอบข้างหรือสถานการณ์ที่เข้าไปเกี่ยวข้องมันไม่ได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ

คนลักษณะtoxic จะแตกต่างจากคนที่ชอบbully หรือชอบทำพฤติกรรมกลั่นแกล้งคนอื่น อย่างไรก็ตามจุดประสงค์ก็เหมือนกันคือต้องการทำให้อีกฝ่ายเจ็บปวดแต่เป็นในรูปแบบที่แตกต่างกัน passive-aggressive ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของคนที่มีลักษณะ toxic คือไม่แสดงออกเวลาไม่พอใจ ไม่อธิบายสื่อสารแต่เก็บเอาไว้และรอโอกาสทำลายอีกฝ่ายหรือเอาคืนให้เจ็บปวด

หากในที่ทำงานมีการรับคนที่เป็น toxic เข้ามาสภาพแวดล้อมในที่ทำงานก็จะเปลี่ยนไปและอาจทำให้เกิดความเสียหายกับบริษัท อีกหนึ่งตัวอย่างคือ หากในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียดและกดดันสูงก็อาจจะสร้างมนุษย์ที่มีลักษณะtoxic ขึ้นมาได้เช่นกันเพราะความเครียดที่สะสม การแข่งขันในตำแหน่งหน้าที่ การไม่มีเวลาได้พักก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของคนที่มีลักษณะtoxicได้ Porath Freeman ได้ให้กล่าวไว้ว่า ลักษณะของToxic people สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้

อย่างไรก็ตามHRไม่ควรรับคนมีลักษณะ toxic เข้าทำงานตั้งแต่แรกเพราะอาจสร้างความเสียหายให้บริษัทและอาจต้องเสียงบประมาณมหาศาลในการสรรหาพนักงานใหม่เข้ามาทำงานแทนคนดีมีทักษะที่ทยอยกันลาออกไป



คน toxicนั้นไม่ได้เจอแต่ในที่ทำงานแต่หากเราต้องเจอในชีวิตคู่ก็อาจทำให้เราสับสนและแยกไม่ออกได้เช่นกัน ด้วยบุคคลิคเฉิดหยิ่งมั่นใจในตัวเองสูงอาจดึงดูดรสนิยมของคนบางคน แต่เมื่อใช้ชีวิตร่วมกันจริงๆอาจทำให้อีกฝ่ายเกิดความไม่แน่ใจสงสัยถึงความห่วงใยที่อาจเปลี่ยนไปกลายเป็นการควบคุมชีวิตจนทำให้เกิดปัญหาชีวิตคู่สัมพันธภาพตามมาจนต้องจบความสัมพันธ์ลง

ยิ่งไปกว่านั้นหากเจอเจ้านายที่เป็นคนที่มีลักษณะ toxic ใช้อำนาจในทางที่ผิดในการตัดสินคนอื่นโดยการใช้มุมมองตนเองอย่างเดียวไม่ดูเหตุและผลหรือใช้สัญชาตญาณของตัวเองในการตัดสินและให้ร้ายคนอื่น คนประเภทนี้เป็นอันตรายต่อความสัมพันธ์และก่อความเสียหายให้กับองค์กร

พฤติกรรมที่ใจร้ายนี้ Freeman ได้ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงประสาทกับความสัมพันธ์ด้านสัญชาตญาณของมนุษย์ และอธิบายไว้ว่าทำไมคนtoxic ต้องการทำให้คนอื่นเจ็บปวดคำตอบคือ คนToxic มักไม่พอใจสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ที่เผชิญอยู่เป็นผลทำให้จิตใจเกิดความคิดที่เป็นลบขึ้นในจิตใจ ข้อบกพร่องของคนประเภทนี้คือจะขาดเรื่องของความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทำให้การรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องไม่ชัดเจน เข้าไม่ถึงหรือไม่รับรู้ถึงความเจ็บปวดของผู้อื่น และตอบสนองกับความคิดลบที่ตัวเองมีอยู่นั้นด้วยการโต้ตอบที่รุนแรง หรือกลั่นแกล้งทารุณกรรม

