นักจิตวิทยากับจิตแพทย์การทำงานต่างกันอย่างไร

7219 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นักจิตวิทยากับจิตแพทย์การทำงานต่างกันอย่างไร

ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา (Ph.D.)
นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และ นักจิตบำบัด
EMDR Psychotherapy Supervisor and Brainspotting Psychotherapy Practictioner

หลายคนอาจสับสนระหว่างการทำงานของผู้เชี่ยวชาญสองวิชาชีพนี้ว่าทำงานต่างกันอย่างไร ในบทความนี้จึงขออธิบายคร่าวๆ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการทำงานของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองวิชาชีพนี้

นักจิตวิทยา และจิตแพทย์ มีความสำคัญด้วยกันทั้งคู่ต่อการรักษาด้านจิตใจให้กับผู้มารับบริการ โดยปกติทั้งสองผู้เชี่ยวชาญนี้จะมีการทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มารับบริการในการทำให้จิตใจของผู้ป่วยกลับมามีภาวะที่เป็นปกติและเข้มแข็งดังเดิม

ความเหมือนของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองวิชาชีพนี้คือ ต้องมีความรู้และความเข้าใจในระบบกลไกการทำงานของสมอง จิตแพทย์จะเน้นศึกษาเรื่องระบบการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อยาที่ใช้ในการรักษาอาการผิดปกติของโรคทางจิตเวช

ส่วนนักจิตวิทยาจะเน้นการทำจิตบำบัดที่ตอบสนองต่อกลไกการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยวัดผลจากการถูกรบกวนด้านความคิดลบลดลงและมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ระบบสมองของผู้ป่วยนั้นอาจเคยถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความเครียด หรือความคิดที่เป็นลบมาก่อน ดังนั้นการมาพบผู้เชี่ยวชาญจะเป็นการช่วยปรับสมดุลย์ด้านการความคิดและมีเครื่องมือในการแก้ปัญหาและรับมือกับอุปสรรคในชีวิตที่ดีขึ้นและช่วยให้ชีวิตเปลี่ยนไปในทางดีขึ้น 

ทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยาใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยเหลือทางด้านจิตใจเพื่อพัฒนาชีวิตของคนให้กลับสู่สมดุลย์และมีความสุขในการดำเนินชีวิตต่อไป

ด้านการรักษา

จิตแพทย์ ศึกษาลงลึกเกี่ยวกับการใช้ยาเป็นพื้นฐานดังนั้นการรักษาจะเน้นการสั่งจ่ายยา ปรับลดยา เพิ่มปริมาณยาเพื่อให้เกิดสมดุลกับระดับเคมีในสมองที่ผิดปกติ จิตแพทย์จะไม่เน้นการให้บริการด้านการปรึกษา แต่จะเน้นการจ่ายยาเป็นหลักเนื่องจากปริมาณคนไข้ที่มีจำนวนมากแต่อาจให้การปรึกษาบ้างในบางกรณี

นักจิตวิทยา เชี่ยวชาญด้านการเป็นที่ปรึกษา การทำจิตบำบัด เน้นการให้คำปรึกษาในปัญหา ความเครียด วิตกกังวล งานที่ทำจะลงลึกไปถึงสาเหตุปัจจัยแวดล้อม ครอบครัว หรือสัมพันธภาพในชีวิตคู่ที่ส่งผลต่อภาวะความเจ็บป่วยด้านจิตใจ

การบำบัดของนักจิตวิทยาจะไม่ทำการใช้ยาหรือสั่งจ่ายยา แต่จะเน้นปรับสมดุลย์ความคิดการใช้ชีวิต เน้นการทำจิตบำบัดด้วยวิธีธรรมชาติ ให้การตระหนักรู้จากภายในของผู้ป่วย ให้เครื่องมือในการต่อสู้กับภาวะผิดปกติที่มักเกิดกับร่างกายและให้หลักคิดแก้ปัญหาชีวิตเพื่อให้หาทางออกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องคอยพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับยาทางจิตเวชและผลข้างเคียงที่ร้ายแรงของยาด้วยเช่นกัน

นักจิตวิทยาจะมุ่งเน้นให้บริการด้านจิตบำบัดและการให้การปรึกษาการทำงานจะเน้นการวิเคราะห์สภาพทางจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อร่างกายโดยเฉพาะการรบกวนการทำงานของระบบสมอง

