1509 จำนวนผู้เข้าชม |
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
EMDR Therapy
การทำจิตบำบัดแบบ EMDR อันตรายไหม?
หลายคนสงสัยว่าการทำบำบัดด้านจิตใจสำหรับผู้ที่มีปมบาดแผลทางใจด้วยจิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์นั้นมีความอันตรายหรือไม่อย่างไร?
คำตอบคือ เทคนิคจิตบำบัดแบบ EMDR ถือได้ว่าการทำจิตบำบัดที่ปลอดภัยที่สุด และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับการรักษาด้านจิตบำบัดรูปแบบอื่นๆ
กระบวนการทำงานของ EMDR อาจมีช่วงแรกที่ต้องนำความทรงจำอันไม่พึงประสงค์กลับมาทำงานด้วย ผู้รับบริการอาจต้องดึงความทรงจำนั้นมาเข้าสู่กระบวนการบำบัดและจัดการกับมันอย่างถูกวิธี
อย่างไรก็ตามการบำบัดด้วยเทคนิค EMDR จะเปลี่ยนผลกระทบด้านลบจากปมบาดแผลทางใจที่อยู่ในความทรงจำ หรือที่เคยถูกกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดหรือความจำอันเลวร้ายเหล่านั้นให้เบาลง
ทำให้เกิดการลดระดับของความเครียดและความวิตกกังวลลง ส่งผลทำให้สภาวะทางด้านจิตใจดีขึ้น การรักษาด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR เป็นการเยียวยาด้านจิตใจที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการเยียวยาร่างกายที่เคยเจ็บป่วยเรื้อรังบ่อยครั้งโรคทางกายหาสาเหตุไม่เจอและทำให้เจ็บป่วยเรื้อรัง การบำบัดด้วยจิตบำบัดEMDR จะช่วยให้บาดแผลทางจิตใจค่อยๆ ดีขึ้นและทำให้ความเจ็บป่วยด้านร่างกายค่อยๆดีขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอาการทางกายที่เห็นชัดเจนที่สุดคือปัญหาการนอนไม่หลับจะค่อยดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผู้ได้รับการบำบัดด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR เห็นตรงกันว่า หลังทำ EMDR Therapy ปัญหาการนอนไม่หลับลดลง ช่วยทำให้สภาวะการหลับดีขึ้นสบายขึ้น
อย่างไรก็ตามยังมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ EMDR Therapy
ในหลายๆ ประเด็นเช่น
คำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและจิตแพทย์จากทั่วโลกสามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่า EMDR Therapy ไม่ใช่การล้างสมองอย่างแน่นอน
แต่จิตบำบัดEMDR เป็นเทคนิคทางจิตวิทยาที่ช่วยให้เราสามารถจัดการกับความทรงจำอันเลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นในชีวิต หรือความคิดลบที่มีต้นตอมาจากปมบาดแผลทางใจในอดีตให้ได้รับการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
การจัดการที่ดีทำให้ความทรงจำอันไม่พึงประสงค์เหล่านั้นค่อยๆคลายปมและเกิดการไหลเวียนด้านความทรงจำในสมอง ส่งผลทำให้ความเครียดหรือความวิตกกังวลที่เคยมีเบาบางลงจนไม่สามารถจะมามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้อีกต่อไปสมองทำงานร่วมกับการรับรู้ทางจิตใจและเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับการทำงานด้านร่างกาย
EMDR Therapy ถือเป็นจิตบำบัดแบบ somatic therapy ที่สมองประสานการทำงานเชื่อมโยงกับทางร่างกาย
ในกระบวนการของเทคนิค EMDR นี้จะมีการกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองด้านผ่านการเคลื่อนไหวทางสายตา หรือการกระตุ้นประสาทสัมผัส การรับรู้การได้ฟังเสียง
สมองมีความทรงจำที่เก็บสะสมไว้ และความทรงจำดังกล่าวอาจเป็นด้านลบ EMDR Therapy ช่วยให้ความทรงจำด้านลบได้ถูกจัดเก็บใหม่ ทำให้ความทรงจำที่ติดค้างได้เกิดการไหลเวียน ไม่ถูกปิดกั้นโดยผ่านการเคลื่อนไหวทางสายตาและการกระตุ้นการทำงานของสมอง โดยอาศัยความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR คอยให้การช่วยเหลือสนับสนุน