คนประเภทนี้มักมีลักษณะทางจิตที่บกพร่องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่น เป็นคนลักษณะ Borderline personality disorder หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนบกพร่อง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เมื่อถูกกระตุ้นให้โกรธหรือไม่พอใจ 

หากต้องทำงานร่วมกับคนtoxic นักจิตวิทยาแนะนำว่าจงอย่านั่งใกล้คนประเภทนี้และจำกัดเวลาในการพูดคุยสื่อสาร  



 

4 วิธีในการป้องกันตัวเองหากต้องเผชิญหน้ากับคนToxic

1. จำกัดการติดต่อ

พยายามอย่าจัดโต๊ะทำงานให้นั่งใกล้คนToxic และหากต้องร่วมทีมกับมนุษย์ toxic ควรให้เจ้านายรับรู้และขอทำงานจากบ้านให้มากกว่ามาเจอกัน และลดวันการประชุมกลุ่มลง แต่หากเจ้านายเป็นพวก Toxic ซะเองให้จำกัดการใช้เวลาร่วมกันหรือให้คนอื่นช่วยเข้าฟังเจ้านายแทนบ้างและควรมองหางานใหม่ หรือขอย้ายไปอยู่ทีมอื่น และถ้าคุณเป็นฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของคนลักษณะToxic และใช้การทดสอบเรื่องสถานการณ์ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นเข้ามาคัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น

หากคู่ชีวิตของเราเป็นมนุษย์Toxic และต้องเลี้ยงลูกร่วมกัน ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาให้ช่วยปรับแนวคิดที่เป็นลบและพฤติกรรมที่ส่งผลเสียด้านสุขภาพจิตของคนในครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
 

2.  วางขอบเขตให้ชัดเจน

หากต้องเผชิญหน้ากับคนToxic ที่พยายามโยนความผิดให้เราหรือกำลังต่อว่าด่าทอเราให้เราตั้งสติ สงบอารมณ์ และให้บอกไปว่าเราพร้อมที่จะคุยเพื่อเคลียร์ปัญหาหากเขาสงบสติอารมณ์ให้ได้ก่อนแล้วค่อยกลับมาคุยกัน  และควรเดินออกห่างในเวลานี้ และควรหากิจกรรมอย่างอื่นที่ช่วยเติมพลังให้ความมั่นใจของตัวเองทำเพื่อผ่อนคลาย

3.  ไม่ต้องพยายามอธิบาย

หลีกเลี่ยงการอธิบายเนื่องจากคน toxicมักจะปฎิเสธที่จะฟังคำอธิบายมุมมองของคนอื่น และพยายามที่จะทำให้เราอารมณ์เสียดังนั้นให้ตอบไปว่ายังไม่สามารถที่จะอธิบายอะไรได้ในตอนนี้เพราะกำลังยุ่งอยู่ และหยุดที่จะอธิบายใดๆเพิ่มเติมถึงแม้จะถูกตื้อเท่าไรก็ตาม


4.  สร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง

เราควรสังเกตลักษณะของพวกคนToxic และพยายามที่จะเลี่ยงก่อนที่จะถูกโจมตี รับรู้พฤติกรรมของพวกtoxic และอย่าไปสนับสนุนพฤติกรรมtoxicของพวกเขา เช่นอย่าให้คนtoxicสามารถสร้างเรื่องเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องดราม่าใหญ่โตใช้ความรุนแรงหรือคำพูดการกระทำ ทำร้ายจิตใจเราโดยเกินกว่าเหตุโดย ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นได้