นักจิตวิทยาจะเน้นเทคนิคในการดูแล บำบัดด้านจิตใจและอารมณ์ แก้ปมความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ในอดีต เน้นการปรับพฤติกรรม ร่วมกับสร้างทัศนคติที่ดีเป็นบวกให้เข้าใจตัวเอง กระตุ้นการแก้ไขด้านจิตใจ สร้างแรงบันดาลใจจากภายใน ช่วยให้ตระหนักรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ชีวิตในปัจจุบันติดขัด

นักจิตวิทยามีหลากหลายสาขาวิชาชีพ นักจิตวิทยาคลินิกเน้นการใช้เครื่องมือทางจิตวิทยาและแบบทดสอบ มีการตรวจวัดผลเพื่อนำมาวิเคราะห์สภาวะด้านจิตใจในแต่ละคนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาบำบัดอาการทางใจ

ส่วนนักจิตวิทยาให้การปรึกษาเน้นการใช้เทคนิคด้านจิตวิทยามีความเชี่ยวชาญช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านความสัมพันธกับคนรอบข้าง มีการบำบัดรักษาด้านจิตใจ แก้ปมปัญหาที่ไม่หลุดในอดีตที่ตามมารบกวนการใช้ชีวิตในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้เทคนิคศาสตร์ทางจิตวิทยาเครื่องมือวิเคราะห์ทางจิตเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้รับบริการให้กลับสู่ภาวะปกติก่อนที่จะส่งผลเสียต่อระบบประสาทและสมอง

 

ด้านการศึกษา

จิตแพทย์นั้นจะต้องผ่านการเรียนจบพื้นฐานทางสายแพทย์ก่อนจึงจะไปต่อเฉพาะทางสำหรับจิตแพทย์อีก 3 - 4ปีเน้นด้านการวินิจฉัยด้านความผิดปกติหรืออาการทางจิตใจและรักษาอาการเหล่านั้นด้วยยา เน้นการใช้ยาในการรักษาอาการทางจิตเวชต่างๆ จิตแพทย์ส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในโรงพยาบาล แผนกจิตเวช คนไข้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตอันเกี่ยวเนื่องมาจากเคมีในสมองที่ไม่สมดุลย์ทำให้เกิดภาพหลอน หูแว่ว ส่งผลทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของเคมีในสมองถูกกดดันจากความเครียด หรือความผิดปกติด้านจิตใจจนเกิดความผิดปกติที่แสดงออกทางด้านร่างกาย

ส่วนนักจิตวิทยาเลือกสาขาเฉพาะทางได้เมื่อเรียนในระดับปริญญาโทและจะเรียนต่ออีก 3 ปี เน้นเฉพาะทางด้านจิตวิทยาในสาขาที่สนใจ ได้แก่ จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาชุมชน จิตวิทยาพัฒนาการ ในระดับปริญญาเอกมักจะใช้เวลาอย่างน้อย 5-7 ปีเน้นการทำวิจัยด้านจิตวิทยา โฟกัสที่ความเชี่ยวชาญด้านจิตวิเคราะห์และการวินิฉัยโรคทางจิตเวช มีการทำจิตบำบัดเชิงลึกเพื่อให้เห็นผลทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเกิดความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์โรคทางจิตเวชต่างๆอันเป็นผลมาจากปัจจัยที่หลากหลาย 

หลักสูตรจะกำหนดให้ผู้เรียนต้องจบจากสถาบันการศึกษาที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ต้องผ่านการฝึกอบรมและทำงานจริงกับหน่วยงานที่ให้บริการทางจิตวิตเวช เน้นการฝึกปฎิบัติโดยมีกำหนดว่าต้องเป็นสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและมีมาตรฐาน

การทำงานของนักจิตวิทยานั้นต้องมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพและมีความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญเนื่องจากต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย การรักษาความลับ และแนวทางการรักษาแก้ไขอาการทางจิตใจของผู้ป่วย การนำคนไข้เข้าสู่กระบวนการในการรักษาและปรับวิธีคิดทัศนคติเป็นการช่วยให้ตระหนักรู้ตัวเองจากข้างใน เพื่อช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้เขามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น 

