ความคิดลบและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีวิธีรับมืออย่างไร?

73 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความคิดลบและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีวิธีรับมืออย่างไร?

ความคิดลบและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

มีวิธีรับมืออย่างไร?

 

 

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

 
ถ้าหากลองใช้เวลาอยู่กับแม่สักหนึ่งวันและรู้สึกว่าทำไมรู้สึกเหนื่อยหมดพลังงาน แม่พูดแต่เรื่องลบ มองโลกในแง่ร้าย ไม่รู้สึกว่าในชีวิตนี้จะมีสิ่งดีๆ เข้ามาอีกต่อไป รู้สึกหมดหวังสิ้นศรัทธาและชอบบ่นในทุกเรื่องและทุกสถานการณ์ ความคิดลบเหล่านี้อาจกลายเป็นนิสัยหรือเป็นวิธีในการเรียกร้องความสนใจจากลูก

อย่างไรก็ตามหลายครั้งความคิดด้านลบอาจเป็นสัญญาณของภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้านั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ควรหาวิธีรับมือและมีแนวทางขั้นตอนที่ดี วิธีที่ได้ผลกับท่านหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ผลกับอีกท่านหนึ่ง ดังนั้นควรศึกษาวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ใหญ่ในครอบครัวของเราและประเด็นอ่อนไหวที่ควรหลีกเลี่ยงบางประการ

 



โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นอย่างไร?

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนเหงาหงอยไม่ร่าเริง ในขณะที่บางคนหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับหรือนอนเยอะเกินไป ภาวะต่างๆ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้และมักแสดงอาการเหล่านี้

สัญญาณเตือนของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ


  • ปัญหาการนอน
ในภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุมักส่งผลต่อการหลับที่เป็นปัญหา ผู้สูงอายุอาจตื่นเช้ามากเกินปกติหรือรู้สึกไม่ได้พักผ่อนเพียงพอแม้หลังนอนหลับมาอย่างยาวนาน

 

  • ปัญหาด้านการกิน
ภาวะซึมเศร้าทำให้ผู้สูงอายุไม่อยากอาหาร หรืออยากกินแค่อาหารบางอย่างเท่านั้น ปริมาณที่กินอาจน้อยเกินหรือมากเกินพอดี

  • ไม่อยากทำกิจกรรมใด
บางครั้งภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการหลีกห่างสังคมรวมทั้งทำให้เบื่อกิจกกรมต่างๆ ที่เคยทำ เบื่องานอดิเรก เบื่อรายการบันเทิง เบื่อกิจกรรมต่างๆ ที่เคยชอบ และบางครั้งไม่สนใจในการโฟกัสกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่มี

  • รู้สึกผิด ไร้ค่า ไม่ดีพอ
ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้รู้สึกไร้ค่า อ่อนแอและล้มเหลว กังวลและคิดว่าเป็นความผิดของตนในทุกเรื่อง ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีเหตุผลหรือที่มาที่ไปแต่รู้สึกอ่อนไหวทางด้านจิตใจได้ง่าย

  • หงุดหงิดง่าย โกรธโมโหง่าย ไม่กระตือรือร้น
ภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อการอารมณ์และอยากหลีกห่างสังคม และไม่สนใจอยากจะสมาคมกับใครและมีความโกรธโมโห หงุดหงิดใส่คนอื่นง่าย

  •  ขี้ลืมและไม่ใส่ใจ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีปัญหาเรื่องการใส่ใจให้ความสำคัญกับรายละเอียดในการตัดสินใจ ไม่มีสมาธิและขี้ลืม

 



เมื่อพ่อหรือแม่อายุมากและมีความคิดด้านลบที่มากเกินปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะโรคซึมเศร้า สาเหตุด้านความเครียด ความไม่ได้ดั่งหวัง หรือมีปัญหาด้านสุขภาพจิตต่างๆ ก็อาจเป็นปัจจัยให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้ ดังนั้นควรเข้าช่วยเหลือให้ความใส่ใจดูแลเป็นอย่างดีด้วยความห่วงใย เปิดใจพูดคุยกับพ่อแม่ ทำหน้าที่ของลูกด้วยการให้ความสนับสนุนด้านจิตใจและไปอยู่ใกล้ๆ โดยเฉพาะในเวลาที่ท่านต้องการ

 

ความคิดลบอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

1. ความเครียดและวิตกกังวล

ชีวิตมักเต็มไปด้วยความเครียด พ่อแม่ที่สูงอายุมักแบกรับความวิตกกังวลจนรู้สึกเพียงพอแล้วไม่อยากต่อสู้แล้วจนเกิดเป็นความคิดด้านลบ