ทำไมคนtoxic ถึงทำแบบนั้น

นักจิตวิทยาด้านระบบประสาทกล่าวว่าไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้สูงว่าการกระทำเช่นนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องมาจากความหวาดกลัวและความไม่มั่นคงด้านจิตใจจึงอยากที่จะควบคุมสถานการณ์และควบคุมผู้อื่นให้เป็นไปตามที่ตนคิด ซึ่งทำให้เกิดเป็นลักษณะทางจิต สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ ถึงแม้คนพวกนี้จะมีบุคคลิกภาพที่น่าหลงใหลดึงดูด มีความมั่นใจในตัวเองแต่แท้จริงแล้วเป็นพวกชอบควบคุมผู้อื่น เอาแต่ใจ และสั่งให้ผู้อื่นทำในสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผล Freeman กล่าวว่าสิ่งที่จะช่วยให้เราพ้นจากการตกเป็นเหยื่อของคนtoxicได้คือ การควบคุมสติของตัวเอง หรือ ความสงบในจิตใจ เพราะคนพวกนี้ขาดทักษะนี้ หรือที่เรียกว่า emotional regulation ควบคุมอารมณ์ตัวเอง จึงทำให้ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์และมักจะระเบิดใส่ผู้อื่นเมื่อมีเหตุที่ทำให้ไม่พอใจเกิดขึ้น ดังนั้นการที่เราจะสามารถพ้นภัยจากคนพวกนี้ได้เราต้องใช้ emotional regulation ให้เป็นประโยชน์

5 ขั้นตอนการฝึกทักษะการคุมสติอารมณ์ด้วย self-regulation

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ emotional regulation ของตัวเองทำได้ดังนี้

1.   สร้างพื้นที่ส่วนตัว 

ความโกรธหรือฉุนเฉียวมักเกิดขึ้นเร็วมากโดยไม่ทันได้ตั้งตัว อารมณ์แบบนนี้เป็นอารมณ์ที่ยากในการจัดการดังนั้นให้เราสูดหายใจเข้าลึกๆและหยุดทำทุกสิ่งเพื่อให้ตัวเองได้เบรค และค่อยๆตอบสนองสิ่งที่มารบกวนจิตใจนั้นอย่างช้าๆ

2.   สังเกตการรับรู้ปฎิกิริยาของตัวเอง

ฝึกสังเกตสิ่งที่มากระทบอารมณ์ทำให้เกิดปฎิกิริยาตอบสนองของร่างกายและความรู้สึก เช่นมีอาการ ท้องไส้ปั่นป่วน ใจเต้นแรง ปวดขมับ ปวดคอ หรือปวดหัว อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงผลกระทบที่มาจากการถูกกระตุ้นด้านอารมณ์ ควรหมั่นสังเกตอาการเสมอๆ

3.   ระบุอารมณ์ความรู้สึกนั้นให้ได้

อารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเราควรรู้ว่ามันคืออะไร เช่น โกรธ เศร้า ผิดหวัง หรือ แค้นเคือง อะไรที่ชัดเจนที่สุดและอะไรที่รองลงมา บางครั้งเราอาจมีหลายอารมณ์เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และหากสืบค้นให้ลึกลงไปอารมณ์ต่างๆที่มีอาจมีพื้นฐานและสาเหตุมาจากความกลัว ดังนั้นก็ควรหาสาเหตุให้เจอว่าเรากลัวอะไรเพื่อจะได้แก้ไขได้ถูกจุดและสามารถแบ่งปันการรับรู้นี้เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้

4.   ยอมรับ

เป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์มีอารมณ์ตอบสนองต่อสิ่งเร้าแต่การรับรู้และยอมรับเพื่อหาการตอบสนองที่ดีเข้าใจตัวเองเห็นใจตัวเองเป็นเรื่องที่ควรฝึกทำอยู่เสมอ


5.  ฝึกสงบสติอารมณ์

รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตรงหน้าและการตั้งสติโดยใช้หลักการทำงานภายในของเราด้วยการมองให้รอบโดยไม่ตัดสินอะไรใดและไม่คิดอะไรใดๆ ไม่ใส่ความคิดลบและสงบนิ่งฝึกทำแบบนี้ประจำๆ คนที่มีความบกพร่องในการควบคุมอารมณ์ตัวเองมักมีอารมณ์แปรปรวนควบคุมความคิดของตัวเองไม่ได้ ดังนั้นการมาพบนักจิตวิทยาเพื่อทำ therapeutic สามารถช่วยได้

 
อ้างอิง
 
https://www.linkedin.com/pulse/part-ii-increasing-toxic-behavior-workplace-dr-joel-ehrlich/?articleId=9081197070088963871

https://www.psychologytoday.com/us/blog/when-disaster-strikes-inside-disaster-psychology/201911/how-pull-away-toxic-people-and-who



 


 

 

 

 

 

 

 


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้