6 ทักษะวิธีในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) Depression

107 จำนวนผู้เข้าชม  | 

6 ทักษะวิธีในการต่อสู้กับโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) Depression

6 ทักษะวิธีในการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

ภาวะซึมเศร้า อาจทำให้เรารู้สึกแย่ หมดพลัง หดหู่ สิ้นหวัง ทำให้ชีวิตเจอแต่อุปสรรคและความยากลำบากในทุกกิจกรรมที่อยากทำ แต่อย่างไรก็ตามการถึงแม้ภาวะซึมเศร้าอาจเป็นอุปสรรคขัดขวางชีวิตที่มีความสุข แต่นั้นก็ไม่ได้แปลว่าเราจะออกจากภาวะซึมเศร้านี้ไม่ได้ ดังนั้นเราควรลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อต่อสู้ให้ภาวะซึมเศร้าหายไปจากชีวิต ด้วยการเรียนรู้ทักษะการเอาชนะโรคซึมเศร้าอาจช่วยให้เราดีขึ้นได้ดังนี้

 



ทักษะที่1

พยายามเข้าสังคม

ถึงแม้ภาวะซึมเศร้าจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยกับการพูดคุยกับคน แต่อย่าลืมว่าการเข้าสังคมทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นจะช่วยให้เราเปิดมุมมองใหม่ๆ และช่วยให้อารมณ์สดชื่นมากกว่าการเก็บตัวอยู่คนเดียว สร้างเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ สำหรับการช่วยสนับสนุนด้านจิตใจ มองหาความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง เพื่อนและผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้น

ทักษะที่2

เลือกทำกิจกรรมที่สร้างสุขให้ตัวเอง

การจะเอาชนะกับภาวะซึมเศร้า เราควรเลือกทำกิจกรรมที่ฟื้นฟูพลังงาน กิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย และควรดูและเรื่องการใช้ชีวิตที่มีสุขภาวะด้านการกินที่มีประโยชน์ การนอนให้เป็นปกติ เรียนรู้เรื่องการควบคุมความเครียด ไม่หักโหม และมีตารางกิจกรรมที่สนุกแต่ไม่แน่นจนเกินไป

ทักษะที่3

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าที่ได้ผลเป็นอย่างยิ่ง การออกกำลังกายวันละ 30 นาทีทุกวันจะช่วยให้ภาวะซึมเศร้าดีขึ้น รวมทั้งควรฝึกทำสมาธิเพื่อเป็นการลดภาวะอาการของโรคซึมเศร้าให้ได้ผลอย่างรวดเร็วและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีก

ทักษะที่4

ออกรับแสงแดด

การได้สัมผัสกับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าช่วยทำให้จิตใจและอารมณ์มีระดับเพิ่มขึ้นของสารเซโรโทนินซึ่งช่วยเรื่องภาวะซึมเศร้าให้ดีขึ้นได้

 

ทักษะที่5

จัดการกับความคิดที่เป็นลบ

ภาวะซึมเศร้าทำให้เรามีความรู้สึกอ่อนแอ สิ้นหวัง และมีแต่ความคิดด้านลบกับทุกสิ่ง ภาวะซึมเศร้าทำให้เราเป็นกังวลกับทุกเรื่องและมองไม่เห็นโอกาส มองเห็นแต่ความผิดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

พยายามเอาชนะความคิดลบเหล่านั้นด้วยการฝึกคิดแบบที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักอ้างอิงความเป็นจริงและเรียนรู้จากความไม่สมบรูณ์แบบที่อาจเกิดขึ้น ยอมรับในความผิดพลาดที่อาจมีบ้างในบางครั้งโดยไม่ต้องเข้มงวดกับตัวเองมากจนเกินไป ยอมรับความผิดพลาดและให้อภัยตัวเอง เรียนรู้ที่จะปรับปรุงและปรับสมดุลการใช้ชีวิตและก้าวไปต่อ การปรับเปลี่ยนมุมมองทัศนคติและความคิดที่เป็นบวกจะช่วยให้ภาวะซึมเศร้าลดลงได้  หากไม่สามารถจัดการกับความคิดที่เป็นปัญหาของตัวเองได้อาจลองมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำจิตบำบัด EMDR หรือ Brainspotting ที่ทำงานตรงกับสมองด้านความคิดและความทรงจำ

ทักษะที่6

กินอาหารที่มีประโยชน์และนอนหลับให้เพียงพอ

ผักผลไม้ช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายปรับสมดุลได้ดีขึ้น ช่วยด้านอารมณ์ ควรลดอาหารเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบด้านอารมณ์ไม่สมดุลย์ เช่น กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีส่วนผสมของสารเคมีเจือปนส่งผลเสียต่อการปรับสมดุลย์ฮอร์โมนของร่างกายทำให้อารมณ์แปรปรวนไม่คงที่  และกระตุ้นให้ร่างกายทำงานหนักหรือเสพติด

ปรับการนอนไม่ให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพื่อป้องกันการรบกวนด้านอารมณ์ จัดห้องนอนให้ผ่อนคลาย เงียบสงบและมีอากาศเย็นสบาย เพื่อให้นอนหลับได้อย่างสนิทและมีคุณภาพ อาจทำกิจกรรมเบาๆ เล็กน้อยบนเตียงก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือหรือทำสมาธิก่อนนอน

ทักษะดังกล่าวอาจช่วยให้เรารับมือกับภาวะซึมเศร้าที่รบกวนจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวันในเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ตามหากภาวะอาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่ยังไม่หายไปหรืออยู่นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ไม่ควรรอช้าควรหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อแก้ไขภาวะซึมเศร้าไม่ให้เรื้อรังบานปลาย การที่ไม่สามารถเอาชนะภาวะโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเองนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยที่หลากหลายดังนั้นการมาพบผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

 

อ้างอิง

https://www.helpguide.org/mental-health/depression/coping-with-depression

https://www.helpguide.org/mental-health/depression

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้