การเก็บชั่วโมงการในการฝึกปฎิบัติก่อนออกปฎิบัติงานจริงเป็นระเบียบข้อบังคับ เป็นการช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ และเป็นการฝึกปฎิบัติงานจริงโดยมีsupervisorคอยดูแลใกล้ชิด สถานที่ปฎิบัติงานต้องได้รับการรับรองจากสมาคมนักจิตวิทยาระดับสากล เช่น American Psychology Association (APA) หรือ Association of Psychological Science (APS)

นอกจากนั้นการขอใบอนุญาตวิชาชีพการทำงานก็เป็นข้อบังคับก่อนออกมาทำงานจริงของนักจิตวิทยาในมาตรฐานต่างประเทศ และต้องสมัครเข้าร่วมอบรมความรู้สัมนาประจำปีที่ APAจัดด้วย 

การสัมนาจะจัดขึ้นทุกปีในต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูลความรู้ความเชี่ยวชาญและเพื่อใช้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพด้านจิตวิทยาให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเป็น

สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้การมีใบประกอบวิชาชีพของนักจิตวิทยาการแต่การเข้าสัมนาอบรมเพื่อเพิ่มพูลความรู้ใหม่ๆเพื่อนำมาพัฒนาการให้บริการด้านจิตวิทยาก็ยังถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง 

การทำงานด้านจิตวิทยานั้นมีความละเอียดอ่อน และต้องมีรับผิดชอบต่อสังคมในการให้การช่วยเหลือผู้อื่นด้านจิตใจอย่างมีหลักการเพื่อให้ผู้เข้ารับบริการกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นจรรยาบรรณที่สำคัญที่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาทุกท่านต้องมี ซึ่งไม่ต่างจากการให้บริการทางการแพทย์ด้านอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ฝึกฝนจึงใช้เวลานานเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสภาวะด้านจิตใจ สาเหตุ อาการที่ปรากฎ และผลกระทบต่อร่างกาย 

การฝึกปฎิบัติให้บริการจริงจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณวุฒิสูงกว่าและมีประสบการณ์ที่มากกว่าเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำและมีความเป็นมืออาชีพ สิ่งที่สำคัญทีสุดคือต้องยึดหลักด้านคุณธรรมและจริยธรรมที่จะไม่แสวงหาประโยชน์จากผู้ที่มารับบริการที่มีความอ่อนแอทางด้านจิตใจ ต้องช่วยให้พวกเขามีเครื่องมือในการต่อสู้เผชิญหน้ากับปัญหาอุปสรรคในชีวิตได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพานักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญไปตลอดชีวิต

นอกจากนี้คุณสมบัติของผู้เรียนก็เป็นถือเป็นสิ่งที่สำคัญในการคัดเลือกผู้เข้าเรียนด้านจิตวิทยาทั้งด้านคุณสมบัติและความสนใจ ต้องมีความเข้าใจในกระบวนการและตระหนักถึงผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นจึงมีงื่อนไขหลายประการในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมในการเข้าเรียนและเข้าทำงานจึงมีการคัดกรองอย่างเข้มงวด 

การทำงานของนักจิตวิทยา และจิตแพทย์จะเหมือนตรงที่ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะทางด้านจิตใจที่อ่อนแอให้กลับมาเข้มแข็งและใช้ชีวิตได้เป็นปกติโดยลดการรบกวนจากปัจจัยภายนอกภายให้มากที่สุด ช่วยลดปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติด้านระบบประสาทและสมองให้มากที่สุด ลดผลกระทบต่อพฤติกรรม อารมณ์และการถูกรบกวนในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ดังนั้นการทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาจึงแตกต่างจากไลฟโค๊ช (Life coach) โดยสิ้นเชิง 

นักจิตวิทยาทำอะไรบ้าง

านส่วนใหญ่ของนักจิตวิทยาจะประกอบไปด้วยการให้การปรึกษาและทำจิตบำบัด งานจะเกี่ยวข้องกับการทำจิตวิเคราะห์ประเมินผลมีการทดสอบเชิงจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการฝึกฝนเทคนิคในการตระหนักรู้ด้านจิตใจของตัวเองเพื่อกล้าเผชิญหน้าและสามารถเลือกแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