2. ไม่ได้ดั่งใจ

บางครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกว่าไม่ได้รับการสนุบสนุนในสิ่งที่ต้องการ ไม่รู้สึกพึงพอใจและกลายเป็นความหงุดหงิดใจและส่งผลต่อทัศนคติด้านลบ

3. ปัญหาด้านสุขภาพจิต

ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาวะอารมณ์และทำให้เกิดการมองโลกในแง่ลบ

4. บุคคลิคและนิสัย

บางคนมีลักษณะนิสัยที่มักคิดไปในทางลบจนชินกลายเป็นบุคลิกนิสัย

5. กลัวการเปลี่ยนแปลงหรือการสูญเสีย

ด้วยอายุที่มากขึ้นผู้สูงอายุในบ้านมักกังวลกับการเปลี่ยนแปลงหรือการแยกจากสูญเสียซึ่งนำพาสู่การมีทัศนคติความคิดเชิงลบ

6. มีลักษณะที่ชอบควบคุมผู้อื่น

ในบางกรณีที่พ่อแม่มีบุคลิกภาพแบบ Narcissistic หรือ toxic ก็อาจมีแนวโน้มในเรื่องของอารมณ์ที่เป็นลบได้มากกว่าคนอื่น

 



ช่วยเหลืออย่างไรเมื่อพ่อแม่สูงอายุมีความคิดลบ?

1. เปิดใจพูดคุย

พยายามพูดคุย เปิดใจว่าความคิดลบเหล่านั้นส่งผลเสียอย่างไรต่อเรา

2. เห็นใจและเข้าใจท่าน

พยายามเข้าหาด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ

3. วางขอบเขต

อย่าปล่อยให้ความคิดลบส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของเราควรป้องกันตัวเองและจำกัดขอบเขต

4. ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงท่าน

เราไม่สามารถไปควบคุมพฤติกรรมของคนอื่นได้แต่เราสามารถจัดการกับวิธีการตอบสนองของตัวเองได้

5. โฟกัสในสิ่งที่เราต้องการ

ความสำคัญอันดับแรกคือสุขภาพจิตของเราเอง ควรหาที่พึ่งทางใจจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนสนิท ญาติพี่น้อง

6. พาท่านไปพบผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตามหากความคิดลบของผู้สูงอายุในบ้านยังคงอยู่ ไม่สามารถจัดการรับมือได้ด้วยตัวเองส่งผลต่อความเครียดของเราอาจต้องหาผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ช่วยในการรับมือ คือการพาท่านไปพบนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ ให้กำลังใจท่านในการไปพูดคุยปรึกษาผู้มีความรู้ประสบการณ์ที่สามารถช่วยเหลือท่านได้

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาด้านการปรึกษาสามารถทำงานกับกระบวนการคิดได้ในระดับหนึ่ง แต่มีการทำจิตบำบัดเพื่อการรักษาที่ลงลึกในระดับประสบการณ์ภายใน ที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างยั่งยืนคือ การทำจิตบำบัดแบบ EMDR therapy จากงานวิจัยรับรองของ NIH( National Library of Medicine) EMDR therapy ได้ผลที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากในการรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรังในระยะยาว อย่างไรก็ตามความสำเร็จในการรักษาด้วยจิตบำบัดแบบ EMDR นั้นต้องประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญหลายประการ และต้องดำเนินการ และได้รับการดูแลและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจิตบำบัดแบบ EMDR โดยเฉพาะ

 7. ยอมรับความจริง

เปิดใจและยอมรับว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกท่านได้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือโฟกัสได้ที่การควบคุมตัวเอง ปฏิกิริยาตอบสนองของตัวเองและวางขอบเขตเพื่อไม่ให้ตัวเองเสียสุขภาพจิต

ถึงแม้ว่าโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจากการขาดสังคม เหงา การล้มหายตายจากของคนรักเพื่อนฝูงญาติมิตรหรือปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรมลง อย่างไรก็ตามการได้รับแรงสนับสนุนจากคนในครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่ สามารถช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้าสามารถต่อสู้กับความท้าท้ายนี้ได้ รวมทั้งการเสริมกิจกรรมด้านสังคม ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัวหรือพาไปพบปะสังคมเพื่อนฝูง ร่วมสโมสรกิจกรรมต่างๆ จะสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตและกำลังใจที่เข้มแข็งและกลับมามีพลังสู้ชีวิตต่อไปได้

 

 

อ้างอิง

https://mindfulhealthsolutions.com/depression-in-seniors-8-proven-support-strategies-and-methods-to-help/

https://www.serenity-senior-care.com/my-mother-is-negative-and-depressing

https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC5836996/

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้