EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์สำคัญอย่างไร?

462 จำนวนผู้เข้าชม  | 

EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์สำคัญอย่างไร?

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 

EQ หรือความฉลาดทางอารมณ์สำคัญอย่างไร?

องค์ประกอบด้านความฉลาดทางอารมณ์นั้นเป็นทักษะที่จะช่วยให้เราสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ในทุกๆ ด้าน เราควรให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านอารมณ์ และควรประเมินทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ของตัวเองอยู่เสมอ

EQ ส่งผลต่อชีวิตเราอย่างไร?

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ไม่ดี มักจะไม่มีทักษะในการจัดการด้านอารมณ์ของตัวเอง และมักโทษคนอื่นเสมอ ในระยะยาวคนมี EQ ต่ำมักประสบปัญหาด้านความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า ใช้สารเสพติด หรืออาจมีความคิดฆ่าตัวตายได้ อย่างไรก็ตามทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์สามารถพัฒนาและฝึกฝนได้ หากเรียนรู้และเข้าใจองค์ประกอบต่างๆดังนี้

ทักษะที่ 1 คือ ทักษะด้านตัวเอง

ควรมีการตระรู้ในตัวเองและสามารถบ่งชี้ถึงอารมณ์ความรู้สึกที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราที่แสดงออกมา เพื่อเพิ่มทักษะความเข้าต่อตัวเอง และรู้ข้อดีข้อเสียของตัวเอง

ทักษะที่ 2 คือ ความสามารถในการรับมือกับอารมณ์

เราควรรู้ตัวเองเมื่อถูกกระทบด้านอารมณ์ความรู้สึก หาวิธีสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ หาวิธีการจัดการกับปัญหาของตัวเองทั้งการจัดการด้านความเครียด และด้านเวลาของตัวเอง

ทักษะที่ 3 ทักษะด้านความรู้และเข้าใจผู้อื่น

เราควรมีทักษะในเรื่องอารมณ์และความจำเป็นของตัวเองเป็นอย่างดี แต่ก็ไม่ควรลืมที่จะช่วยเหลือหรือใส่ใจในความจำเป็นของผู้อื่นด้วยซึ่งเป็นทักษะด้านสังคมที่สำคัญในการพึ่งพาอาศัยกัน

ทักษะที่ 4 ทักษะด้านการรักษาความสัมพันธภาพ

เราควรมีทักษะด้านการสื่อสารที่ชัดเจนและไม่เป็นพิษ และควรแสดงออกถึงการกระทำอย่างตรงไปตรงมาตามที่พูด ซึ่งความจริงใจจะช่วยรักษาให้สัมพันธภาพคงอยู่ต่อไปได้

อย่างไรก็ตามนอกจากเราควรต้องตระหนักรู้ทางด้านอารมณ์ของตัวเองแล้วเราควรพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์เพื่อให้เข้าใจผู้อื่น ความสามารถในการจัดการกับภาวะด้านอารมณ์ของตัวเองต่อการแสดงออกและให้เกียรติผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นกระบวนการขั้นตอนด้านความฉลาดทางอารมณ์มักเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้อื่นด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนด้านจิตใจ การให้กำลังใจหรือให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นเนื้อหาสาระอย่างมืออาชีพ

ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยให้เราสามารถพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้คนรอบข้างและการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะด้าน EQ สามารถช่วยให้เรามีทิศทางและมองเห็นชัดเจนในสถานการณ์การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นซึ่งมีความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี เข้าใจความต้องการและภาวะด้านจิตใจของผู้อื่น รวมทั้งเข้าใจและสามารถจัดการกับภาวะอารมณ์ของตัวเองที่ส่งผลด้านอารมณ์ และสามารถเอาชนะอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลต่อการทำภาระกิจให้ลุล่วงไปได้

 

10 สัญญาณเตือนว่าเรากำลังเผชิญกับภาวะปัญหาEQ หรือความฉลาดทางอารมณ์

1.  เครียดง่าย

จัดการความเครียดของตัวเองได้ยาก ทำให้สะสมและลุกลาม

2. มีปัญหาในการควบคุมตัวเอง

มีปัญหาในการรักษาสมดุล ด้านพฤติกรรม ความมีเมตตา ความใจดี ไม่รู้ขอบเขต บ่อยครั้งมักสร้างศัตรู

