1076 จำนวนผู้เข้าชม |
EMDR Therapy กับภาวะ Autism
ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D)
Dr. Marid Kaewchinda
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
นักจิตบำบัด EMDR Psychotherapy/ Brainspotting Psychotherapy Practitioner
จิตบำบัดแบบ EMDR ช่วยภาวะออทิสติกได้อย่างไร?
แม้ว่า EMDR Therapy จะถูกออกแบบมาเพื่อรักษาอาการปมบาดแผลทางใจ หรือปมค้างใจต่างๆ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Post-traumatic stress disorder (PTSD) รวมทั้ง Complex PTSD
ภาวะอาการของ PTSD สามารถสร้างปมความทรงจำอันเลวร้ายและเกิดผลเสียจนส่งผลต่อการแสดงออกทางด้านปัญหาสุขภาพร่างกายและปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงในรูปแบบอื่นตามมา เช่น ทำให้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไบโพล่า mood swing โรคแพนิค schizophrenia หรือ อาการทางจิตเวชลักษณะอื่น ๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตามจากการเก็บข้อมูลเชิงการรักษาทางการแพทย์พบว่าหลังจากการที่ผู้เชี่ยวชาญได้นำจิตบำบัดแบบ EMDR มาใช้รักษาบำบัดผู้ที่มีภาวะออทิสติก (Autism spectrum disorder, ASD) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก
EMDR Therapy เป็นประโยชน์กับผู้ที่เป็นออทิสติกอย่างไร?
การรักษาด้วยจิตบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (EMDR Therapy) มีความยืดหยุ่น และไม่ต้องเล่าเรื่องราวออกมาเป็นภาษาคำพูดหรือใช้ภาษาสื่อสารมากมายซึ่งเป็นรูปแบบการบำบัดที่เอื้อต่อผู้มีภาวะออทิสติกเป็นอย่างดี
EMDR Therapy เป็นจิตบำบัดที่มีรูปแบบชัดเจน แต่ยืดหยุ่นและมีขั้นตอนที่ทำตามได้ง่ายไม่ซับซ้อน
เด็กที่มีภาวะเป็นออทิสติก ส่วนใหญ่มักมีความเสี่ยงต่อการเจอประสบการณ์ในชีวิตที่เลวร้ายในชีวิต เช่น การถูกกลั่นแกล้ง ล้อเลียนอ่อนไหวต่อประสิทธิภาพด้านความสามารถของร่างกายและสติปัญญา หลายครั้งทำให้มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย รวมทั้งเรื่องความมั่นใจในตัวเองและการยอมรับจากสังคมโดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อนรอบข้าง
การทำจิตบำบัดแบบ EMDR (EMDR Therapy) เป็นการทำงานกับความทรงจำที่มีอยู่ภายในจิตใจโดยไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือต้องใช้ภาษาที่ชัดเจนมากมายเพื่อถ่ายทอดให้นักบำบัดฟัง ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่มีภาวะออทิสติกซึ่งการสื่อสารมักเป็นอุปสรรคต่อการบำบัดรักษาบาดแผลทางใจ
EMDR Therapy มีความยืดหยุนต่อการบำบัดด้านจิตใจโดยเทคนิคการบำบัดจะทำงานกับอารมณ์ ใช้จินตนาการ แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ การรับรู้ต่อร่างกายระบบประสาทสัมผัส ความนึกคิด และช่วยในการจัดการกับสถานการณ์ที่ทำให้เจ็บปวดทั้งหลาย และสามารถนำประสบการณ์เลวร้ายต่าง ๆ เข้าสู่กระบวนการเยียวยาบาดแผลทางใจ โดยไม่ต้องอธิบายหรือสื่อสารออกมาเป็นคำพูดที่มากมาย
EMDR Therapy สามารถช่วยลดอารมณ์โกรธ หงุดหงิด ความเครียด ความวิตกกังวล และ ความกลัว รวมทั้งความรู้สึกสับสนต่างๆกับผู้ที่มีภาวะออทิสติกได้
EMDR Therapy ช่วยรักษาอาการภาวะที่เกิดจากออทิสติกได้อย่างไรบ้าง?