เมื่อสมองไม่ถูกปิดกั้น ความทรงจำอันเลวร้ายก็จะเกิดการไหลเวียนส่งผลดีทำให้ช่วยลดระดับความเครียดและความคิดด้านลบให้เปลี่ยนไปในทางเป็นบวกมากขึ้น และยังส่งผลดีต่อร่างกายที่เคยเจ็บป่วยเรื้อรัง นอนไม่หลับ มีภาวะวิตกกังวล หรือโรคบางชนิด เช่น ย้ำคิดย้ำทำ สมาธิสั้น ภาวะซึมเศร้า หรืออาการไบโพล่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีอาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตามระยะเวลาการฟื้นฟูด้านจิตใจในแต่ละคนไม่เท่ากัน เนื่องจากคนทุกคนมีปัญหาที่ซับซ้อนไม่เหมือนกัน ควรปรึกษานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR Therapy โดยเฉพาะเพื่อให้ประเมินสถานการณ์ในกรณีของเรา
อย่างไรก็ตามการเริ่มต้นทำจิตบำบัดด้วยเทคนิค EMDR เพื่อให้สภาวะด้านจิตใจได้รับการเยียวยารักษาบรรเทาอาการก็ยังดีกว่าการปล่อยทิ้งไว้เฉยๆโดยไม่ทำอะไรเลย เมื่อภาวะด้านจิตใจมีปัญหาส่งผลเสียต่อสุขภาพทางกาย
จิตบำบัด EMDR มักได้รับผลกระทบต่อความเข้าใจผิดในบางกรณีสำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจในกระบวนการบำบัด มีอะไรบ้าง?
1. EMDR Therapy ใช้ในการรักษาผู้ที่ประสบภัยพิบัติ หรือ PTSD เท่านั้น
เริ่มแรก EMDR Therapy อาจถูกออกแบบมาเพื่อรักษาอาการปมบาดแผลทางใจ หรือ PTSD ในผู้ที่เกิดบาดแผลทางใจจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายไม่ว่าจะด้วยการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจซึ่งส่งผลต่อความเครียดขั้นรุนแรงในเวลาต่อมา ความเครียดรุนแรงเหล่านั้นสะสมจนเกิดเป็นปัญหาด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพที่ผิดปกติหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
การค้นพบจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ หรือ EMDR therapy ที่มีผลปรากฎชัดเจนว่าการทำบำบัดด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR ไม่ใช่แค่ได้ผลเพียงการรักษาอาการปมบาดแผลทางใจหรือ PTSDได้ เท่านั้นแต่ยังสามารถช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยด้านอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกันให้หายดีด้วย อาทิเช่น ภาวะซึมเศร้า อาการวิตกกังวล ภาวะแพนิค หรือ โรคหลายบุคลิกภาพได้ดีอีกด้วย
2. EMDR Therapy เป็นวิธีการสะกดจิต
เทคนิคจิตแบบบำบัดอีเอ็มดีอาร์ ไม่ใช่การสะกดจิตแต่EMDR Therapy เป็นการทำงานตรงกับสมองโดยใช้การกระตุ้นสมองสองด้าน รวมทั้งการเคลื่อนไหวของสายตา
การบำบัดแบบ EMDR จะแตกต่างกับการทำสะกดจิตซึ่งที่มีภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น หรือ dream- like state โดยสิ้นเชิง
การทำบำบัดด้วย EMDR Therapyผู้รับการบำบัดมีสติสัมปชัญญะตลอดกระบวนการที่ทำตั้งแต่ต้นจนจบ จะไม่มีภาวะที่เหมือนอยู่ในความฝันหรือกึ่งหลับกึ่งตื่นแต่อย่างใด
อย่างไรการทำบำบัดด้วยการสะกดจิตควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น และควรดำเนินการทำบำบัดโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิตเนื่องจากวิธีบำบัดแบบสะกดจิตถือว่าอันตรายและไม่ปลอดภัย เมื่อเทียบกับการรักษาแบบจิตบำบัด EMDR
การบำบัดด้วยการสะกดจิตอาจส่งผลต่อผู้ป่วยจิตเวชเนื่องจากผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง บางรายอาจไม่สามารถแยกแยะโลกความจริงออกจากโลกในจิตนาการได้ และอาจส่งผลเสียต่อสมองและความทรงจำของผู้มารับบำบัดในระยะยาวได้
