พ่อแม่ที่หาประโยชน์จากลูกมีจริงไหม?

254 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พ่อแม่ที่หาประโยชน์จากลูกมีจริงไหม?

พ่อแม่ที่หาประโยชน์จากลูกมีจริงไหม?


ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

ความสัมพันพันธ์พ่อแม่ลูก และสัมพันธภาพในครอบครัวมีความซับซ้อน และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของบุคคล อย่างไรก็ตามบางครอบครัวมักเผชิญกับประเด็นเรื่องการหาประโยชน์จากลูกในบางครอบครัว ซึ่งเข้าใจว่ามีเหตุผลบางประการที่ทำให้พ่อแม่มีความคิดและทัศนคติเช่นนั้น

สาเหตุที่พ่อแม่อาจหาประโยชน์จากลูกมักประกอบได้ด้วยปัจจัยดังนี้

1. มีภาวะพึ่งพิง

บางครอบครัวพ่อแม่มีปัญหาด้านการเงิน หรือปัญหาภาวะด้านจิตใจ ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยเฉพาะด้านการเงินและต้องการให้ลูกรับผิดชอบในชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองเมื่อลูกเริ่มโต  พ่อแม่บางคนอาจมีปัญหาด้านภาวะทางจิตใจไม่สามารถอยู่ด้วยตัวเองลำพังได้ต้องการความเอาใจใส่ดูแลทางด้านอารมณ์จิตใจจากลูก  อย่างไรก็ตามหากพ่อแม่ไม่ตระหนักถึงการรักษาสมดุลย์ด้านความสัมพันธ์อันดีกับลูก จะส่งผลต่อปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้

2. ธรรมเนียมและค่านิยม

บางครอบครัวมีวัฒนธรรมแบบคาดหวังให้ลูกต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อโตขึ้น ด้วยถือว่าพ่อแม่ได้เสียสละเลี้ยงดูลูกเมื่อยังเล็ก แม้ว่าหน้าที่เลี้ยงดูลูกให้ความรักและการเติบโตมาอย่างสมบรูณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญานั้นจะเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของพ่อแม่โดยตรง และเป็นการตัดสินใจที่จะมีลูกของตนเองก็ตาม การสร้างวัฒนธรรมให้ลูกมีความรับผิดชอบต่อพ่อแม่ เมื่อเติบโตมาต้องดูแลเลี้ยงดูพ่อแม่อาจเป็นไปได้อย่างไม่มีปัญหาในกรณีที่สัมพันธภาพพ่อแม่ลูกนั้นเป็นไปอย่างอบอุ่นและลูกได้รับการปลูกฝังเลี้ยงดูมาเป็นอย่างดีจากพ่อแม่

3. ปมบาดแผลทางใจที่ไม่ได้รับการแก้ไข (Unsolved trauma)

บ่อยครั้งสัมพันธภาพความขัดแย้งในครอบครัวส่งผลให้เกิดปมบาดแผลทางใจและหากยังไม่ได้รับการบำบัดแก้ไขนั้นย่อมส่งผลให้สัมพันธภาพในครอบครัวไม่แข็งแรง และมักสร้างประเด็นที่ทำให้พ่อแม่รู้สึกว่าพวกเขาควรได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงดูลูก ไม่ว่าพวกเขาจะดูแลลูกอย่างดีหรือไม่ก็ตาม และต้องการมีส่วนร่วมในทรัพยากรที่ลูกหามาได้ทั้งด้านการเงินและการเสียสละด้านเวลา

4. การไม่รู้จักขอบเขต

บางครอบครัวพ่อแม่ไม่มีความเกรงใจลูกและล้ำเส้น ไม่ให้เกียรติลูก บ่อยครั้งมักใช้ประโยชน์จากความใจดีและความปรารถนาดีในการช่วยเหลือของลูกแบบไม่มีขอบเขต

5. ปัญหาด้านการเงิน

หากพ่อแม่มีปัญหาด้านการเงินอยู่เป็นประจำและมักต้องการพึ่งพาการเงินจากลูก จนทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด ทำให้สัมพันธภาพในครอบครัวมีปัญหาได้

6. ความต้องการควบคุมชีวิตลูก

บางครอบครัวต้องการให้ลูกอยู่กับตัวเองเพื่อต้องการพึ่งพาลูกอยู่ตลอดเวลา และต้องการเป็นคนที่มีความสำคัญ และมีอิทธิพลในชีวิตลูก

7. ความเข้าใจไม่ตรงกัน

บางครอบครัวเกิดความขัดแย้งเนื่องจากพ่อแม่มีความเชื่อและความคาดหวังที่อาจไม่ตรงกับลูกในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบต่อชีวิตของพ่อแม่ อาจทำให้ลูกมีความรู้สึกต่อพ่อแม่ว่ากำลังใช้ประโยชน์จากลูกของตัวเอง

8. ยุคสมัยแตกต่างกัน

ความแตกต่างและค่านิยมในแต่ละยุคสมัยนั้นส่งผลต่อความคิดที่แตกต่างกันและอาจมีความขัดแย้งกันหากพ่อแม่ไม่สื่อสารกับลูกให้ดี ไม่ให้เกียรติทางความคิดที่แตกต่างหรือไม่เคารพค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกในการพึ่งพาตนเองหรือความคิดที่ต้องการใช้ชีวิตแบบอิสระ




ทักษะในการรับมือกับพ่อแม่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันดี?

