ภาวะ PTSD หลังเหตุกราดยิง กับวิธีดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น?

6470 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภาวะ PTSD หลังเหตุกราดยิง กับวิธีดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น?

ภาวะ PTSD หลังเหตุกราดยิง
กับ
วิธีดูแลสุขภาพจิตวัยรุ่น?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda 
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
 
 
สังคมปัจจุบันมีความวุ่นวายเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำรุนแรง ทำร้ายร่างกายผู้อื่นหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างเหตุกราดยิงในที่สาธารณะ และมีเยาวชนเป็นผู้กระทำผิด รวมทั้งผู้พบเห็นหรืออยู่ในเหตุการณ์ก็เป็นเยาวชนด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่าเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบด้านจิตใจต่อผู้ร่วมเหตุการณ์ในเวลานั้นเป็นอย่างมาก รวมทั้งต้องคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ประสบเหตุในเวลาต่อมาอีกด้วย

เหตุการณ์สะเทือนจิตใจที่เกิดกับเยาวชนผู้บริสุทธิ์ มีผลกระทบที่รุนแรงทั้งความหวาดกลัว หวาดระแวงวิตกกังวลจากการหนีตายเอาตัวรอด และถึงแม้รอดตายมาได้ก็ยังส่งผลกระทบด้านจิตใจอยู่ดี

เมื่อเหตุการณ์สงบลงสิ่งที่ทิ้งไว้ย่อมเป็นปมความทรงจำอันเลวร้ายที่ทำให้ขวัญผวา หรือเป็นภาวะอาการของ Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) ที่ทำให้เกิดความหวาดระแวง กลัวจนตัวสั่น หรือเกิดความหวาดกลัวภายในใจเมื่อเจอตัวกระตุ้น ส่งผลต่อภาวะเครียด หงุดหงิดง่าย ภาวะทางจิตใจถูกรบกวนในระยะยาวหากไม่ได้รับการดูแลหรือการแก้ไขจัดการ
 


เหตุการณ์สะเทือนขวัญส่งผล
อย่างไรกับวัยรุ่นเยาวชนของเรา

ผู้อยู่ในเหตุการณ์ไม่ว่าจะประสบเคราะห์กรรมเป็นเหยื่อ โดนลูกหลงด้วยตัวเอง หรือพบเห็นผู้อื่นถูกกระทำ ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจทั้งทางตรงและทางอ้อม 
 
อาการที่แสดงออกอาจมีดังนี้

1. ปัญหาด้านการนอน นอนไม่ได้ หลับยาก

2. ฝันร้าย

3. รู้สึกสับสน เสียใจ โกรธ หวาดกลัวว่าเหตุการณ์ซ้ำเดิมจะเกิดขึ้นอีก

4. รู้สึกหงุดหงิดง่าย หวาดระแวงถึงความปลอดภัย

5. ไม่สนใจในสิ่งที่เคยมีความสำคัญกับชีวิต

6.  ปวดหัว ปวดท้อง ไม่อยากอาหาร
 
 


งานวิจัยรายงานว่าเหตุกราดยิงมักส่งผลต่อสุขภาพจิตใจในเวลาต่อมา และในวัยรุ่นอาจทำให้เกิดปมบาดแผลทางใจ หรือ   PTSD ซึ่งในเวลาต่อมาอาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

จัดการอย่างไรกับภาวะเครียด และความวิตกกังวลหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

1. ให้เวลากับตัวเองในการฟื้นฟูจิตใจ

ความรู้สึกหวาดกลัว วิตกกังวล อาการหวาดระแวงอาจเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ให้ทำความเข้าใจกับความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหาวิธีผ่อนคลายที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและร่างกาย

2. ดูแลเรื่องจิตใจก่อน

ให้ความใส่ใจในการแก้ไขความรู้สึกกังวล หรือภาวะเครียดที่มีอยู่ ให้เชื่อมั่นตัวเองในการจัดการ หรือรับมือกับภาวะต่างๆ ทางจิตใจให้ได้ กินอาหารที่มีประโยชน์และพยายามคิดบวกจะสามารถช่วยสร้างresilience หรือการฟื้นฟูจิตใจได้