3. EMDR Therapy น่าเชื่อถือจริงเหรอ?
EMDR ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์และสมาคมนักจิตวิทยาทั่วโลกถึงประสิทธิภาพในการรักษาบำบัดจิตใจ EMDR Therapy มีงานวิจัยสนับสนุนเชิงวิทยาศาสตร์และการรักษาทางการแพทย์มากมายที่ระบุผลการรักษาด้วยเทคนิคEMDR ว่ามีการทำงานอย่างไรและมีผลพิสูจน์ที่เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถช่วยรักษาบำบัดด้านจิตใจได้ดีเพียงใด
รวมทั้ง EMDR Therapy ยังเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์สากลและองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ซึ่งสามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้จากเวบไซต์ต่างๆที่เขียนเกี่ยวกับEMDR Therapy ได้
3. ทุกคนสามารถเข้าสู่กระบวนการจัดการกับความทรงจำอันเลวร้ายด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR ได้เลยทันทีเลยไหม?
ไม่ใช่ทุกคนที่มีความพร้อมในการเริ่มเข้าสู่กระบวนการบำบัดด้วย EMDR Therapy ได้ในทันที เพราะการจัดการกับความทรงจำในอดีตที่เลวร้ายนั้นต้องได้รับการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน
ถึงแม้ว่าการทำ EMDR Therapy เป็นการทำงานตรงกับสมองที่สามารถจัดการกับความทรงจำอันเลวร้ายได้อย่างดี แต่ขั้นเตรียมความพร้อมในการเริ่มกระบวนการทำจิตบำบัดแบบEMDRก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก
เนื่องด้วยสภาวะด้านจิตใจที่ยังไม่แข็งแรงอาจต้องมีการเรียนรู้เทคนิค และทักษะวิธีการเอาตัวรอดเวลาที่ต้องกลับไปเผชิญกับสภาวะอันไม่พึงประสงค์อีก
การต้องกลับไปเผชิญกับสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นหรือความทรงจำอันเลวร้ายในอดีตอีกนั้นควรต้องมีทักษะและเครื่องมือที่ดีพอ เนื่องจากความรู้สึกไม่พึงประสงค์อาจทำให้เกิดความอึดอัดและไม่สามารถจัดการกับสิ่งที่รบกวนจิตใจนั้นได้ จึงต้องอาศัยการเตรียมความพร้อมในขั้นเริ่มต้นให้ดีก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการทำจิตบำบัดแบบ EMDR แล้วผู้มารับบำบัดสามารถที่จะนำเทคนิควิธีจัดการที่ได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญไปใช้รับมือแก้ไขภาวะการถูกกระตุ้นได้เป็นอย่างดี
ขั้นเตรียมความพร้อมด้วยเทคนิคการสร้างความมั่นคงทางจิตใจหรือ เทคนิค Stabilization ผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR จะให้ฝึกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเครื่องมือและเทคนิคกลวิธีในการรับมือกับความทรงจำที่อาจต้องเผชิญ และในขั้นนี้ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมินว่าเราพร้อมสำหรับการเข้าสู่กระบวนการในการจัดการกับปมปัญหาบาดแผลทางใจที่มีอยู่แล้วรึยังและสามารถนำทักษะนี้เข้าสู่กระบวนการอีเอ็มดีอาร์ไปจัดการกับปมในอดีตได้รึยัง
ดังนั้นความพร้อมในขั้นเตรียมตัวถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก การเร่งรัดเข้าสู่กระบวนการทำจิตบำบัดEMDR โดยที่ยังไม่มีความพร้อมจริงจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อการทำจิตบำบัด
ประโยชน์จากการรักษาด้วยจิตบำบัดEMDR มีอะไรบ้าง
1. จิตบำบัดแบบ EMDR ไม่ได้ช่วยแค่รักษาปมบาดแผลทางใจหรือ PTSDเท่านั้น
จิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์สามารถช่วยให้อาการอื่นๆ ดีขึ้นได้ด้วยเช่น ภาวะอาการ dissociative disorder โรคหลายบุคคลิกภาพ ไม่เชื่อมโยงกับตัวเอง depression โรคซึมเศร้า anxiety โรควิตกกังวล
โดยเฉพาะภาวะอาการที่เกิดจากการเชื่อมโยงกับบาดแผลทางใจในวัยเด็ก หรือ earlychildhood trauma