3.  มีความรู้ด้านภาวะอารมณ์ที่แตกต่างค่อนข้างจำกัด

ไม่สามารถระบุอารมณ์ที่เผชิญอยู่ได้อย่างชัดเจน

4.  ด่วนสรุปและตัดสิน 

คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะรู้ดีว่าการเชื่ออะไรสักอย่างต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนเนื่องจากความคิดเห็นแรกมักเป็นอิทธิพลมาจากอารมณ์ หากคนมี EQ ไม่ดีได้เป็นผู้นำอาจทำให้องค์กรมีปัญหาได้

5. ใช้ชีวิตอย่างขมขื่น

ไม่ปล่อยวางสิ่งที่ทำให้ใจขุ่นเคืองรวมทั้งสิ่งที่ทำให้เครียด กลัวและกังวลในอดีตด้วย งานวิจัยเผยให้เห็นว่าความเครียดมักมีผลต่อความสัมพันธ์ด้านภาวะทางกายโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ

6. หนีปัญหา

คนที่ EQ ไม่ดีจะกลัวความผิดพลาด คนฉลาดทางอารมณ์จะนำข้อผิดพลาดมาเป็นแรงพลัดดันเพื่อก้าวต่อไปและทำให้ดีกว่าโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต แต่คน EQ ไม่ดีจะหวาดกลัวและหลีกเลี่ยงให้ห่างไกลกับการเผชิญหน้ากับสิ่งที่เคยทำผิดพลาดและล้มเหลวมาก่อน

7.  การสื่อสารมีปัญหา

ไม่สื่อสารสิ่งที่ตัวเองต้องการให้ถูกต้อง หรือหลายครั้งมักทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด

8. ไม่รู้ตัวเวลาถูกกระตุ้น

ทุกคนสามารถถูกกระตุ้นให้โกรธได้ แต่คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะรู้ว่าจะจัดการและรับมือกับสถานการณ์นั้นอย่างไรและสามารถควบคุมมันได้

9.  ปกปิดความต้องการและความรู้สึกที่แท้จริง

คนมี EQ ไม่ดีมักไม่แสดงออกด้านอารมณ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และมักซ่อนเร้นความรู้สึกที่แท้จริงอยู่ตลอดเวลา

10.  ชอบโทษคนอื่น

เราทุกคนเป็นผู้รับผิดชอบต่ออารมณ์และความรู้สึกของเราเองร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่มีอิทธิพลจากใครสามารถทำให้เรารู้สึกแย่ได้หากเราไม่เปิดรับหรืออนุญาตให้

 



ยิ่งไปกว่านั้นจะเห็นได้ว่า EQ ( Emotional quotient หรือ emotional intelligence) หรือความฉลาดทางอารมณ์นั้นเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จในชีวิตของเราในทุกๆเรื่อง

ไม่ว่าจะความสำเร็จในหน้าที่การงานและความสำเร็จในชีวิตส่วนตัว ครอบครัวและทักษะทางสังคม  ความฉลาดทางอารมณ์ช่วยให้เราเข้าใจและจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้เป็นอย่างดี

หากเรามีความฉลาดทางอารมณ์ในระดับต่ำ การควบคุมอารมณ์และการแสดงออกทางอารมณ์ก็จะมีปัญหาส่งผลด้านลบในทุกๆเรื่องโดยเฉพาะสัมพันธภาพต่อตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นจึงควรเรียนรู้และพัฒนาทักษะด้าน EQ ให้แข็งแกร่งและเติบโตด้วยเทคนิคดังนี้

 



9 ขั้นตอนในการพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์

1. ตระหนักรู้ในตัวเอง

ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และวิธีการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกนั้น สามารถระบุได้ว่าเป็นความรู้สึกและอารมณ์แบบใด เพื่อให้สามารถเข้าใจและติดตามได้ในครั้งต่อๆ ไป จดบันทึกถึงสาเหตุและผลที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้

2. รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น

การเข้าใจตัวเองเป็นจัดเริ่มต้นในการสะท้อนถึงความเข้าใจและพฤติกรรมรวมทั้งการสื่อสารต่อคนอื่น เรียนรู้ที่จะปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะสม หากไม่แน่ใจควรสอบถามหรือเช็คความสำคัญอันดับต้นๆ จากผู้อื่นก่อน