3.  มองหาความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถฟื้นฟูจิตใจที่เกิดปมบาดแผลได้ด้วยตัวเอง การดูแลจิตใจด้วยตัวเองเพียงลำพังอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นบาดแผลทางที่เกิดจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญและความรุนแรงอาจต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในการทำบำบัดและเรียนรู้เทคนิคการฟื้นฟูสภาวะทางจิตใจให้กลับมามีสมดุลย์ที่เป็นปกติดังเดิม ในปัจจุบันการทำจิตบำบัด EMDR  หรือ Brainspotting สามารถช่วยแก้ไขภาวะ PTSD จิตบำบัดทั้งสองแบบเป็นการทำงานตรงจุดในการรักษาภาวะPTSD ที่มีประสิทธิภาพในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับการทำบำบัดแบบtalk-therapy

4.  เชื่อมโยงกับสัมคม

การได้พูดคุยแบ่งปันความรู้สึกและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นให้สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนินถือเป็นสิ่งสำคัญในการได้รับการสนับสนุนด้านจิตใจ และหากเกิดความเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติครอบครัวก็จะได้จับสังเกตุและสามารถหาความช่วยเหลือประสานผู้เชี่ยวชาญได้ทันถ่วงที

5.  หยุดเสพสื่อชั่วคราว

เป็นปกติที่หลังเกิดเหตุการณ์ ข่าวทุกช่องมักเผยแพร่ออกสื่อ นั้นยิ่งสร้างความสะเทือนใจและส่งผลต่อความเครียดและยิ่งส่งผลต่อภาวะอาการ PTSD ดังนั้นเราควรต้องออกห่างหรือหยุดรับข่าวสารของเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นไประยะหนึ่งเพื่อเป็นการลดความเครียด

6. แบ่งปันความรัก

ในขณะที่สังคมมีแต่ความเกลียดชังเราสามารถทำให้สังคมดีขึ้นด้วยการมีส่วนร่วมอาจไปช่วยเป็นจิตอาสาให้กับผู้ประสบชะตากรรมเดียวกัน ออกไปช่วยเหลือให้การสนับสนุนผู้คนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญเหมือนกันกับเราเพื่อทำให้จิตใจเราได้รับการเยียวยา
 
 

ข้อคิดด้านสังคม

เหตุกราดยิงในที่สาธารณะที่เกิดขึ้นได้พรากชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปจากคนที่รัก และครอบครัวอย่างที่ไม่ทันได้ตั้งตัว โดยผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน เราอาจต้องตั้งคำถามกลับไปยังสังคมว่าเกิดอะไรขึ้นกับปัญหาด้านสุขภาพจิตของเยาวชนของเรา ในขณะที่เรากังวลถึงความปลอดภัยและเป็นห่วงสภาพจิตใจของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ แต่เราก็ยังเผยแพร่สื่อแบบไม่หยุดหย่อนโดยไม่มีลิมิต สื่อที่เผยแพร่อย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบด้านความวิตกกังวลและความเครียดต่อเหตุการณ์ที่อาจเกิดซ้ำในอนาคต การเสพสื่อส่งผลต่อภาวะซึมเศร้า และบาดแผลทางใจ นอกจากนี้ข่าวเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในต่างประเทศด้วยเช่นกัน ก็ส่งผลต่อความเครียด ความกังวลต่อภาวะทางจิตใจด้านและความปลอดภัยของคนในสังคมโดยเฉพาะเยาวชน

ในทำนองเดียวกันการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ผู้รอดชีวิตเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ การให้ความรู้กับพ่อแม่ผู้ปกครองในการดูแลเลี้ยงดูบุตรหลานและการร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานภาครัฐในการดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งการเข้าถึงอาวุธ และอุปกรณ์อันตรายต่างๆ ของเยาวชน และผู้มีความบกพร่องด้านภาวะทางจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรมีมาตรการที่รัดกุมและเคร่งครัด เราทุกคนในสังคมล้วนเกี่ยวข้อง และควรรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการร่วมมือช่วยกันแก้ไข

 

อ้างอิง:

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/democratizing-mental-health-care/202211/how-mass-violence-affects-teen-mental-health

https://www.police1.com/active-shooter/articles/is-there-a-valid-psychosocial-explanation-for-school-shootings-D9ixuj3FVIjvPpDu/

 

https://www.livescience.com/25666-mass-shooting-psychology.html

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้