2. EMDR Therapy ช่วยลดความคิดฟุ้งซ่านได้
การทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์สามารถช่วยให้เราระบุ เจาะจงและแยกแยะความคิดที่เกิดมาจากความทรงจำอันเลวร้ายได้ ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้นว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไรเพื่อไม่ให้เกิดความคิดในเรื่องการโทษตัวเองและช่วยลดความคิดที่เป็นลบและตัดความคิดที่ไม่จำเป็นออก ทำให้เราอยู่กับความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการบำบัดให้บรรลุเป้าหมาย
3. EMDR Therapy ให้ผลลัพธ์ที่ไวกว่าTalk therapy
การรักษาด้วยEMDR มีแนวโน้มช่วยเยียวยาด้านจิตใจที่เร็วกว่าการรักษาด้วยวิธีเทคนิคด้านจิตวิทยาแบบอื่นโดยสามารถหาข้อมูลที่เปรียบเทียบการรักษาได้มากมายจากทางเวปไซต์ บางครั้งการพูดคุยปรึกษานักจิตวิทยาอาจช่วยบรรเทาความเครียดได้ในระดับหนึ่งแต่อาจเข้าไม่ถึงการบำบัดรักษาให้หายจากต้นตอของปัญหาและกระบวนการทางความคิด จิตบำบัด EMDR สามารถให้ผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ปัญหาได้มากกว่า
4. EMDR Therapy ช่วยเพิ่ม Self-esteem
เป้าหมายในการทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์เพื่อช่วยจัดการกับความคิดลบและความทรงจำอันเลวร้ายที่เป็นตัวปัญหาทำให้เกิดความเชื่อและทัศนคติที่ไม่เป็นผลดีกับตัวเองเช่น รู้สึกไม่มีพลัง ไม่เข้มแข็ง ไม่มีความสามารถ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทัศนคติด้านลบที่ส่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
การทำจิตบำบัดEMDR ก็เพื่อเข้าจัดการความคิดที่เป็นปัญหาจึงทำให้สมองเกิดการปรับสมดุลย์และส่งผลดีต่อทัศนคติด้านบวก และการมองเห็นคุณค่าในตัวเองเพิ่มมากขึ้น
5. EMDR Therapy ไม่เน้นเล่าปัญหา
การทำจิตบำบัดเป็นการทำงานตรงกับความทรงจำที่อยู่ในสมองด้านในดังนั้นไม่จำเป็นต้องเล่ารายละเอียดออกมาแต่เน้นการทำงานกับตัวเองภายในสมองด้านความคิดที่อยู่ในความทรงจำ และยังส่งผลดีกับคนที่มีปัญหาในการเล่าเรื่องออกมาเป็นคำพูดได้อีกด้วย
6. EMDR Therapy เชื่อถือได้ในทางการแพทย์
จิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
การทำจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมในวงการทางการแพทย์และEMDR Therapyยังเป็นที่แพร่หลายในวงการจิตวิทยาและวงการจิตแพทย์ในระดับสากลทั่วโลกอีกด้วย
หากแต่ต้องได้รับการบำบัดจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกฝนอบรมด้านจิตบำบัดEMDR จนชำนาญเท่านั้นจึงจะสามารถนำทักษะไปใช้ในการบำบัดเยียวยารักษาผู้อื่นได้
อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยจิตบำบัดอีเอ็มดีอาร์ควรทำอย่างต่อเนื่องหรือจนกว่าอาการภาวะต่างๆ ที่เคยมีจะดีขึ้น หรือหายขาด ไม่ควรทำๆทิ้งๆจะเป็นการเสียเวลาและเหมือนต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่
หากเคยทำจิตบำบัดแบบอื่นมาแล้วไม่ได้ผลและสนใจอยากลองบำบัดด้วยจิตบำบัดEMDRสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการนัดหมายผู้เชี่ยวชาญด้าน EMDR Therapy ได้โดยการแอดไลน์ด้านล่าง ทุกปัญหาด้านใจมีทางออก อย่างปล่อยปัญหาลุกลามบานปลาย
อ้างอิง
https://www.simplypsychology.org/dangers-of-emdr-therapy.html
https://mysydneypsychologist.com.au/how-does-emdr-work-a-neuroscience-explanation/#:~:text=Trauma%20Unraveled,like%20normal%2C%20less%20traumatic%20memories.
https://www.simplypsychology.org/dangers-of-emdr-therapy.html