จิตบำบัดแบบ EMDR ทำงานตรงกับสมองส่วนความทรงจำ จึงช่วยเยียวบาดแผลทางใจทำให้อาการของโรคออทิสติกดีขึ้นได้ดังนี้
1. ช่วยลดอาการวิตกกังวล (Anxiety)
2. EMDR ช่วยในเรื่องการพัฒนาด้านสังคมและเข้าใจเรื่องการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดีขึ้น มีตัวช่วยและที่พึ่งในการเรียนรู้เรื่องทักษะทางสังคม
3. EMDR ช่วยเสริม self-esteem และสร้างความมั่นใจ
4. EMDR ช่วยสามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารที่มีสุขภาวะด้านจิตใจที่ดี สื่อสารในทางบวก
5. EMDRช่วยให้เกิดการรักษาระดับในการควบคุมตัวเอง ภาวะอารมณ์ของตนเองได้ดี
6. EMDR ช่วยภาวะออทิสติกด้านพฤติกรรม และช่วยปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีภาวะออทิสติก
7. การทำจิตบำบัดEMDR สามารถช่วยเยียวยาจิตใจพวกเขาและทำให้เขามั่นใจต่อการทำภาระกิจต่างๆให้สำเร็จลุล่วง
ความท้าทายในการรักษาเยียวยาผู้มีภาวะออทิสติกด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR คืออะไร?
หัวใจสำคัญในการบำบัดผู้มีภาวะออทิสติกด้วย EMDR therapy คือ ความเข้าใจ อดทนและเคารพให้เกียรติผู้มารับบริการ ซึ่งถือเป็นหลักโดยทั่วไปพื้นฐานที่ต้องมี และสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ต้องสร้างและพัฒนาเรื่องความเชื่อใจในการรักษาให้เกิดในผู้ที่มารับบริการโดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะออทิสติกเพื่อให้เกิดประสิทธิผลและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันทั้งนักบำบัดและผู้มารับบริการ
ถึงแม้ว่าภาวะออทิสติกจะไม่สามารถหายได้เนื่องจากเป็นความบกพร่องที่เกิดจากการทำงานของสมองโดยกำเนิด แต่การได้รับการทำจิตบำบัดอย่างต่อเนื่องสามารถทำให้ผู้มีภาวะออทิสติกสามารถพัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้ดีขึ้นได้โดยเฉพาะทักษะด้านสังคมที่มักเป็นปัญหาสำคัญ
การรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะออทิสติกยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งเป็นผลดีกับการพัฒนาศักยภาพและเป็นโอกาสให้เซลล์ประสาทในสมองได้มีการเชื่อมต่อและเติบโตเพิ่มขึ้น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในวัยเด็กการพัฒนาและการดูแลเด็กที่มีภาวะออทิสติกจึงเกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาอาชีพมากมายเช่น จิตแพทย์ ครูนักการศึกษาพิเศษ นักจิตบำบัด นักจิตวิทยา นักพฤติกรรมบำบัด นักภาษาบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักพัฒนาการบำบัด และพยาบาล เป็นต้น
และในเด็กออทิสติกทุกระดับมักจะประสบปัญหาในหลายเรื่อง เกี่ยวกับประสาทสัมผัส การสื่อสาร ด้านสังคม การควบคุมความวิตกกังวล และปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ รวมทั้งมีผลการวินิฉัยที่บ่งบอกอาการอื่นร่วมด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive compulsive disorder, OCD) โรคหวาดระแวงการเข้าสังคม (Social anxiety) หรือโรคหวาดกลัวการสื่อสาร (Social communication disorder)
อย่างไรก็ตามการทำจิตบำบัดแบบ EMDR สามารถช่วยลดผลกระทบด้านจิตใจที่มีผลการกระทำมาจากด้านสังคมได้ในด่านแรกเพื่อช่วยให้อาการที่รบกวนต่างๆ ของภาวะออทิสติกให้ลดลง และได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านการพัฒนาทางสังคมเป็นอย่างดีโดยทั้งนี้ควรได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองหรือผู้แลในการมารับบำบัดอย่างต่อเนื่องจนเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นด้วย
อ้างอิง
https://www.verywellhealth.com/could-my-child-outgrow-autism-260591
http://www.emdryorkshire.org/resource/meeting-may-2019-presentation.pdf
https://www.emdria.org/blog/emdr-therapy-and-autism/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC9806468/#:~:text=EMDR%20may%20be%20particularly%20suited,different%20levels%20of%20cognitive%20ability.
https://www.webmd.com/brain/autism/mental-health-aspergers-syndrome
https://www.appliedbehavioranalysisprograms.com/faq/does-emdr-benefit-a-child-with-autism/