3. ฝึการเป็นผู้ฟังที่ดี

การสื่องานมีทั้งแบบที่เป็นการพูดและภาษาทางกาย ดังนั้นควรฝึกฟังและสังเกตปฎิกิริยาทางกายทั้งบวกและลบ การฟังเป็นพื้นฐานสำคัญในการแสดงถึงการให้เกียรติผู้อื่น ดังนั้นในขณะที่ฝึกการรับฟังควรมีการพยักหน้าแสดงความเข้าใจและควรเน้นย้ำหรือพูดเน้นในประเด็นสำคัญเพื่อแสดงออกถึงความเข้าใจ

4.  สื่อสารให้ชัดเจน

การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญต่อการพัฒนาด้านEQ การสื่อสารที่ชัดเจนทั้งการพูดและการเขียนในการส่งข้อความหรือสารเป็นการสร้างทักษะด้านความสัมพันธ์ให้เข้มแข็งมากขึ้น เช่น การสื่อสารของเจ้านายในที่ทำงานอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ต้องการเพื่อให้ทุกคนมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน การสื่อสารต้องมีความชัดเจน และควรสร้างช่องทางการสื่อสารกันเพื่ให้ผู้อื่นสามารถสื่อสารความรู้สึกเขาให้เรารับรู้ได้

5.  มองบวก

คนมีความฉลาดทางอารมณ์ จะเข้าใจว่าพลังงานบวกสำคัญอย่างไรและมักใช้คำพูดด้านบวกในการสื่อสารและให้กำลังใจคน โดยอาจสื่อสารผ่านทางอีเมล์หรือการใช้ภาษาทางกาย เมื่อเรามองบวกในสถานการณ์ที่ย่ำแย่หรือมีความกดดังสูง เราจะสามารถช่วยให้ผู้อื่นสงบใจได้ ทัศนคติที่ดี สามารถช่วยเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ถึงแม้ว่าเป็นธรรมดาที่พลังงานด้านลบมักคอยมารบกวนจิตใจก็ตามแต่การจำกัดความคิดลบจะช่วยส่งผลต่อการแก้สถานการณ์และปัญหาต่างๆ ได้

6.  มีความเห็นใจผู้อื่น

คนมี EQ ดีจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถึงแม้เหตุการณ์นั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นกับตนเองโดยตรงแต่ก็รู้สึกได้ถึงความเจ็บปวดที่ผู้อื่นมี รวมทั้งให้เกียรติคนอื่นและทำให้คนอื่นรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด

7.  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง

คนมี EQ มักจะเป็นคนเข้าถึงง่าย ไม่ถือตัวรับฟังและเข้าใจมุมมองของผู้อื่น เปิดใจเรียนรู้ในสิ่งใหม่ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ และพร้อมที่จะนำมาปรับใช้กับชีวิตเสมอ

8.  รับฟังข้อเสนอแนะ

คนมี EQ ดีจะพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นในการกระทำของตัวเอง รับผิดชอบและพร้อมที่จะปรับปรุงเพื่อจะได้เกิดการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

9.   สงบนิ่งภายใต้ภาวะกดดัน

ความฉลาดทางอารมณ์สำคัญมากในเวลาเจอสถานการณ์คับขันกดดัน คนมี EQ ดีจะนิ่งมั่นคงและโฟกัสไปที่การหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้ทุกคนไปถึงจุดหมาย และมักช่วยให้ผู้อื่นพัฒนาทักษะในด้านความคิดและการแก้ปัญหาอย่างสงบสันติ

 

 

การพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ นั้นสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ดังนั้นเราควรเปิดรับสิ่งใหม่ๆที่ดีต่อตัวเองและช่วยให้ชีวิตได้พัฒนาด้านจิตใจไปในทางที่ดีอยู่ตลอดเวลา หากรู้สึกว่าการพัฒนาทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก หรือมีปัญหาในการจัดการกับอารมณ์ที่ไม่คงที่ของตัวเอง ก็ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อช่วยปรับปรุงวิธีการดำเนินชีวิตให้ดีขึ้นต่อไป


อ้างอิง

https://www.talentsmarteq.com/11-signs-that-you-lack-emotional-intelligence/#:~:text=People%20who%20fail%20to%20use,and%20even%20th

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้