2765 จำนวนผู้เข้าชม |
9 สัญญาณที่บอกว่า
คุณกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิต
(Signs of Bad Mental Health)
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา
Marid Kaewchinda (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
ความเจ็บป่วยทางจิตใจมีหลายลักษณะอาการแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ที่สำคัญคืออาการส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม
หากปัญหาสุขภาพจิตทำให้คนเราต้องทนทุกข์ทรมานอยู่เป็นระยะเวลายาวนานโดยไม่ได้รับการช่วยเหลือดูแล อาจส่งผลเสียลุกลามกลายเป็นปัญหาทางจิตเวชที่ยากเกินจะแก้ไข
อีกทั้งยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่มีความสุขในทุกสิ่งที่เป็นหรือที่กำลังทำ ปัญหาสุขภาพจิตเล็กๆน้อยๆ อาจส่งผลร้ายทำลายสัมพันธภาพกับคนในครอบครัว คนรอบข้างและคนที่เรารักได้
การปล่อยปัญหาความเครียด ความไม่สบายใจทิ้งไว้โดยไม่มาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาอาจทำให้ปัญหาสุขภาพจิตบานปลาย เช่นอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล Schizophrenia Eating disorders หรือพฤติกรรมเสพติดบางอย่างไร
ดังนั้นเมื่อมีความเครียด หรือไม่สบายใจที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจควรรีบมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อได้รับการช่วยเหลือดูแล
อย่างไรก็ตามให้เริ่มจากการสังเกตอาการความผิดปกติด้านอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นหลัก
9 สัญญาณที่กำลังบอกว่า คุณมีปัญหาสุขภาพจิต (Signs of Bad Mental Health)
1. รู้สึกไม่สบายใจ เครียดและคิดวนเวียนวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา
ความเครียดวิตกกังวลอาจส่งผลต่อร่างกายทำให้ใจหวิว ใจสั่น เวียนศีรษะ หายใจไม่ทันหรือเป็นลมหมดสติได้ ความคิดวนเวียนก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบมาพบผู้เชี่ยวชาญ
2. มีภาวะซึมเศร้า ไม่มีความสุขในชีวิต
อาการโรคซึมเศร้า สิ้นหวัง ไม่มีความสุขในชีวิต เบื่อไม่อยากทำอะไรเป็นเวลายาวนานกว่า2สัปดาห์ ความรู้สึกเปราะบาง เจ็บป่วยง่าย และเรื้อรัง ขาดแรงบันดาลใจ ไม่มีพลัง หมดไฟ เลิกสนใจในสิ่งที่รัก ไม่อยากทำงานอดิเรกที่เคยชอบ รู้สึกอยากร้องไห้ตลอดเวลา อาการเหล่านี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
3. ไวต่อความรู้สึก ระเบิดอารมณ์ได้ง่าย
ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรวดเร็ว ถูกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ง่าย มักแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงเกินกว่าเหตุหรือ over reaction โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว
4. ปัญหาด้านการนอนหลับ
มีภาวะอาการหลับยาก ตื่นเร็วและไม่สามารถนอนหลับต่อได้ เดินไปมาเวลากลางคืน หรือบางครั้งเดินละเมอ เวลาตื่นนอนไม่รู้สึกสดชื่น บางครั้งก็อาจมีอาการปวดหัว กล้ามเนื้อเกร็ง รู้สึกงัวเงีย ความจำไม่ดี อารมณ์หงุดหงิดง่าย หรือบางรายอาจนอนเยอะเกินปกติ
5. ปัญหาเรื่องการควบคุมน้ำหนักและการกินที่ผิดปกติ
น้ำหนักขึ้น-ลงเร็ว ไม่คงที่ บางครั้งน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว หรือบางคนมีปัญหาจากความเครียดทำให้กินไม่หยุดส่งผลต่อนัำหนักที่เพิ่มขึ้น หลายกรณีความเครียดส่งผลต่อการเกิดโรค eating disorder