มีการนำทฤษฏีด้านจิตวิทยามาประยุกต์ใช้เน้นการปรับพฤติกรรม และเน้นการพัฒนาแก้ไขความคิดที่เป็นปัญหา ปรับทัศนคติที่เป็นลบต่อตัวเองและต่อผู้อื่นโดยเฉพาะต่อสังคมรอบข้าง นักจิตวิทยาจะศึกษาให้รู้ลึกถึงกระบวนการแก้ปัญหาด้านโรคเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ กินผิดปกติ หรือeating disorders และปัญหาด้านบุคคลภาพบกพร่องที่สืบเนื่องมากจากความเครียด การเลี้ยงดูหรือเหตุกระทบกระเทือนจิตใจบาดแผลทางใจจากการถูกทำร้ายเพื่อสามารถวิเคราะห์สาเหตุและช่วยฟื้นฟูบำบัดอาการที่มารบกวนจิตใจเหล่านั้นได้

 

 

แล้วเราควรไปพบใคร? 

ทั้งจิตแพทย์ และนักจิตวิทยามีการทำงานที่มุ่งเน้นเรื่องการรักษาดูแลสุขภาพจิตเป็นหลัก เพียงแต่วิธีการปฎิบัติและการรักษาอาจแตกต่างกัน ดังนั้นขึ้นอยู่กับเราว่าวิธีไหนที่เหมาะสมและอยากลองทำเพื่อให้เหมาะกับสภาวะทางจิตใจและร่างกายของเรา

อาจใช้การประเมินตนเองในเบื้องต้นเช่น หากเรามีปัญหาด้านระบบประสาทและสมองอันเกี่ยวเนื่องมาจากเคยมีประวัติคนในครอบครัวป่วยทางจิตจนต้องใช้ยารักษา มีความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุลย์จนเกิดเป็นอาการที่แสดงออกอย่างไม่ปกติ เช่น หูแว่ว หรือได้ยินเสียงกระซิบในหูตลอดเวลา มีอาการประสาทหลอน เห็นภาพตรงหน้าที่มันไม่มีอยู่จริงซึ่งอาจเป็นอาการของโรค Schizophrenia หรือ psychosis เหล่านี้ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดด้วยยา


ส่วนภาวะซึมเศร้า โรคความเครียด โรควิตกกังวลมักมีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้ถูกจัดอยู่ในการรักษาว่าต้องใช้ยาและไม่ได้ถูกระบุไว้ในtherapeutic treatment ว่าต้องรักษาด้วยยา 

เนื่องจากส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียดหรือเหตุการณ์ที่สะเทือนใจในอดีต ดังนั้นผู้รับบริการสามารเลือกรับบริการแบบไม่พึงยาต้านซึมเศร้าได้ การมาพบนักจิตวิทยาช่วยให้เรารู้ถึงความบกพร่องหรือความเจ็บป่วยทางใจเบื้องต้นก่อนการรักษาด้วยยา

ารใช้ยาสำหรับบางคนอาจเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ยาทางจิตเวชส่งผลโดยตรงกับระบบประสาทและสมองมีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตในระยะยาว โดยเฉพาะอาจเกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตายหากใช้เป็นเวลานาน

ดังนั้นไม่ควรหายามารับประทานเองโดยเด็ดขาดการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของจิตแพทย์เท่านั้น  สรุปคือทั้งสองผู้เชี่ยวชาญนี้ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ มีความสำคัญต่อการรักษาอาการเจ็บป่วยทางด้านจิตใจให้กับผู้ที่ต้องการ แต่การเลือกไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ควรดูเงื่อนไขสภาวะด้านจิตใจของตัวเราเองเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการมาพบจิตแพทย์ และนักจิตวิทยาก็ควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้าและควรให้ความร่วมมืออย่างดีเพื่อจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและไม่ต้องเสียเวลานาน 

จิตใจคนเราก็เหมือนร่างกายที่อาจเกิดการเจ็บป่วยและไม่สบายได้เช่นกันดังนั้นการที่เราตัดสินใจมาพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขรักษาเพื่อพบทางออกให้ชีวิตดีขึ้นเป็นความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองและเป็นการดูแลสุขภาพใจของเราให้แข็งแรงหากไม่สบายใจรุนแรงไม่ควรปล่อยปะละเลยการดูแลสุขภาพใจให้ต้องทนทุกข์ทรมานแต่ควรได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ชีวิตกลับมามีความสุขดังเดิม



อ้างอิง:  

1. apa.org-action-science-brain-science
2. Harvard health publishing
3. https://www.bettermindthailand.com/
4. https://www.facebook.com/BettermindThailand








 



Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้