1. สื่อสารให้ชัดเจน

บอกความรู้สึกให้พ่อแม่รับรู้ว่าพฤติกรรมใดของพ่อแม่ที่ทำให้เราอึดอัด ไม่สบายใจ และควรวางขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง เช่น วางขอบเขตในการช่วยเหลือด้านการเงิน

2. รักษาความสม่ำเสมอ

การปฎิบัตตามข้อตกลงกับพ่อแม่ เมื่อเราได้วางขอบเขตกติกาเงื่อนไขสัมพันธภาพใดแล้ว ควรยึดตามหลักกติการนั้นและไม่ควรละเลยทำบ้างเว้นบางจะทำให้พ่อแม่เกิดความสับสน

3. ใจเย็นและให้เกียรติท่าน

การเจรจาพูดคุยควรเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ใช้น้ำเสียงที่ให้เกียรติและให้ความเคารพ แม้การเจรจาจะเกิดแรงกดดัน โกรธ หงุดหงิด หรือตัวกระตุ้นความรู้สึกด้านลบให้เราก็ตาม ความใจเย็นสงบจะช่วยป้องกันเราไม่ให้เกิดการถกเถียง ทะเลาะเบาะแว้งจนบานปลายได้

4. ให้เวลากับท่านแต่ควรวางขอบเขต

หากพ่อแม่ต้องการความช่วยเหลือ ควรให้เวลากับท่านโดยมีระยะเวลา และช่วงเวลาที่เราสะดวก ควรมีเวลาสำหรับการดูแลจิตใจและรับผิดชอบต่อตัวเราเองด้วย

5. ฝึกปฎิเสธให้เป็น

บางครั้งหากมีการล้ำเส้นหรือการปฎิบัติใดที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัด ไม่เห็นด้วยการปฏิเสธเป็นเรื่องที่ทำได้และควรทำ

6. ใช้การเขียนจดหมาย

หากการพูดต่อหน้าสร้างความอึดอัดใจให้กับเรา อาจใช้การเขียนเป็นจดหมายเพื่อช่วยให้เราสามารถสื่อสารความในใจได้ดียิ่งขึ้น

7. มองหาความช่วยเหลือ

การได้รับการสนับสนุนจากญาติ พี่น้องเพื่อนฝูงอาจช่วยเราได้ในระดับหนึ่งในเรื่องกำลังใจ แต่การหาวิธีทางออกที่ถูกต้องและแก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างระยะยาวควรปรึกษานักจิตวิทยาความสัมพันธครอบครัวที่เชี่ยวชาญ

8. เน้นย้ำความรักและความห่วงใย

คอยย้ำเตือนพ่อแม่เสมอว่าการมีระยะห่าง วางขอบเขตนั้นเพื่อลดความขัดแย้ง และเป็นการพัฒนาสัมพันธภาพให้ดียิ่งขึ้น การใช้เทคนิควิธีเหล่านี้เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้ความรักและความห่วงใยที่เรามีให้พ่อแม่ และเพื่อต้องการปกป้องสัมพันธภาพระหว่างเรากับพ่อแม่ เพื่อพัฒนาสัมพันธภาพครอบครัวที่ยืนยาวและไม่เกิดความเข้าใจผิดกัน

9. เตรียมใจรับมือกับการไม่เห็นด้วย

ทำใจยอมรับและเตรียมพร้อมรับมือกับพ่อแม่หากท่านมีปฎิกิริยาตอบสนองที่ไม่เห็นด้วย ให้เรายืนยันความชัดเจนในการวางขอบเขตและอดทนต่อระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลง

10. ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของการแก้ปัญหา

เมื่อต้องการวางขอบเขต และเป้าหมายควรเน้นไปที่วิธีการแก้ปัญหามากกว่าการพูดถึงความขัดแย้ง เพื่อให้เกิดผลดีกับทั้งสองฝ่ายโดยเน้นที่วิธีการทำงานร่วมกันอย่างสันติ

11. เปิดใจรับฟังและปรับตัว

หมั่นรับฟังความคิดเห็นของพ่อแม่เรื่องการวางขอบเขตที่เราตกลงไว้ การมีความพร้อมในการดูแลรับมือและปรับตัวอยู่เสมอเพื่อรักษาสัมพันธภาพให้ยั่งยืน




อย่างไรก็ตามวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือเปิดใจคุยกับพ่อแม่เพื่อพูดคุยประเด็นที่ทำให้ไม่สบายใจ แต่ต้องให้การดูแลสนับสนุนท่านตามสถานภาพที่เหมาะสม รับฟังปัญหาของท่านให้เวลากับท่าน แต่ต้องไม่ลืมที่จะดูแลตัวเอง และมีเวลาเอาใจใส่ตัวเอง

หากการขอร้องความช่วยเหลือใดที่เกินขอบเขตจนเกินไป เช่น เรื่องการเงินควรเรียนรู้ที่จะปฎิเสธ และเสนอแนวทางอื่นในการช่วยเหลือ ที่สำคัญควรรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อพ่อแม่และสัมพันธภาพครอบครัวให้ยั่งยืนยาวนาน หมั่นดูแลด้านจิตใจของตนเองให้มีภาวะสุขภาพจิตที่ดีอยู่เสมอและหากติดปัญหาที่ไม่สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยตัวเองควรมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี

 

อ้างอิง

https://www.quora.com/Why-do-some-parents-find-it-acceptable-to-take-advantage-of-their-grown-children


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้