6. หลีกเลี่ยงการเจอผู้คน และปัญหาที่เผชิญ
การเลี่ยงปัญหา หลีกหนีสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ ไม่เผชิญหน้าในการแก้ปัญหา รู้สึกท้อแท้ ไม่สู้ชีวิต แยกตัวจากสังคมเพื่อนฝูง คนรัก คนรอบข้าง มีภาวะซึมเศร้า ไบโพล่า อารมณ์ไม่คงที่ ปฎิเสธการเข้าสังคม เหล่านี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
7. ปัญหาการเสพติด
การเสพติดใดๆก็ตามมักเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีปัญหาและการเสพติดเป็นการหลีกเลี่ยงการเผชิญปัญหาในการจัดการกับความทุกข์ใจ การเสพติดเป็นการทำให้จิตใจได้รับการผ่อนคลายเพียงระยะสั้นแต่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาระยะยาวบานปลายต่อมา
8. รู้สึกไร้ค่า
มีความคิดโทษตัวเอง รู้สึกว่าทำอะไรก็ล้มเหลว ไม่มีคุณค่า ทำอะไรก็ผิด เป็นสัญญาณที่ไม่ดีของปัญหาด้านสุขภาพจิต บ่อยครั้งชอบวิจารณ์ตัวเองในทางลบ และมักมีความคิดทำร้ายตัวเองหรือมีความคิดฆ่าตัวตาย ไม่ควรปล่อยเลยไปควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน
9. มีพฤติกรรมหรือความคิดแปลกประหลาด
สุขภาพกายและใจนั้นทำงานเชื่อมโยงกัน หากเรามีปัญหาด้านสุขภาพใจ เครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำหรือความคิดที่ไม่ปกติ มีความคิดแปลกประหลาด ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ดังนัันความผิดเพี้ยนที่เกิดจากความผิดปกติด้านสุขภาพจิตจึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
ไม่ใช่ทุกคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตจะสามารถหายหรือดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นหากมีสัญญาณด้านปัญหาสุขภาพจิตเหล่านี้ยาวนานเกิน 2สัปดาห์ควรรีบมาพบนักจิตวิทยาเพื่อได้รับแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งได้รับคำปรึกษาถึงวิธีกระบวนการที่จะช่วยรักษาและบำบัดจิตใจ การเจ็บป่วยด้านจิตใจสามารถส่งผลเสียร้ายแรงมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปโดยไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล การปล่อยปะละเลยและไม่แก้ไขซึ่งอาจสู่สุขภาพจิตใจไปถึงขั้นวิกฤตรวมทั้งทำลายสุขภาพร่างกายอีกดัวย นอกจากนี้ความเจ็บผิดปกติทางใจมักส่งผลกระทบโดยตรงต่อสัมพันธภาพด้านครอบครัวและคนใกล้ชิด
สัญญาทางสุขภาพจิตที่ไม่ดีควรรีบแก้ไข ไม่ควรรอช้าควรรีบติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยให้การรักษาบำบัดด้านจิตใจ
การรักษาอาจทำในรูปแบบการให้คำปรึกษาพูดคุยแบบcounseling หรือทำจิตบำบัด psychotherapyเพื่อให้สภาพจิตใจได้รับการบำบัดฟื้นฟูและกลับมาแข็งแรงเร็วขึ้นผ่านพ้นชีวิตในช่วงวิกฤตและสามารถลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไปได้ด้วยตัวเอง
อ้างอิง
https://ontario.cmha.ca/documents/connection-between-mental-and-physical-health/#:~:text=The%20associations%20between%20mental%20and,of%20developing%20poor%20mental%20health.
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/mental-illness/symptoms-causes/syc-20374968
https://www.healthdirect.gov.au/signs-mental-health-issue
https://www.henryford.com/blog/2020/08/the-difference-between-worry-and-anxiety#:~:text=Worry%220temporary.&text=Worry
https://www.healthdirect.gov.au/insomnia#what-is